พระรูปประติมากรรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นผู้ถ่ายทำภาพยนตร์รายแรกในสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 เป็นอย่างน้อย และทรงเป็นชาวสยามรายแรกที่จัดฉายภาพยนตร์เผยแพร่สู่สาธารณชน ด้วยพระเกียรติยศดังกล่าว พระองค์จึงทรงสถิตอยู่ในฐานะ "พระบิดาแห่งภาพยนตร์สยาม"

ประติมากรรมชุด ผู้เห็นอนาคตของภาพยนตร์

ประติมากรรมชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นนักประดิษฐ์ภาพยนตร์ซึ่งเกือบจะเปิดเผยประดิษฐกรรมต่อโลกเป็นรายแรกเมื่อปี 2433 แต่เข้าได้หายตัวไปอย่างลึกลับเสียก่อน จากนั้นจึงมีผู้เปิดเผยประดิษฐกรรมภาพยนตร์ต่อโลกหลายราย ซึ่งนักประดิษฐ์คิดค้นภาพยนตร์ทุกรายล้วนเชื่อว่า ภาพยนตร์เป็นประดิษฐกรรมที่ไม่มีอนาคต
ชาลี แชปลิน (2432-2520) เป็นคนหนึ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เป็นงานศิลปะ เขาสร้างตัวละคร “คนจรจัด” ที่สามารถครองใจผู้ชมภาพยนตร์ทั่วโลก และภาพยนตร์ของเขาสอนธรรมแก่ชาวโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง “ทางตีกลอง” (2461) ซึ่งเขาแสดงคู่กับ มัท หมานักแสดง และเรื่อง “เจ้าหนู” (2464) ซึ่งเขาแสดงนำกับ แจ็คกี้ คูแกน (2457-2527) นักแสดงเด็กที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งในโลกภาพยนตร์ เจ้าหนูกำลังชี้ให้ชาร์ลีดูชานคนหนึ่งที่น้ำพุ นักประดิษฐ์ภาพยนตร์ซึ่งไม่มีอนาคต แต่เป็นนักประดิษฐ์คนเดียวที่มองเห็นอนาคตอันยิ่งใหญ่ของภาพยนตร์ เขาชื่อ หลุยส์ แซม ออกสแตง เลอ แปรงซ์(2384- หายตัวไป 2433)

ประติมากรรมชุด “เพลงหวานใจ”

จัดแสดงอยู่ข้างพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย เพื่อแสดงเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เพลงซูเปอร์ เรื่อง “เพลงหวานใจ” พ.ศ. 2480 ของโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ซึ่งเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์มาตรฐานโลกแห่งแรกของไทย ก่อตั้งโดยกลุ่มพี่น้องวสุวัต กลุ่มผู้สร้างหนังไทยเรื่องแรก

ประติมากรรมชุดนี้ ปั้นและปั้นตัวเองนั่งพินิจอยู่โดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2554

ประติมากรรม จอร์จ อีสต์แมน และ โทมัส เอดิสัน

ประติมากรรมชุดนี้จำลองเหตุการณ์การพบกันระหว่าง จอร์จ อีสต์แมน (2397 – 2475) ผู้นำการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ และ โทมัส อัลวา เอดิสัน (2390 – 2474) หนึ่งในผู้ให้กำเนิดภาพยนตร์ และเจ้าของโรงถ่ายแบล็คมารีอา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2471 ในงานแนะนำฟิล์มสีโกดาคัลเลอร์ ภายในสวนที่คฤหาสน์ของอีสต์แมน เมืองโรเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

ประติมากรรม บัสเตอร์ คีตัน

บัสเตอร์ คีตัน เป็นนักสร้างและนักแสดงภาพยนตร์อเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงรุ่งโรจน์ในยุคภาพยนตร์เงียบ ด้วยความสามารถด้านกายกรรม และสีหน้าที่เฉยชา จนได้ฉายาว่า ไอ้หน้าตาย (The Great Stone Face)

ประติมากรรมนี้จำลองจากบทบาทที่เขาแสดงเป็นพนักงานขับรถไฟ ในภาพยนตร์ที่ดีเด่นที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่งของโลก “The General” (2470)

ประติมากรรม ฌอง กาแบง

ฌอง กาแบงนักแสดงภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส แสดงภาพยนตร์ยาวนานระหว่างปี 2471 - 2519 มีผลงานภาพยนตร์ถึง 95 เรื่อง

