โหมโรง

ฟิล์ม ๓๕ มม. / สี / เสียง / ๑๐๑ นาที

๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗

อำนวยการสร้าง สหมงคลฟิล์มพร้อมมิตรโปรดักชั่นภาพยนตร์หรรษา และกิมมิคฟิล์ม

กำกับ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์

นักแสดง อนุชิต สพันธุ์พงษ์อดุลย์ ดุลยรัตน์อาระตี ตันมหาพรานณรงค์ฤทธิ์ โตสง่าพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

 

ในยุคที่ชะตาชีวิตของหนังไทยเรื่องหนึ่ง อยู่ที่รายได้เพียง ๔ วันแรกฉาย โหมโรง” ก็เกือบจะชะตาขาด แต่ด้วยกลยุทธ์การรณรงค์บอกต่อในสังคมอินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดการโฆษณาแบบปากต่อปากและช่วยยืดชีวิตให้โหมโรง สามารถยืดโปรแกรมฉายออกไปได้นานขึ้น ครู อาจารย์ต่างนำคณะนักเรียนไปดูในโรงภาพยนตร์

 

อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ซึ่งห่างหายจากวงการภาพยนตร์ไทยไปเป็นเวลานาน หลังการกำกับภาพยนตร์เรื่อง ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด และไปเอาดีด้านโทรทัศน์ ได้กลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง ในยุคที่หนังตลกและหนังผีครองตลาดภาพยนตร์ อิทธิสุนทรสวนกระแสโดยการนำอัตชีวประวัติของ หลวงประดิษฐไพเราะ” ราชทินนามของ ศร ศิลปบรรเลง” บรมครูดนตรีไทยในยุครัตนโกสินทร์ ก่อให้เกิดกระแสเชิดชูความเป็นไทยที่ห่างหายไปนานจากจอภาพยนตร์ ภาพยนตร์ได้รับรางวัลมากมายจากในประเทศ และได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมพ.ศ. ๒๔๒๙

 

ศร เด็กหนุ่มที่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เกิด ได้รับการถ่ายทอดฝีมือในการตีระนาดเอกจาก ครูสิน ผู้ซึ่งเป็นทั้งบิดาและครูสอนดนตรีไทย ศรกลายเป็นดาวเด่นในเชิงระนาดเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม ฝีมือของศรยากหาใครทัดเทียมในอัมพวาหลังจากชนะประชันครั้งแล้วครั้งเล่า ศรจึงลำพองใจในฝีมือของตนเอง จนเมื่อศรเดินทางเข้ามายังบางกอก เขาพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกต่อขุนอิน ผู้มีทางระนาดที่ดุดัน ศรสูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเองและหมกมุ่นขังตัวฝึกซ้อมระนาด จนกระทั่งหาทางระนาดของตัวเองจนเจอ

 

ศรมีโอกาสได้รับการอุปถัมภ์ให้เป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และเมื่อได้ประชันระนาดกับขุนอินอีกครั้ง ก็สามารถเอาชนะได้ กระทั่งล่วงเข้าสู่วัยชรา ศรกลายเป็นครูดนตรีอาวุโสของเมืองไทย แต่ขณะนั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามมีนโยบายปรับปรุงประเทศให้มีความทันสมัย และออกระเบียบควบคุมศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีไทย โดยมี พันโทวีระ นายทหารหนุ่มที่รับหน้าที่ดูแลนโยบายดังกล่าว ศรจึงต้องต่อสู้กับทัศนคติของพันโทวีระพร้อม ๆ กับความคิดของรัฐบาล ด้วยการปรับประสานดนตรีให้ร่วมสมัย รวมถึงคงไว้ซึ่งบทประพันธ์เพลงดั้งเดิมมากมาย จนดนตรีไทยสามารถอยู่รอดจากการถูกทำลายมาได้ถึงทุกวันนี้

มรดกภาพยนตร์ของชาติ

ดูทั้งหมด

Goal Club เกมล้มโต๊ะ

ฟิล์ม 35 มม. / สี /เสียง / 98 นาทีวันที่ออกฉาย               27 เมษายน 2544บริษัทสร้าง      &nb...

อ่านรายละเอียด

สาย สีมา นักสู้สามัญชน

ฟิล์ม 35 มม. / สี / พากย์ / 100 นาทีวันที่ออกฉาย      27 มิถุนายน 2524บริษัทสร้าง    พิฆเณศภาพยนตร์ผู้อำนวยการสร้าง ...

อ่านรายละเอียด

วิมานดารา

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง /  141 นาทีวันที่ออกฉาย 19 มกราคม 2517บริษัทสร้าง            เทพชัยภาพยนตร์ผู้กำกับ&nbs...

อ่านรายละเอียด

ทอง

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง / 113 นาทีฉายครั้งแรก               22 ธันวาคม 2516บริษัทสร้าง   ...

อ่านรายละเอียด