แบบฟอร์มขอจัดฉายภาพยนตร์ที่หอภาพยนตร์อนุรักษ์

ข้อกำหนด

1. เป็นกิจกรรมการจัดฉายที่จัดในโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือพื้นที่จัดฉายอิสระ, หอประชุม หอศิลป์ ห้องประชุมของสถาบันการศึกษา หรือ การฉายภาพยนตร์ประกอบกิจกรรมต่าง  ๆ  

2. โรงภาพยนตร์หรือพื้นที่ฉายสามารถเก็บค่าชมภาพยนตร์จากผู้ชมได้ตามสมควร โดยจะมีการการแบ่งรายได้กับหอภาพยนตร์หรือไม่ก็ได้ โดยให้ทำเป็นข้อตกลงร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมของโรงหรือพื้นที่ฉาย

3. เป็นการฉายภาพยนตร์ที่มีเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ หรือเพื่อสนับสนุนส่งเสริมภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์กระแสหลัก

4. หอภาพยนตร์ให้ความอนุเคราะห์ภาพยนตร์ในรูปแบบไฟล์เพื่อการจัดฉาย โดยเจ้าของพื้นที่หรือกิจกรรมต้องทำหน้าที่ปกป้องลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์ ห้ามทำสำเนา และดูแลไม่ได้เกิดการลักลอบทำสำเนาหรือละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยผู้ชมหรือผู้เกี่ยวข้องกับการฉาย รวมทั้งจัดฉายให้ถูกต้องตามสัดส่วนของภาพยนตร์ 

5. เจ้าของพื้นที่หรือกิจกรรมต้องระบุชื่อและตราสัญลักษณ์ (Logo) ของหอภาพยนตร์เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมการฉายนั้นอย่างชัดเจนในสื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางทุกครั้ง

6. เจ้าของพื้นที่หรือกิจกรรมต้องจัดทำรายงานสรุปการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมส่งให้หอภาพยนตร์ทุกครั้ง

7. สิ่งที่หอภาพยนตร์สนับสนุน

  - ไฟล์ภาพยนตร์

  - เรื่องย่อและข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์

  - ไฟล์โปสเตอร์และ/หรือภาพนิ่งจากภาพยนตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์


รายชื่อภาพยนตร์ที่หอภาพยนตร์ให้การสนับสนุน 

1. พระเจ้าช้างเผือก (2484)

2. สันติ-วีณา (2497)

3. ชั่วฟ้าดินสลาย (2498)

4. โรงแรมนรก (2500)

5. สวรรค์มืด (2501)

6. แพรดำ (2504)

7. เรือนแพ (2504)

8. น้ำตาลไม่หวาน (2507)

9. สมิงบ้านไร่ (2507)

10. เงิน เงิน เงิน (2508)

11. ทรชนคนสวย (2510)

12. อีแตน (2511)

13. เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512)

14. ไอ้ทุย (2514)

15. Lumiere! (2559)

16. คำสั่งคำสาป (2497)

17. สาย สีมา นักสู้สามัญชน (2524)


กรอกรายละเอียดเพิ่มเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://forms.gle/frh2ppYHMmxmsRiF8



เรื่องย่อภาพยนตร์


พระเจ้าช้างเผือก The King of the White Elephant

ประเทศไทย / พ.ศ. 2484 / ความยาว 100 นาที

Thailand / 1941 / 100 min





บริษัทสร้าง  Production Company: ปรีดี โปรดักชัน Pridi Production

ผู้กำกับ Director: สัณห์ วสุธาร Sunh Vasudhara

เนื้อเรื่อง Story: ปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: ประสาท สุขุม Prasart Sukhum

บันทึกเสียง Sound: ชาญ บุนนาค Charn Bunnag

กำกับศิลป์ Art Director: หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ M.C. Yachai Chitrabongse

ลำดับภาพ Editor: บำรุง แนวพานิช Bamrung Naewbanji

นักแสดง Cast: เรณู กฤตยากร, สุวัฒน์ นิลเสน และหลวงศรีสุรางค์ Renu Kritayakorn, Suvat Nilsen and Luang Srisurang