ประติมากรรมนี้จำลองมาจากบทบาทของ ฌากค์ ลองตีเยร์ พนักงานขับรถไฟในภาพยนตร์เรื่อง ลา แบทท์ ฮิวเมน (สัตว์มนุษย์) สร้างจากนิยายของ อีมิล โซลา ออกฉายเมื่อปี 2481 เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายรถไฟได้สวยที่สุดในโลก

ประติมากรรมช่วง-เชิด

ประติมากรรมที่ช่วง มูลพินิจ ได้จัดทำให้กับ เชิด ทรงศรี ผู้กำกับภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องในวงการภาพยนตร์ไทยและในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่โดดเด่น เรื่อง แผลเก่า (2520) ซึ่งทำรายได้ถล่มทลายกลายเป็นปรากฏการณ์ต่อวงการภาพยนตร์ไทยในขณะนั้น รวมทั้งยอมรับจาก ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักวิจารณ์ภาพยนตร์จากทั่วโลก ให้เป็นภาพยนตร์ 1 ใน 360 เรื่องของภาพยนตร์ยอดเยี่ยมระดับคลาสสิกของโลก โดยมีสโลแกนคู่กับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “เราจักสำแดงความเป็นไทยต่อโลก”

ประติมากรรมพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาวิศวกรรมจากประเทศอังกฤษ ทรงเริ่มรับราชการเป็นทหารช่าง ต่อมาทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ในรัชกาลที่ 6 และสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และทรงเป็นอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7

ทรงเป็นนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น ทรงเห็นประโยชน์อย่างยิ่งของภาพยนตร์ในฐานะสื่อการสอนและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทรงจัดตั้งกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวขึ้นในกรมรถไฟหลวงเมื่อปี 2465 ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ผลิตภาพยนตร์ข่าวและสารคดีของสยาม และนับเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมสร้างภาพยนตร์ในประเทศไทย

ประติมากรรม เอ็ดวาร์ด เจมส์ ไมบริดจ์

ประติมากรรมจำลองเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาตร์กำเนิดภาพยนตร์วันที่ 19 มิถุนายน 2521 ที่ฟาร์ปศุสัตว์ปาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนียเอ็ดวาร์ด เจมส์ ไมบริดจ์ ช่างภาพชาวอังกษที่มาทำงานในสหรัฐอเมริกาได้รับการว่าจ้างจาก ลีแลนด์ สแตนฟอร์ด อดีตผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียและเจ้าของฟาร์มม้า ให้ถ่ายภาพม้าขณะกำลังวิ่งควบเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยที่ว่าในการย่างก้าวจะมีขณะหนึ่งที่กีบเท่าทั้งสี่ของม้าลอยอยู่ในอากาศโดยไม่มีกีบใดแตะพื้น อีกทั้งยังเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสามารถในการวิ่งอันยอดเยี่ยมของม้าตัวดังกล่าวเพื่อการเพาะพันธุ์ สแตนฟอร์ดเคยให้ไมบริดจ์ถ่ายภาพม้าวิ่งมาแล้วครั้งหนึ่งในปีพ.ศ. 2415 แต่ได้ผลไม่เป็นที่พอใจและมีข้อครหา เขาจึงจัดการถ่ายภาพม้าอีกครั้งต่อหน้าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์
ครั้งนี้ไมบริดจ์ได้สั่งทำกล้องถ่ายภาพนิ่ง 12 ตัว แต่ละตัวมี 2 เลนส์ตั้งเรียงแถวขนานกับลานวิ่ง และขึงเชืองขวางทางวิ่งไว้เหนือพื้น 12 เส้นเชือกนี้เชื่อมต่อกับสวิทซ์ไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อม้าวิ่งผ่านจะกระตุกให้สวิทซ์ลั่นชัดเตอร์ของกล้อง เป็นลำดับไปทีละกล้อง จนได้ภาพขณะม้าวิ่ง 24 ภาพเรียงกัน ม้าตัวที่วิ่งเป็นเพศเมียชื่อ แซลลี การ์ดเนอร์ คนขี่ชื่อ กิลเบิร์ต ดอมม์

ผลงานนี้สร้างชื่อเสียงให้ไมบริดจ์ หลังจากนั้นเขาหันมาทุ่มเทการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของคนและสัตว์ต่าง ๆ และยังได้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพถ่ายให้เห็นอาการเคลื่อนไหวดังกล่าว ตั้งชื่อว่า ซูแพรกซิสสโคป จัดฉายประกอบการบรรยายเป็นอาชีพจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

ผลงานและประดิษฐกรรมของเอ็ดวาร์ด เจมส์ ไมบริดจ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์สมัยใหม่