Japanese & Thai Prewar Talkies

⭐️หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และเจแปนฟาวน์เดชั่น จัดโปรแกรมพิเศษ Japanese & Thai Prewar Talkies นำภาพยนตร์เสียงยุคแรกเริ่มเรื่องสำคัญของญี่ปุ่น มาจัดฉายควบคู่ภาพยนตร์เสียงของไทย ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่หลงเหลืออยู่ เพื่อเชื่อมต่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของทั้งสองชาติ และให้ผู้ชมชาวไทยได้มีโอกาสจินตนาการถึงลักษณะของบรรดาหนังเสียงไทยยุคแรกที่สูญหายไปเกือบทั้งหมด ผ่านหนังเสียงญี่ปุ่นในยุคเดียวกัน


🎬การเปลี่ยนผ่านจากภาพยนตร์เงียบสู่ภาพยนตร์เสียงในช่วงทศวรรษ 2470 นับเป็นปรากฏการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของหลายประเทศทั่วโลก เช่นเดียวกับในญี่ปุ่นและไทย แต่แม้การสร้างภาพยนตร์เสียงของทั้งสองประเทศจะเริ่มต้นไม่ห่างกันมากนัก ผลงานหนังเสียงของคนไทยที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อยก่อนการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสูญหายไปเกือบหมดสิ้น แตกต่างจากหนังเสียงญี่ปุ่นในช่วงเวลาเดียวกันที่ยังคงมีฟิล์มตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาอยู่มาก


⭐️โปรแกรม Japanese & Thai Prewar Talkies จะนำภาพยนตร์เสียงของญี่ปุ่นในยุคดังกล่าว ทั้งหนังเสียงเต็มรูปแบบเรื่องแรก The Neighbor's Wife and Mine (2474) หนังมิวสิคัลเรื่องแรก Tipsy Life (2476) ผลงานของผู้กำกับคนสำคัญ มิกิโอะ นารุเสะ Wife! Be Like a Rose! (2478) และ ยาสุจิโร่ โอสุ The Only Son (2479) มาจัดฉายร่วมกับเศษหนังเสียงไทยยุคแรกที่เหลือรอดและหอภาพยนตร์อนุรักษ์ไว้ได้คือ เลือดชาวนา (2479) กับ ปิดทองหลังพระ (2482)


🎬นอกจากนี้ ยังมีภาพยนตร์อีกเรื่องจากคลังอนุรักษ์ของหอภาพยนตร์คือ คล้องช้าง (2481) สารคดีญี่ปุ่นที่เข้ามาถ่ายทำการคล้องช้างที่ลพบุรี ซึ่งได้บันทึกเบื้องหลังการถ่ายหนังของโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง โรงถ่ายหนังเสียงแห่งแรกของไทยเอาไว้ และ Final Take (2529) ผลงานของ โยจิ ยามาดะ ที่กล่าวถึงวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นยุคเปลี่ยนผ่านจากหนังเงียบมาสู่หนังเสียง ซึ่งจะจัดฉายควบคู่ไปกับผลงานข้างต้น เพื่อเสริมต่อบริบทของหนังเสียงของทั้งสองประเทศยุคก่อนสงคราม ให้เห็นภาพครอบคลุมมากขึ้น


⭐️โปรแกรมพิเศษนี้เกิดขึ้นจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ Professional Development and Networking Initiative For ASEAN-JAPAN Film Programmers and Curators ของ เจแปนฟาวน์เดชั่น โดยก่อนจัดฉายทุกรอบ จะมีการบรรยายแนะนำเกร็ดความสำคัญของภาพยนตร์โดย พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู นักจัดรายการภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์ และ มาซายูกิ อุเอดะ โปรแกรมเมอร์จาก Wasedashochiku โรงหนังอิสระเก่าแก่ในกรุงโตเกียว


กำหนดการ

📌ศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568

15.00 น. พิธีเปิดกิจกรรม

15.15 น. เลือดชาวนา (15 นาที) และ ปิดทองหลังพระ (11 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 

16.00 น. Wife! Be Like a Rose! (74 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 


📌เสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2568

13.00 น. คล้องช้าง (63 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 

14.30 น.The Neighbor's Wife and Mine (56 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 

16.00 น. Tipsy Life (77 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 


📌อาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568

13.00 น. Final Take (117 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 

15.30 น. The Only Son (82 นาที) <<สำรองที่นั่ง>> 

.

