[การถ่ายภาพยนตร์เสียงในฟิล์มครั้งแรกในสยาม]

ฟิล์ม ๓๕ มม.  / ขาวดำ / เสียง / ๒๘.๒๒ นาที

๒๔๗๒

ผู้สร้าง บริษัท ฟอกซ์ มูวี่โทน นิวส์ 


หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง รายวัน ฉบับต่าง ๆ ในเดือนมีนาคม ๒๔๗๒ มีรายงานว่า บริษัท ฟอกซ์ มูวี่โทน นิวส์ ซึ่งเป็นบริษัทถ่ายทำหนังข่าวมีเสียง ที่เพิ่งเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกเพียงสองปีนั้น ได้เข้ามาสยามตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม โดยนำอุปกรณ์ถ่ายหนังเสียงและรถยนต์สำหรับถ่ายทำเข้ามาด้วย มีการถ่ายทำหนังเสียงในสยามหลายแห่ง ได้แก่ ๑๘ มีนาคม สัมภาษณ์กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่วังบ้านดอกไม้ ย่านวรจักร และทรงประทานสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ, การแสดงหุ่นกระบอกคณะนายเปียก ที่สนามในบ้านสะพานขาวของนายมานิต วสุวัต, ๒๐ มีนาคม งานเมรุ พระวิมาดาเธอ ที่ท้องสนามหลวง, ๓๐ มีนาคม ถ่ายการแข่งขันชกมวยชิงแชมป์ ระหว่างนายหวัง อาหะหมัด กับ นายชุ่ม ดีจรรญ์ ที่สนามมวยท่าช้าง


การเข้ามาถ่ายหนังเสียงของฟอกซ์ในครั้งนั้นนับเป็นความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายหนังเสียงในสยาม และยังมีผลให้คนสยามคิดทำและสามารถดัดแปลงกล้องถ่ายหนังเงียบให้ถ่ายหนังเสียงได้เป็นรายแรกของชาติ ก็คือคณะของนายมานิต วสุวัต และพี่น้อง โดยบริษัทฟอกซ์ได้ให้พี่น้องวสุวัตยืมกล้องและให้ฟิล์มมาทดลองถ่าย ซึ่งพี่น้องวสุวัตได้ถ่าย การแสดงจำอวดของนายทิ้ง มาฬมงคล นายอบ บุญติด และคณะ, การแสดงเดี่ยวซอสามสายของพระยาภูมิเสวิน และการเดี่ยวจะเข้ของนางสนิทบรรเลงการ พี่น้องวสุวัตได้นำหนังเสียงนี้ออกฉายแก่สาธารณชนตามโรงหนังด้วยความตื่นเต้นและภาคภูมิใจว่า “ชาวสยามก็ทำได้”


ภาพยนตร์ทั้ง ๔ เรื่องที่คัดมานี้ เป็นหนังเสียงที่ฟอกซ์ได้เข้ามาถ่ายในเดือนมีนาคม ๒๔๗๒ คือ ๑. Puppet show sponsored by wife of King Rama VII. การแสดงหุ่นกระบอกคณะนายเปียกที่สนามบ้านนายมานิต วสุวัต ๒. Royal Siamese musicians.1 การแสดงดนตรีตลกของสองนักดนตรีหลวงและนางนักระบำ ออกลีลาแกตสบี้ ถ่ายที่หน้าเรือนแถวแห่งหนึ่ง ๓. Royal Siamese musicians.2 การแสดงดนตรีวงมโหรี มีนักร้องหญิง มีเดี่ยวซอสามสาย และเดี่ยวจะเข้ ถ่ายบนเรือนไทยแห่งหนึ่ง และ ๔. Venice of the Orient. การบันทึกการสวดมนต์ของพระภิกษุสงฆ์ การอาบน้ำเด็กในกะละมัง และการเต้นรำแบบฝรั่งของหนุ่มสาวสยามการจีบกันด้วยภาษาไทยน้ำเสียงสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองภาพยนตร์ชุดนี้คือหนังเสียงชุดแรกที่มีขึ้นในประเทศ โดยทั้งภาพและเสียงยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเสียงสนทนาที่ปรากฏมีสำเนียงและน้ำเสียงของผู้คนที่แตกต่างจากผู้คนในปัจจุบันอย่างชัดเจน


หมายเหตุ

1) ชื่อเรื่องที่อยู่ใน […] หมายถึง ภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีไตเติ้ลชื่อเรื่องปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ เป็นชื่อที่หอภาพยนตร์ตั้งขึ้นเอง และ

2) ข้อมูลปี พ.ศ. ของภาพยนตร์ที่ออกฉายก่อนการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ จะนับตามปฏิทินแบบเก่า (๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่)

มรดกภาพยนตร์ของชาติ

ดูทั้งหมด

Goal Club เกมล้มโต๊ะ

ฟิล์ม 35 มม. / สี /เสียง / 98 นาทีวันที่ออกฉาย               27 เมษายน 2544บริษัทสร้าง      &nb...

อ่านรายละเอียด

สาย สีมา นักสู้สามัญชน

ฟิล์ม 35 มม. / สี / พากย์ / 100 นาทีวันที่ออกฉาย      27 มิถุนายน 2524บริษัทสร้าง    พิฆเณศภาพยนตร์ผู้อำนวยการสร้าง ...

อ่านรายละเอียด

วิมานดารา

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง /  141 นาทีวันที่ออกฉาย 19 มกราคม 2517บริษัทสร้าง            เทพชัยภาพยนตร์ผู้กำกับ&nbs...

อ่านรายละเอียด

ทอง

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง / 113 นาทีฉายครั้งแรก               22 ธันวาคม 2516บริษัทสร้าง   ...

อ่านรายละเอียด