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


พระเจ้าช้างเผือก เป็นภาพยนตร์ไทยพูดภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้น เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องสันติภาพให้แก่นานาประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อำนวยการสร้างและเขียนเรื่องโดย ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษและผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475  โดยนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์คือสงครามช้างเผือกและสงครามยุทธหัตถี มาผูกเป็นเรื่องราวระหว่าง พระเจ้าจักราแห่งอโยธยา ธรรมราชาผู้สนพระทัยในทุกข์และสุขของราษฎร ไม่โปรดปรานในประเพณีที่ล้าหลัง กับ พระเจ้าหงสา ทรราชย์ผู้มีนโยบายรุกรานดินแดนอื่น และส่งกองทัพบุกมาบังคับขอช้างเผือกของพระเจ้าจักรา  สงครามขึ้นระหว่างอโยธยากับหงสาจึงเกิดขึ้น  แต่พระเจ้าจักรากลับท้าพระเจ้าหงสาชนช้างตัวต่อตัว เพราะไม่ต้องการให้พลทหารต้องบาดเจ็บล้มตาย การต่อสู้ในครั้งนี้มิได้ต้องการพิชิตสงครามในความหมายเก่า แต่ทรงต้องการสันติภาพในความหมายใหม่


The King of the White Elephant was an English-speaking Thai film made to promote the message of peace during World War II. Written and produced by Pridi Banomyong, statesman and the brain behind the Siamese Revolution of 1932, the story is adapted from a real historical battle and centers on a confrontation between the righteous King Chakra of Ayodhaya and the invading army of King Hongsa, who demands the auspicious white elephant as his trophy. To prevent bloodshed, King Chakra challenges King Hongsa to an elephant-duel. The encounter between the two armies, however, reveals a possibility of peace and compassion in the face of war.


---------------------------------------------------------------------------------------------

สันติ-วีณา Santi-Vina

ประเทศไทย / พ.ศ. 2497 / ความยาว 117 นาที 

Thailand / 1954 / 117 min




บริษัทสร้าง  Production Company: ฟาร์อีสต์ฟิล์ม และหนุมานภาพยนตร์ Far East Film and Hanuman Production

ผู้อำนวยการสร้าง Producer: โรเบิร์ต จี นอร์ธ และรักษ์ ปันยารชุน Robert G. North and Rak Punyarachun

ผู้กำกับ Director: มารุต (ทวี ณ บางช้าง) “Marut” (Thavi Na Bangchang)

เนื้อเรื่อง Story: โรเบิร์ต จี นอร์ธ Robert G. North

บทสนทนา Dialogue: ทวี ณ บางช้าง และวิจิตร คุณาวุฒิ Thavi Na Bangchang and Vichit Kunavudhi

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: รัตน์ เปสตันยี R.D. Pestonji

กำกับศิลป์ Art Director: อุไร ศิริสมบัติ Urai Sirisombat

ประพันธ์ดนตรี Music Composer: นารถ ถาวรบุตร Nath Tavorabutr

นักแสดง Cast: พูนพันธ์ รังควร และเรวดี ศิริวิไล Poonpan Rangkhavorn and Rayvadi Sriwilai

บูรณะภาพและเสียง โดย Restored by: แล็บ อิมมาจิเน ริโทรวาต้า ประเทศอิตาลี L’Immagine Ritrovata, Italy

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จากงานประกวดภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 1 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2497 ประกอบด้วย ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ) และรางวัลพิเศษในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของเอเชียให้ชาวตะวันตกเข้าใจได้เป็นอย่างดี เล่าเรื่องราวของ สันติ เด็กชายตาบอดผู้ถูกพ่อส่งไปให้เรียนรู้พระธรรมและอาศัยอยู่กับหลวงตาภายในถ้ำ โดยมี วีณา เด็กหญิงวัยไล่เลี่ยกันคอยดูแลปกป้องเขาจาก ไกร ผู้หาเรื่องแกล้งสันติอยู่เสมอ เมื่อพวกเขาโตขึ้น สันติและวีณาได้กลายเป็นคู่รัก ท่ามกลางความอิจฉาริษยาของไกร วันหนึ่ง ไกรได้ให้พ่อแม่ของเขาไปสู่ขอวีณาถึงบ้าน วีณาจึงตัดสินใจหลบหนีไปพร้อมสันติด้วยความหวังว่าจะได้ไปใช้ชีวิตครองรักด้วยกัน