*มีการแนะนำเกร็ดความสำคัญของภาพยนตร์ก่อนฉายทุกรอบ ประมาณ 15 นาที สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.fapot.or.th/main/cinema/program/156


.

เรื่องย่อ


ลือดชาวนา (เศษที่เหลืออยู่)  

2479 / กำกับโดย ศรีสุข วสุวัต, เชื้อ อินทรทูต / สร้างโดย ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง / นำแสดงโดย ปลอบ ผลาชีวะ, ราศรี เพ็ญงาม, จำรัส สุวคนธ์, หลวงภรตกรรมโกศล / 15 นาที 


เศษฟิล์มที่หลงเหลืออยู่เพียงเรื่องเดียวของโรงถ่ายหนังเสียงแห่งแรกของไทย รวมทั้งเป็นผลงานเรื่องแรกของ จำรัส สุวคนธ์ พระเอกคนสำคัญ ที่รับบทเป็นหนุ่มชาวกรุงผู้มาประทับใจลูกสาวเศรษฐีที่อยุธยา แต่เธอกลับมีคนรักอยู่แล้วเป็นลูกชาวนาที่ถูกพ่อกีดกัน

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู นักจัดรายการภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์)


ปิดทองหลังพระ (เศษที่เหลืออยู่)  

2482 / กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล / สร้างโดย ภาพยนตร์ไทย / นำแสดงโดย ลิขิต สารสนอง, สุภาพ สง่าเมือง, พนม สุทธาศิริ, อบ บุญติด / 11 นาที


โรงถ่ายไทยฟิล์มเป็นโรงถ่ายหนังเสียงแห่งที่สองของไทยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ภาพยนตร์ไทย จำกัด มีผลงานสร้างภาพยนตร์ 5 เรื่อง ตั้งแต่ปี 2481-2483 เศษฟิล์มเรื่อง ปิดทองหลังพระ เป็นผลงานเพียงเรื่องเดียวของโรงถ่ายแห่งนี้ที่เหลือมาให้ศึกษา

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู นักจัดรายการภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์)


รอบฉาย

ศุกร์ที่ 6 มิถุนายน เวลา 15.00 น. (มีกิจกรรมเปิดโปรแกรมก่อนฉาย) ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนีมา <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


Wife! Be Like a Rose!  (ฟิล์ม 35 มม.)

2478 / กำกับโดย NARUSE Mikio / สนับสนุนโดย Japan Foundation / 74 นาที 


ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ๆ ของ มิกิโอะ นารุเสะ หนึ่งในคนทำหนังชาวญี่ปุ่นที่สำคัญที่สุด รวมทั้งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ่ายทอดเรื่องราวของหญิงสาวที่ออกเดินทางไปหาพ่อผู้จากครอบครัวไปมีภรรยาใหม่  

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย มายาซูกิ อุเอดะ โปรแกรมเมอร์จากWasedashochiku โรงหนังอิสระเก่าแก่ในกรุงโตเกียว)


รอบฉาย

ศุกร์ที่ 6 มิถุนายน เวลา 16.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนีมา <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


คล้องช้าง  

2481 / ไม่ทราบผู้กำกับและผู้สร้าง / 63 นาที


ภาพยนตร์สารคดีโดยทีมงานชาวญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางเข้ามาสยามในปี 2481 เพื่อบันทึกภาพงานแสดงคล้องช้างที่จังหวัดลพบุรี ตลอดจนภาพวิถีชีวิตและบ้านเมืองในกรุงเทพฯ รวมถึงเบื้องหลังการถ่ายหนังของโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ที่ปรากฏภาพของ มานี สุมนนัฏ นางเอกระดับดาราคนแรกที่ไม่มีผลงานของเธอหลงเหลืออยู่เลย

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู นักจัดรายการภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์)


รอบฉาย

เสาร์ที่ 7 มิถุนายน เวลา 13.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนีมา  <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


The Neighbor's Wife and Mine ฟิล์ม 35 มม.

