สะพานรักสารสิน

วันแรกฉาย                               ๖ มิถุนายน ๒๕๓๐

ความยาว                                 ๑๒๑.๔๖ นาที

ฟิล์ม ๓๕ มม. / สี / เสียง

บริษัทสร้าง                              ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น

ผู้อำนวยการสร้าง                        เจริญ เอี่ยมพึ่งพร

ผู้กำกับ                                    เปี๊ยก โปสเตอร์                 

ผู้เขียนบท                                 วิศณุศิษย์

ผู้กำกับภาพ                               สมบูรณ์สุข

ผู้ลำดับภาพ                               พิชิต นิยมศิริ           

ผู้กำกับศิลป์                               ประสรรค์ เพชรพงษ์                     

ผู้ทำดนตรีประกอบ                        เรวัต จันตะแสง         

ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย              หิรัญญา พุ่มวัด

ผู้แสดง                                    รอน บรรจงสร้าง, จินตหรา สุขพัฒน์, สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์, เป็ด เชิญยิ้ม, โรม อิศรา, น้ำเงิน บุญหนัก, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, สุวิน สว่างรัตน์, มาเรีย เกตุเลขา, สุวิน สว่างรัตน์, รุ่งมณี ศิริฤทธิ์

 

            สะพานรักสารสิน สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต จุดเริ่มต้นความรักของชายหนุ่มขับรถโดยสารสองแถวรับจ้าง นามว่า โกดำ แซ่ตัน และหญิงสาวชื่อ กิ๋ว กาญจนา แซ่หงอ นักศึกษาวิทยาลัยครู ชาวตำบลท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต โศกนาฏกรรมของความแตกต่างทางชนชั้นและฐานะทางสังคมจึงตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 กลายเป็นข่าวครึกโครมในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วประเทศ กลายเป็นตำนานรักของหนุ่มสาวที่ถูกกีดกันและจบด้วยการฆ่าตัวตายด้วยกันอีกคู่หนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของสังคม

 

เปี๊ยก โปสเตอร์ ได้นำเรื่องราวของคนทั้งสองมาสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยเปลี่ยนชื่อตัวละครเอก เป็นโกธัม ชายหนุ่มที่ถูกเก็บมาเลี้ยง เป็นคนขยันขันแข็ง ทั้งกรีดยาง ขับรถสองแถว เป็นคนดีมีน้ำใจ ได้มาพบกับ อิ๋ว นักศึกษาวิทยาลัยครูผู้อ่อนหวาน มีเมตตา ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มต้นจากมิตรภาพมาสู่ความเห็นอกเห็นใจ และกลายเป็นความรักแนบแน่นในที่สุด เมื่อพ่อของอิ๋วรู้เรื่อง ก็พยายามจะกีดกันไม่ให้ทั้งสองได้พบกัน พร้อมทั้งพยายามยัดเยียดอิ๋วให้กับครูที่มาช่วยติว อิ๋วตัดสินใจไปหนีไปหาโกธัมและได้เป็นสามีภรรยากัน พ่อของอิ๋วแจ้งตำรวจให้มาจับโกธัมข้อหาพรากผู้เยาว์ เนื่องจากอิ๋วยังไม่บรรลุนิติภาวะ กำนันไปประกันโกธัมออกมาและเจรจากับพ่อชองอิ๋วให้อภัย อิ้วกลับบ้านกับพ่อแต่ก็โดนตีอย่างหนัก โกธัมกลับบ้านพร้อมกับทราบข่าวการตายของแม่ที่เลี้ยงดูมา น้าของโกธัมแสดงความรังเกียจเนื่องจากมีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น อิ๋วแพ้ท้องหนักมากขึ้น จึงมาหาโกธัม ทั้งคู่รู้สึกไม่มีทางออก จึงตัดสินใจไปจบชีวิตพร้อมกันที่สะพานสารสิน เมื่อศพของทั้งคู่ลอยขึ้นมาที่ชายหาด พ่อของอิ๋วตัดสินใจฝังทั้งคู่ไว้ด้วยกัน เพราะตระหนักแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะพรากความรักของทั้งสองจากกันแม้แต่ความตาย

 

แม้จะเป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องที่มีแต่การเสริมแต่งเพื่อความบันเทิง แต่เปี๊ยก โปสเตอร์ก็ได้สอดแทรกเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวเลในจังหวัดภูเก็ต มีการกล่าวถึงอูรักราโว้ย และมอแกน รวมทั้งบอกเป็นนัยว่าโกธัมนั้นก็คือชาวเลคนหนึ่ง ภาพวิถีชีวิตของชาวเลทั้งการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมการแสดงรองเง็งโดยคนพื้นถิ่นซึ่งเป็นบันทึกทางมานุษยวิทยาที่หาดูได้ยากอีกด้วย

 

ภาพยนตร์นี้ มีคุณค่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของโศกนาฏกรรมรักของหนุ่มสาว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นลำดับมาในประวัติศาสตร์สังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั่วโลก กรณีภาพยนตร์สะพานรักสารสิน นอกจากเป็นการนำเรื่องจริงที่เป็นตำนานมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์แล้ว ผู้สร้างยังต้องการให้ภาพยนตร์ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจหรืออุทาหรณ์สอนให้สังคมได้เรียนรู้และเข้าใจปัญหาชีวิตที่นำไปสู่ความผิดพลาด

มรดกภาพยนตร์ของชาติ

ดูทั้งหมด

Goal Club เกมล้มโต๊ะ

ฟิล์ม 35 มม. / สี /เสียง / 98 นาทีวันที่ออกฉาย               27 เมษายน 2544บริษัทสร้าง      &nb...

อ่านรายละเอียด

สาย สีมา นักสู้สามัญชน

ฟิล์ม 35 มม. / สี / พากย์ / 100 นาทีวันที่ออกฉาย      27 มิถุนายน 2524บริษัทสร้าง    พิฆเณศภาพยนตร์ผู้อำนวยการสร้าง ...

อ่านรายละเอียด

วิมานดารา

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง /  141 นาทีวันที่ออกฉาย 19 มกราคม 2517บริษัทสร้าง            เทพชัยภาพยนตร์ผู้กำกับ&nbs...

อ่านรายละเอียด

ทอง

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง / 113 นาทีฉายครั้งแรก               22 ธันวาคม 2516บริษัทสร้าง   ...

อ่านรายละเอียด