Sci Film Fest 6: เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โปรแกรม 6

8 ธันวาคม 2567

เวลา 15:30 น.

โรงช้างแดง

invalid

2567

กำกับโดย -

สนับสนุนโดย -

นำแสดงโดย -

ความยาว 92 นาที

ภาษา พากย์ไทย


เหมาะสำหรับชั้น ม.ปลาย ขึ้นไป ( 92 นาที )

- สายสัมพันธ์โลกกับมนุษย์ (6 นาที)

นำเสนอการเดินทางอันน่าสนใจผ่านประวัติศาสตร์โลกของเรา แกะรอยเส้นทางตั้งแต่ยุคแรกเริ่มผ่านหลายยุคหลายสมัยจนมนุษยชาติได้ถือกำเนิดขึ้น ตลอดการเดินทางนี้ เราจะได้เห็นผลกระทบทั้งสองด้านที่เกิดจากมนุษย์ ความเฉลียวฉลาดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันน่าเหลือเชื่อและโครงสร้างทางสังคมอันซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ความฉลาดนี้เองยังนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออีกหลากหลายชีวิตบนโลกนี้ เรื่องราวนี้ท้าทายให้เราได้ไตร่ตรองถึงมรดกและสมดุลอันแสนละเอียดอ่อนที่เราต้องสร้างขึ้นเพื่ออยู่ร่วมกับโลกที่โอบอุ้มเราไว้ให้ได้อย่างกลมกลืน


- เก้านาทีครึ่ง ตอน การเดินทางของรองเท้าผ้าใบ (9 นาที)

รองเท้าผ้าใบไม่เพียงแค่เป็นกระแสแฟชั่นแถวหน้ามานานหลายปี แต่ยังกลายมาเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกด้วย เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหานี้ให้ลึกซึ้ง เกซ่า นักข่าวสาวได้ไปสำรวจวงจรชีวิตของรองเท้าผ้าใบหลังจากที่พวกมันสวมใส่ไม่ได้แล้วและถูกทิ้งลงในถังขยะรีไซเคิล เธอได้เดินทางไปยังโรงงานรีไซเคิลสิ่งทอ ซึ่งทำให้เธอได้เรียนรู้ความท้าทายและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลรองเท้า นอกจากนี้ เกซ่ายังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักข่าวที่ติดตามการเดินทางของรองเท้าผ้าใบที่ถูกทิ้งแล้วไปจนถึงแอฟริกา และตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลสะท้อนทางสังคมในชุมชนที่ได้รับรองเท้ามือสองเหล่านี้ไป 


- แม่โขง-นฤมิต (15 นาที)

สารคดีเชิงทดลองซึ่งนำเอาชุดข้อมูลที่หลากหลายมาใช้ในการสร้าง เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตและคลิปข่าวทางโทรทัศน์ เนื้อหาเหล่านี้ได้รับการประมวลผลโดยการโปรแกรมมิ่งและเทคนิคปัญญาประดิษฐ์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์หลักฐานที่มี สารคดีนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอมุมมองแม่น้ำโขงอย่างครอบคลุม มุ่งเน้นถึงผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงหลายแง่มุมที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เริ่มสร้างเขื่อนในตอนแรก นำเสนอช่วงเวลาต่างๆด้วยการทำแผนที่วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีการให้ข้อมูลเชิงลึกในมิติทางนิเวศวิทยา สังคมและเศรษฐกิจ วิธีการนำเสนอเช่นนี้ช่วยให้เราสามารถสำรวจบทบาทของแม่น้ำโขงและอิทธิพลของกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสุขภาวะและความยั่งยืนของแม่น้ำโขงได้อย่างละเอียด


- บูรณะพนาไพร (8 นาที) *

Tropical Rainforest Collection (TRLC) Banun องค์กรเอกชนในมาเลเซียมุ่งฟื้นฟูเขตรักษาพันธุ์ป่า Amanjaya โดยใช้วิธีจ้างงานและฝึกอบรมชาวจาไฮ ชุมชนพื้นเมืองเพื่อขยายพันธุ์ไม้ในป่าฝนที่ใกล้สูญพันธุ์โดยใช้วิธีวิทยาศาสตร์และวิธีแบบดั้งเดิม สารคดีสั้นเรื่องนี้นำเสนอการเดินทางเข้าไปยัง Kampung Klewang ในอุทยานแห่งรัฐรอยัลเบลุม (Royal Belum State Park) เพื่อซื้อต้นกล้าจากเรือนเพาะชำของชาวจาไฮ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการขายต้นกล้าเหล่านี้ ในขณะที่ TRLC Banun ทำงานเพื่อฟื้นฟูผืนดินที่เสื่อมโทรมเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Bryan Yong นักข่าวสิ่งแวดล้อมที่มีความทะเยอทะยานและมีภูมิหลังด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสมุทรศาสตร์ ก็จะมาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงนักวิจัยเข้ากับสาธารณชนผ่านการเล่าเรื่องอันน่าสนใจ


