เลือดสุพรรณ

ฟิล์ม ๓๕ มม. / สี / เสียง / ความยาว ๑๓๗.๔๘ นาที

๒๕๒๒

บริษัทสร้าง เชิดไชยภาพยนตร์

ผู้อำนวยการสร้าง เชิด ทรงศรี

ผู้กำกับ เชิด ทรงศรี

ผู้เขียนบท ธม ธาตรี

ผู้ประพันธ์ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

ผู้กำกับภาพ กวี เกียรตินันท์

ผู้กำกับศิลป์ อุไร ศิริสมบัติ

ผู้ลำดับภาพ คชา ราชประทาน, จันนิภา เจตสมมา

ผู้ทำดนตรีประกอบ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง, ลัดดา สารตายน 

ผู้แสดง ไพโรจน์ สังวริบุตร, ลลนา สุลาวัลย์, ส. อาสนจินดา, สุพรรณ บูรณพิมพ์, จุฑารัตน์ จินรัตน์, ราชันย์ กาญจนมาศ, สุรชาติ ไตรโภค, ไสล พูนชัย, อุมา ไอยทิพย์, ขวัญ สุวรรณะ, ก. เก่งทุกทาง, ประสาท ทองอร่าม, มรว. สุดจัยยะ ชมพูนุท, หมี หมัดแม่น


ภาพยนตร์ที่ เชิด ทรงศรี สร้างต่อจากความสำเร็จระดับปรากฏการณ์ของแผลเก่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยไม่เพียงแต่ยังคง “สำแดงความเป็นไทยต่อโลก” เช่นเดียวกับเรื่องก่อนหน้า เชิด ทรงศรี ยังได้เพิ่มประเด็นเรื่องความรักชาติและความสามัคคีเข้าไป ด้วยการประกาศว่าเป็น “งานสืบทอดวีรกรรมของปู่ ย่า ตา ยายไทย ที่เคยพลีชีพเพื่อชาติ” รวมทั้งทุ่มทุนสร้างสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น


เลือดสุพรรณ เป็นบทประพันธ์ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากร สำหรับใช้แสดงละคร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลุกใจประชาชนให้รักชาติ ผ่านเรื่องราวความรักของทหารพม่ากับสาวไทย และวีรกรรมของคนไทยกลุ่มเล็ก ๆ ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับกองทัพพม่าที่มีไพร่พลนับหมื่นคน ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายและยืนนานจนสามารถหาทุนสร้างโรงละครถาวรของกรมศิลปากรได้ ทั้งได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปีเดียวกัน เมื่อ เชิด ทรงศรี นำกลับมาสร้างใหม่ เขาได้เพิ่มเติมเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการกำหนดยุคสมัยของเรื่องว่าเกิดขึ้นในปลายปี พ.ศ. ๒๓๐๘ จากเดิมที่ไม่ได้ระบุไว้ และยังลงทุนค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับไทยและพม่าในช่วงเวลานั้นอย่างจริงจัง สำหรับนำมาอ้างอิงในการสร้าง เพื่อขับเน้นความสมจริงยิ่งขึ้น


นอกจากอุดมการณ์เรื่องความรักและสามัคคีของคนในชาติ เชิด ทรงศรี ยังได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะการละเล่นและเพลงพื้นบ้านของทั้งไทยและพม่าโดยจงใจสอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ในขณะเดียวกัน เลือดสุพรรณ ยังมีความก้าวหน้าและล้ำสมัยในแง่ดนตรีประกอบด้วยการใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลงประกอบด้วยวิธีใหม่ ไม่ได้ประสมวงและบรรเลงเพลงไทยเดิมเช่นที่ผ่านมา แต่เลือกใช้เครื่องดนตรีบางประเภทมาสร้างทำนองใหม่ เพื่อสนับสนุนการเล่าเรื่องทั้งสำเนียงไทยและพม่า


ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงไม่เพียงแต่แสดงถึงความทะเยอทะยานของผู้กำกับคนสำคัญของไทย ทั้งในแง่ความพิถีพิถันทางศิลปภาพยนตร์ การเคร่งครัดกับความสมจริง และความกล้าหาญในการลงทุนโดยไม่หวังถึงผลกำไร เพื่อยกระดับวงการภาพยนตร์ไทยซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ หากแต่ยังเป็นตัวอย่างอันหายากของภาพยนตร์ที่ตั้งใจเผยแพร่อุดมคติแห่งความเป็นไทยอย่างถึงราก และเป็นสื่อที่แสดงให้เห็นถึงบทประพันธ์ซึ่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความคิดเรื่องการรักชาติของผู้คนในสังคมไทยมายาวนาน


ผู้บริจาค เชิด ทรงศรี

ข่าวสารที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด

ประกาศ รายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุแ...

ตามประกาศหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ จำนว...

อ่านรายละเอียด

Hommage à Chris Marker

23 ธ.ค. 64 - 23 ธ.ค. 64  กิจกรรม

Hommage à Chris Marker โปรแกรมพิเศษในเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 25 ในวาระ 100 ปี คริส มาร์กเกอร์ คนทำหนังผู้บุกเบิกหนังแนว essay filmคริส มาร์กเกอร์...

อ่านรายละเอียด

วันหนังบ้านครั้งที่ 13 (ฉบับออนไลน์)

16 ต.ค. 64 - 16 ต.ค. 64  กิจกรรม

พบกับความอบอุ่นประทับใจจากหนังบ้านในวันวานของหลากหลายครอบครัว ใน Home Movie Day Thailand 2021 หรือ วันหนังบ้าน (ฉบับออนไลน์) เสาร์ที่ 16 ตุลาคมนี้ เวล...

อ่านรายละเอียด