2474 / กำกับโดย GOSHO Heinosuke / สนับสนุนโดย National Film Archive of Japan / 56 นาที


ภาพยนตร์เสียงเต็มรูปแบบเรื่องแรกของญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ เล่าเรื่องราวของนักเขียนบทละครเวทีผู้ย้ายออกมาอยู่นอกเมืองเพื่อหวังเขียนบทให้เสร็จทันเส้นตาย แต่เขาต้องผจญความวุ่นวายรอบตัวทั้งจากครอบครัวและเสียงดนตรีแจ๊สของเพื่อนบ้าน

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย มายาซูกิ อุเอดะ โปรแกรมเมอร์จาก Wasedashochiku โรงหนังอิสระเก่าแก่ในกรุงโตเกียว)


รอบฉาย

เสาร์ที่ 7 มิถุนายน เวลา 14.30 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนีมา  <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


Tipsy Life ฟิล์ม 35 มม.

2476 / กำกับโดย KIMURA Sotoji / สนับสนุนโดย National Film Archive of Japan / 77 นาที 


หนังมิวสิคัลเรื่องแรกของญี่ปุ่นและเป็นผลงานเรื่องแรกที่สร้างโดยโรงถ่าย P.C.L. ที่พัฒนาต่อมากลายเป็นบริษัทโตโฮอันโด่งดัง ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างสาวขายเบียร์ที่สถานีรถไฟกับนักเรียนดนตรีผู้พยายามแต่งเพลงให้ประสบความสำเร็จ

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย มายาซูกิ อุเอดะ โปรแกรมเมอร์จาก Wasedashochiku โรงหนังอิสระเก่าแก่ในกรุงโตเกียว)


รอบฉาย

เสาร์ที่ 7 มิถุนายน เวลา 16.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนีมา <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


Final Take  ฟิล์ม 16 มม.

2529 / กำกับโดย YAMADA Yoji / สนับสนุนโดย Japan Foundation / 117 นาที


ผลงานที่เปรียบเสมือนเป็นจดหมายรักจาก โยจิ ยามาดะ ถึงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในช่วงเปลี่ยนระบบจากการสร้างหนังเงียบมาเป็นหนังเสียง ผ่านชะตาชีวิตของตัวละคร โคอารุ แม่ค้าขายขนมผู้ฝันอยากเป็นดารา และได้รับการชักชวนจากผู้กำกับภาพยนตร์ให้มารับบทนำ 

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย มายาซูกิ อุเอดะ โปรแกรมเมอร์จาก  Wasedashochiku โรงหนังอิสระเก่าแก่ในกรุงโตเกียว)


รอบฉาย

อาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน เวลา 13.00 น. ณ โรงหนังช้างแดง  <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


The Only Son  ฟิล์ม 35 มม.

2479 / กำกับโดย OZU Yasujiro / สนับสนุนโดย National Film Archive of Japan / 82 นาที 


ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของ ยาสุจิโร โอสุ ผู้กำกับระดับแถวหน้าของญี่ปุ่นคนท้าย ๆ ที่ยอมเปลี่ยนจากการทำหนังเงียบมาเป็นหนังเสียง ว่าด้วยหญิงม่ายผู้ส่งเสียให้ลูกชายได้รับการศึกษาที่ดี แต่กลับพบว่าเขาได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนกลางคืนที่ต่ำต้อย

(แนะนำภาพยนตร์ก่อนฉาย 15 นาที โดย มายาซูกิ อุเอดะ โปรแกรมเมอร์จาก Wasedashochiku โรงหนังอิสระเก่าแก่ในกรุงโตเกียว)


รอบฉาย

อาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน เวลา 15.30 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนีมา <<สำรองที่นั่ง>> 

------------------------------------------------


ข่าวสารที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด

ประกาศ รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นผู้ปฏิบัติง...

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาและคัดเลือกเป็น ผู้ปฏิบัติงานของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้ ต...

อ่านรายละเอียด

Hommage à Chris Marker

23 ธ.ค. 64 - 23 ธ.ค. 64  กิจกรรม

Hommage à Chris Marker โปรแกรมพิเศษในเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 25 ในวาระ 100 ปี คริส มาร์กเกอร์ คนทำหนังผู้บุกเบิกหนังแนว essay filmคริส มาร์กเกอร์...

อ่านรายละเอียด

วันหนังบ้านครั้งที่ 13 (ฉบับออนไลน์)

16 ต.ค. 64 - 16 ต.ค. 64  กิจกรรม

พบกับความอบอุ่นประทับใจจากหนังบ้านในวันวานของหลากหลายครอบครัว ใน Home Movie Day Thailand 2021 หรือ วันหนังบ้าน (ฉบับออนไลน์) เสาร์ที่ 16 ตุลาคมนี้ เวล...

อ่านรายละเอียด