The first Thai feature film to win international recognition. In 1954, the film participated in the first edition of The Film Festival in Southeast Asia in Japan where it won two Golden Harvest Awards for Best Cinematographer (R.D. Pestonji) and Best Art Direction (Urai Sirisombat) and also a Special Award for “the Feature Picture which will Best Disseminate Asian Culture and Increase Understanding of by the West”. The film tells a story of Santi, a poor blind boy who was sends by his father to stay and learn the lessons of Buddha with Luang Ta, a respectable monk, in cave. Vina, his friend, takes a pity on him and tries to protect him from the bullying of Krai. As grown ups, Santi and Vina have become lovers and Krai feels jealous. Krai asks his parents to make a marriage proposal to Vina, but Vina decides to run away with Santi in the hope for their love.


----------------------------------------------------------------------------------------

ชั่วฟ้าดินสลาย Forever Yours

ประเทศไทย / พ.ศ. 2498 / ความยาว 107 นาที

Thailand / 1955 / 107 min




บริษัทสร้าง  Production Company: หนุมานภาพยนตร์ Hanuman Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง Producer: รัตน์ เปสตันยี R.D. Pestonji

ผู้กำกับ Director: มารุต (ทวี ณ บางช้าง) “Marut” (Thavi Na Bangchang)

บทภาพยนตร์ Screenplay: ทวี ณ บางช้าง และวิจิตร คุณาวุฒิ Thavi Na Bangchang and Vichit Kunavudhi

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: รัตน์ เปสตันยี R.D. Pestonji

บันทึกเสียง Sound: ปง อัศวินิกุล Pong Asavinikul

ลำดับภาพ Editor: จุรัย เกษมสุวรรณ Jurai Kasemsuwan

นักแสดง Cast: ชนะ ศรีอุบล, งามตา ศุภพงศ์, เฮม สุขเกษม และประจวบ ฤกษ์ยามดี Chana Sri-ubon, Ngamta Supphaphong, Haim Sukkasem and Prajuab Reukyamdee

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


ภาพยนตร์ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ ครูมาลัย ชูพินิจ (เรียมเอง) เป็นโศกนาฏกรรมรักของหนุ่มสาวที่เชื่อว่ารักกันตราบชั่วฟ้าดินสลาย แต่เมื่อทั้งคู่ถูกจับล่ามโซ่ให้อยู่ด้วยกัน แต่ละคนจะคิดและรู้สึกอย่างไร เพราะหญิงรักด้วยใจ ชายรักด้วยสมอง ผลงานของหนุมานภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย ครูมารุต เป็นหนังรักชั้นเลิศเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์หนังไทย


Adapted from the novel by Malai Chupinij, Forever Yours (Chuafah Din Salai) tells a tragic fate of two lovers. Set in a forest ranch in the North, the film centers on Yupadee, a young wife of the old timber tycoon Pabo. At the ranch, Yupadee begins an affair with Sangmong, the young nephew of her husband. When Pabo finds out what’s going on under is roof, his revenge is to chain the two lovers together to test their belief in eternal love. 


----------------------------------------------------------------------------------------

โรงแรมนรก Country Hotel

ประเทศไทย / พ.ศ. 2500 / ความยาว 138 นาที

Thailand / 1957 / 138 min




บริษัทสร้าง  Production Company: หนุมานภาพยนตร์ Hanuman Pappayon

เนื้อเรื่อง, บทภาพยนตร์, ลำดับภาพ, ผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับ Story, Screenplay, Editor, Producer and Director: รัตน์ เปสตันยี Rattana Pestonji

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: ประสาท สุขุม Prasart Sukhum

ออกแบบฉาก Set Design: สวัสดิ์ แก่สำราญ Sawat Kaesamran

ดนตรี Music: ลูกฟ้า Lookfa

บันทึกเสียง Sound: ปง อัศวินิกุล Pong Asavinikul

นักแสดง Cast: ชนะ ศรีอุบล, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ และประจวบ ฤกษ์ยามดี Chana Sri-ubon, Surasit Satayawong, Sarintip Siriwan and Prajuab Reukyamdee