- คุณค่าจากหยดน้ำค้าง (14 นาที)

ในช่วงฤดูร้อนอันแสนอบอ้าวจนต้องมีการจำกัดปริมาณการใช้น้ำอย่างเข้มงวด สาวน้อยเอ็มม่าได้รับต้นมะนาวเป็นของขวัญ การเผชิญหน้ากับความท้าทายในการดูแลต้นมะนาวด้วยน้ำในปริมาณจำกัดนั้นได้จุดประกายแรงบันดาลใจในตัวเธอ ซึ่งสิ่งนี้ก็ได้หล่อหลอมอนาคตของเธอด้วย มันสร้างเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้เธอคิดค้นระบบรีไซเคิลน้ำที่ล้ำสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในตอนที่เธอโตขึ้นมา 


- หมุนเวียน | เปลี่ยน | สร้าง (10 นาที)

ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงการเดินทางอันน่าสนใจของนักสร้างสรรค์และนักการศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนซึ่งมองเห็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลง มีฉากหลังเป็น Huber Pavilions ที่กำลังจะถูกรื้อถอน โครงการ "การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสำหรับการก่อสร้างที่ยั่งยืน" ได้รวบรวมเอานักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาที่มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนวัสดุจาก Huber Pavilions ให้กลายเป็นสิ่งใหม่ๆบนหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ใจกลางโครงการนี้มีหินก้อนใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์ของทั้งรากฐานและแรงบันดาลใจในการทำงานของพวกเขา พวกเขารื้อถอนอาคารเก่าอย่างพิถีพิถันด้วยนวัตกรรมดิจิทัล โดยนำเอาแต่ละชิ้นส่วนมาใช้สร้างเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความคลางแคลงใจและความท้าทายด้านตรรกะ แต่ความพยายามร่วมกันของพวกเขาก็ถือเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความยืดหยุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมนุษย์และความร่วมมือจากหลายสาขาความรู้ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าความพยายามอย่างต่อเนื่องนั้นช่วยให้สามารถเอาชนะอุปสรรคใหญ่โตได้ และยังนำไปสู่ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพล


- แพลนบี: ล่าสมบัติจากกองขยะอิเล็กทรอนิกส์ (30 นาที)

มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียงไม่ถึงหนึ่งในห้าเท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เราต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าไปเปล่าๆ ผู้คนมากมายสนับสนุนให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานภายใต้คำขวัญ "ซ่อมแซมดีกว่า อย่าเพิ่งทิ้ง" ในเมืองชตราสบวร์ก เอลี อัสเซมา ผู้ร่วมก่อตั้ง Commown มีเป้าหมายในการหลีกเลี่ยงขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยบริการให้เช่าสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และหูฟัง ซึ่งให้บริการมาตั้งแต่ปี 2018 มาร์ติน วิลเคอ จากฮัมบวร์กต้องการนำโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์เก่ามาทำเป็นโรงไฟฟ้าบนระเบียงและรีไซเคิลสิ่งเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 2ndlifesolar ส่วนในอินเดีย เดอา แวร์รี่ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมต้องเผชิญหน้ากับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกและการนำเข้าขยะผิดกฎหมาย เธอจึงได้ริเริ่มโครงการ E(co)work ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยให้คนที่ทำหน้าที่แยกส่วนวัสดุในอินเดียสามารถทำงานภายใต้สภาวะที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น ได้รับค่าจ้างมากขึ้น แนวทางของเธอช่วยส่งเสริมการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกต้องตามกฎหมายและยั่งยืนเพื่อยุโรป

* คำบรรยายภาษาไทย


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 02-482-2013 - 15 ต่อ 0  ระบบจองบัตรจะปิดหลังภาพยนตร์เริ่มฉาย 30 นาที

สำรองที่นั่ง

โปรแกรมภาพยนตร์ที่น่าสนใจ

วันหนังบ้าน ครั้งที่ 15

7 ธันวาคม 2567

เวลา 13:00 น.

โรงช้างแดง

Hugo

28 ธันวาคม 2567

เวลา 15:30 น.

โรงช้างแดง

Lumière!

28 ธันวาคม 2567

เวลา 13:00 น.

โรงช้างแดง

Sci Film Fest 4: เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โปรแกรม 4

8 ธันวาคม 2567

เวลา 14:00 น.

โรงช้างแดง