Poor People สงครามชีวิต

image

ชมภาพยนตร์โปรแกรมภาพยนตร์ Poor People สงครามชีวิต


“Poor People สงครามชีวิต” โปรแกรมภาพยนตร์ที่แตกยอดมาจากโปรแกรมใหญ่ในวาระ 100 ปี ดอกดิน กัญญามาลย์ ซึ่งจัดต่อเนื่องตั้งแต่กันยายน ไปจนถึงตุลาคม 2567 โดยจับเอาจุดร่วมสำคัญของ “หนังดอกดิน” หลายเรื่องที่แฟนหนังไทยคุ้นเคยมาขยายต่อ นั่นคือภาพความยากจน ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสลัมแบบปากกัดตีนถีบและกร้านโลก ซึ่งมีรากมาจากชีวิตของเขาเองที่เคยต่อสู้มาอย่างดิ้นรน


ในขณะที่คนจนในหนังดอกดินมักเต็มไปด้วยสีสันแสบ ๆ คัน ๆ แฝงด้วยอารมณ์สนุกสนาน ตามสไตล์หนังครบรส แต่ภาพสงครามชีวิตของคนจนแบบอื่น ๆ ในโลกหนังไทยนั้นเป็นอย่างไร  โปรแกรมนี้จะพาไปสำรวจตั้งแต่งานคลาสสิกขวัญใจมหาชนเรื่อง อีแตน (2511) ที่แจ้งเกิดให้แก่ อรัญญา นามวงษ์ ในบทสาวสลัม ต่อด้วย ฟ้าหลังฝน (2521) หนังดรามาชะตาชีวิตของคู่รักที่ต่างยากจนข้นแค้น และ มนต์รักขนมครก (2523) หนังตลกที่เล่าผ่านสังคมและสารพัดผู้คนในชุมชนแออัด 


ถัดมาเป็นกลุ่มงานที่เข้มข้นขึ้นในการสะท้อนภาพสังคม ทั้ง เมืองขอทาน (ขี้กลากคอนกรีต) (2521) ซึ่งสร้างโลกของขอทานขึ้นมาโดยมีนัยเสียดสีความเหลื่อมล้ำและทุนนิยม คนกลางแดด (2522) หนังถ่ายทอดภาพคนทำมาหากินบนท้องถนนในเมืองหลวง ที่ตั้งใจทำขึ้นในวาระ ๒๐๐ ปีกรุงเทพฯ  ครูสมศรี (2529) ครูสาวผู้ลุกขึ้นมาปกป้องพื้นที่สลัมที่กำลังถูกเผาไล่ที่จากนายทุนเพื่อนำไปทำศูนย์การค้า และ ทองประกายแสด (2531) งานจากบทประพันธ์ ของ สุวรรณี สุคนธา เกี่ยวกับหญิงสาวผู้ทะเยอทะยานและใฝ่ฝัน จะหลุดพ้นจากความจน  


ปิดท้ายด้วยงานร่วมสมัย กับหนังไทยสองเรื่อง School Town King (2563) สารคดีตามติดชีวิตแร็ปเปอร์เด็กหนุ่มสองคนในสลัมคลองเตย และ RedLife (2566) ที่เล่าถึงชีวิตผู้คนหาเช้ากินค่ำในย่านเสื่อมโทรมของกรุงเทพฯ แทรกด้วยหนังต่างประเทศ 8 Mile (2545) ที่ใช้ฉากหลังเป็นเมืองดีทรอยต์ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อถ่ายทอด วัฒนธรรมฮิปฮอปอเมริกันช่วงกลางยุค 90s


มรดกหนังดอกดิน: ๑๐๐ ปี ศิลปินของประชาชน

เทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย ครั้งที่ 8

ลานดารา สุประวัติ ปัทมสูต

Embrace the Bizarre

Misplaced ไม่ใช่ที่ของเรา

Fiction/Nonfiction

คุณาวุฒิ ๑๐๑ : A Retrospective

ลานดารา นันทวัน เมฆใหญ่

รำลึก วินัย ไกรบุตร

สายใต้

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 19

ภาพยนตร์โลก WORLD CINEMA PROGRAMME