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


ภาพยนตร์ขาว-ดำ ผลงานชิ้นเอกของ รัตน์ เปสตันยี เรื่องราวในโรงแรมสวรรค์ โรงแรมเล็ก ๆ ในชนบท วันหนึ่ง เรียม สาวแปลกหน้าได้เดินทางมาถึงที่นี่และดึงดันจะขอเข้าพัก แม้ว่า ชนะ หนุ่มรูปงามจะเช่าห้องซึ่งมีเพียงห้องเดียวอยู่ก่อนแล้ว เรื่องยิ่งวุ่นหนักเมื่อเหล่าเสือร้ายบุกเข้ามายึดโรงแรม เพื่อดักปล้นคนจากบริษัทที่จะหอบเงินหกแสนบาทมายังโรงแรมแห่งนี้


A black comedy masterpiece by Thai filmmaker R.D. Pestonji, the story unfolds in the course of one night at a remote hotel called “Paradise Hotel” (though the Thai title literally means “hell hotel”). A mysterious woman called Riam arrives, asks for a room, and gets into a lively battle of wit with another guest, Chana, since there is only one room available. Absurd humor and thrilling action follow when bandits storm the hotel to rob an accountant scheduled to arrive at the premise.

----------------------------------------------------------------------------------------

สวรรค์มืด Dark Heaven

ประเทศไทย / พ.ศ. 2501 / ความยาว 98 นาที

Thailand / 1958 / 98 min




บริษัทสร้าง  Production Company: คันจราภาพยนตร์ Kanjara Pappayon

ผู้กำกับ Director: รัตน์ เปสตันยี Rattana Pestonji

บทภาพยนตร์ Screenplay: สุวัฒน์ วรดิลก Suwat Voradilok

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: ประสาท สุขุม Prasart Sukhum

ดนตรี Music: ลูกฟ้า Lookfa

บันทึกเสียง Sound: ปง อัศวินิกุล Pong Asavinikul

ออกแบบฉาก Set Design: อุไร ศิริสมบัติ Urai Sirisombat

ลำดับภาพ Editor: เท คันจรา Tae Kanjara

นักแสดง Cast: สุเทพ วงศ์กำแหง และสืบเนื่อง กันภัย Suthep Wongkamhaeng and Suebnuang Kanphai

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


สวรรค์มืด ภาพยนตร์แนวชีวิตประกอบเพลง เล่าเรื่องราวของ เนียร (สืบเนื่อง กันภัย) เด็กสาวกำพร้าผู้ยากไร้ที่กำลังหลบหนีหลังจากที่เธอไปขโมยอาหารที่เศรษฐีซื้อมาเลี้ยงสุนัข คนเก็บขยะผู้ชื่นชอบการร้องเพลง ชู (สุเทพ วงศ์กำแหง) ช่วยเหลือเธอให้รอดจากเงื้อมมือของเศรษฐีและตำรวจ ชูพาเนียรกลับมาที่บ้านซอมซ่อของเขาและให้เธอใช้เป็นที่พักพิง พวกเขาตกหลุมรักแต่ก็ต้องพลัดพรากจากกันเมื่อชูถูกเกณฑ์ทหารและถูกส่งตัวไปรบ


เศรษฐีนีใจบุญรับอุปการะเนียรเป็นลูกบุญธรรม เมื่อชูกลับมาจากสนามรบ เขากลายเป็นคนตาบอด และเนียรที่เริ่มคุ้นเคยกับชีวิตหรูหรา รู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างการรักษาสถานภาพใหม่ที่สมบูรณ์พูนสุขหรือการกลับไปใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนกับชู


การบูรณะภาพยนตร์ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ความชัด 4K นี้ใช้อนุรักษ์ภาพยนตร์โดยภาพและเสียง ที่เก็บอนุรักษ์ไว้โดย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)


Dark Heaven is a comedy drama and musical telling the story of Nien, (Suebnuang Kanphai), a poor orphan girl who is on the run after stealing some food that a wealthy man had purchased to feed his dogs. A singing garbage collector Choo (Suthep Wongkamhaeng) rescues her from the wealthy man and a policeman. Choo then takes Nien back to his humble shack and gives her shelter. They fall in love but are torn apart when Choo is drafted into the army and send off to war. A wealthy woman adopts Nien. When Choo returns, he is blind and Nien, who has grown accustomed to luxury, is conflicted between maintaining her newfound wealth or returning to a simple life with Choo.


