พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๖๙

ฟิล์ม ๑๖ มม. / ขาวดำ / เงียบ / ๑๖๘.๓๐ นาที

๒๔๖๙

ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โปรดภาพยนตร์มาก ทรงเป็นทั้งแฟนภาพยนตร์หรือนักดูภาพยนตร์ และยังโปรดถ่ายและสร้างภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม ๑๖ มม. ในฐานะนักสร้างภาพยนตร์สมัครเล่นด้วย ทรงถ่ายภาพยนตร์ด้วยพระองค์เองและโปรดให้ข้าราชบริพารถ่ายถวาย โดยทรงจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์ส่วนพระองค์ เรียกชื่อในระยะแรกที่ทรงถ่ายเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ว่า “ภาพยนตร์ทรงถ่าย” แต่ต่อมาทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “ภาพยนตร์อัมพร”


ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุดเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เป็นผลงาน “ภาพยนตร์ทรงถ่าย” ชุดแรกหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ถึง ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี ที่เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงนครเชียงใหม่ ภายหลังจากทางรถไฟที่เชื่อมถึงเชียงใหม่ได้แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ด้วยทรงมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรถิ่นฐานบ้านเมือง และชีวิตความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้ายังขอบขัณฑสีมาแห่งราชอาณาจักร เพื่อเป็นเครื่องทรงพระราชดำริในการปกครองแผ่นดินของพระองค์ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นรัชสมัย


ภาพยนตร์ ๑๖ มม. ชุดนี้ มีจำนวน ๑๑ ม้วน กินเวลาฉายรวม ๑๒๐ นาที โดยทรงถ่ายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ ตามระยะทางที่เสด็จฯ ตั้งแต่ออกจากพระนครทางรถไฟพระที่นั่ง และรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังเมืองต่าง ๆ คือ พิษณุโลก แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ และลำพูน จนเสด็จฯ นิวัตราชธานี ภาพยนตร์ถ่ายทอดให้เห็นภาพการรับเสด็จอย่างเป็นทางการตามแต่ละเมือง ด้วยบรรดาข้าราชการ คณะลูกเสือ ตลอดจนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มาร่วมรับเสด็จและแสดงนาฏกรรมถวาย โดยเฉพาะที่นครเชียงใหม่ ซึ่งจัดพิธียิ่งใหญ่สมพระเกียรติยศตามประเพณีของเจ้านายฝ่ายเหนือ รวมทั้งปรากฏภาพเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ เช่น เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย นอกจากนี้ ยังทรงบันทึกสิ่งที่ทรงสนพระราชหฤทัย ซึ่งได้ทอดพระเนตรระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภูมิประเทศที่แปลกตา บ้านเมืองของราษฎร วิถีการดำรงชีวิต การลากซุงโดยช้าง กีฬาพื้นบ้านและกีฬาสากล ไปจนถึงจุดสำคัญระหว่างการเสด็จฯ เช่น ช่วงที่รถไฟแล่นผ่านเหว โดยทรงนำมาตัดต่อลำดับเหตุการณ์เป็นตอน ๆ และจัดทำคำบรรยายเป็นข้อความระบุแต่ละเหตุการณ์สำคัญตลอดเรื่อง


ภาพยนตร์ทรงถ่ายชุดแรกในรัชสมัยของพระราชาผู้ทรงเป็นหนึ่งในนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้ จึงมีคุณค่าเปรียบดั่งนิราศส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชนิพนธ์ไว้ด้วยกล้องถ่ายหนัง  และตกทอดมาให้พสกนิกรรุ่นหลังได้ศึกษา ในฐานะจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ศิลปวัฒนธรรม รัฐประศาสโนบาย ตลอดจนสรรพความรู้มากมายที่ไม่อาจหาได้จากสื่ออื่นใด


หมายเหตุ

1) การสะกดชื่อเรื่อง อ้างอิงตามที่ปรากฏในภาพยนตร์หรือแหล่งข้อมูลอื่นที่พบ และ

2) ข้อมูลปี พ.ศ. ของภาพยนตร์ที่ออกฉายก่อนการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ จะนับตามปฏิทินแบบเก่า (๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่)

มรดกภาพยนตร์ของชาติ

ดูทั้งหมด

Goal Club เกมล้มโต๊ะ

ฟิล์ม 35 มม. / สี /เสียง / 98 นาทีวันที่ออกฉาย               27 เมษายน 2544บริษัทสร้าง      &nb...

อ่านรายละเอียด

สาย สีมา นักสู้สามัญชน

ฟิล์ม 35 มม. / สี / พากย์ / 100 นาทีวันที่ออกฉาย      27 มิถุนายน 2524บริษัทสร้าง    พิฆเณศภาพยนตร์ผู้อำนวยการสร้าง ...

อ่านรายละเอียด

วิมานดารา

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง /  141 นาทีวันที่ออกฉาย 19 มกราคม 2517บริษัทสร้าง            เทพชัยภาพยนตร์ผู้กำกับ&nbs...

อ่านรายละเอียด

ทอง

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง / 113 นาทีฉายครั้งแรก               22 ธันวาคม 2516บริษัทสร้าง   ...

อ่านรายละเอียด