The 4K restoration was carried outfrom the original camera and sound negatives by the Film Archive (Public Organization), Thailand.

----------------------------------------------------------------------------------------

แพรดำ Black Silk 

ประเทศไทย / พ.ศ. 2504 / ความยาว 118 นาที

Thailand / 1961 / 118 min




บริษัทสร้าง  Production Company: หนุมานภาพยนตร์ Hanuman Pappayon

เนื้อเรื่อง, บทภาพยนตร์, ลำดับภาพ, ผู้อำนวยการสร้าง, ผู้กำกับ Story, Screenplay, Editor, Producer, Director: รัตน์ เปสตันยี R.D. Pestonji

ออกแบบฉาก Set Design: สวัสดิ์ แก่สำราญ Sawat Kaesamran

บันทึกเสียง Sound: ปง อัศวินิกุล Pong Asavinikul

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: รัตน์ เปสตันยี และเอเดิ้ล เปสตันยี R.D. Pestonji and Edle Pestonji


นักแสดง Cast: รัตนาวดี รัตนาพันธ์, ทม วิศวชาติ, เสณี อุษณีษาณฑ์ และศรินทิพย์ ศิริวรรณ Rattanawadee Rattanapan, Thom Wissawachart, Saenee Usaneesanon and Sarintip Siriwan

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


หนังอาชญากรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรก ๆ ของเมืองไทย ผสมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา เหนืออื่นใด แพรดำ เป็นหนังที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานระดับคลาสสิก โดยเฉพาะในส่วนของศิลปะหนัง เพื่อพัฒนาเรื่องและสื่อความหมายได้อย่างดีเยี่ยม ผ่านเรื่องราวของ แพร หญิงหม้ายลูกติดที่สวมชุดสีดำเพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีผู้ล่วงลับ ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับ ทม คนคุมไนต์คลับ ชักนำเธอให้เข้าไปพัวพันกับเหตุฆาตกรรม ซึ่ง เสนีย์ เจ้าของไนต์คลับ เจ้านายของทม และทมได้ร่วมกันก่อขึ้น เพื่อความหวังในชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งแทนที่จะช่วยให้ทมและแพร สมหวังในความรักกลับเป็นเหตุให้ความหวังเหล่านั้นหลุดลอยห่างไกลออกไป


แพรดำ เป็นภาพยนตร์ที่ รัตน์ เปสตันยี ต้องการสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ โดยได้ส่งเข้าร่วมประกวดในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลใด ๆ กลับมา แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากสื่อมวลชนที่ไปร่วมงาน


Regarded as Thailand’s first film noir, Prae Dum (Black Silk) tells the story of Prae, a widowed mother who dresses in black to mourn her dead husband. Her relationship with Thom, who runs a nightclub, leads her down a web of murder and blackmail that eventually threatens the safety of herself and her young child. 

Black Silk is a classic work shot in an elegant interplay of light, shadow and colour. The film mixes film noir elements, such as crime, guilt and punishment, with Buddhist philosophy and redemption. The film was shown at the Berlin International Film Festival, in 1961.

----------------------------------------------------------------------------------------

เรือนแพ

ประเทศไทย / พ.ศ. 2504 / ความยาว 117 นาที




ผู้ประพันธ์ และผู้เขียนบท: เวตาล

บริษัทสร้าง: อัศวินภาพยนตร์

ผู้จัดจำหน่าย: บริษัท ศิลปไทย จำกัด (ศาลาเฉลิมไทย)

ผู้อำนวยการสร้าง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล, จรี อมาตยกุล

ผู้กำกับ: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล, เนรมิต

ผู้ถ่ายภาพ: พูลสวัสดิ์ ธีมากร

ผู้ลำดับภาพ: อำนวย กลัสนิมิ, พร้อม รุ่งรังษี

ผู้กำกับศิลป์: เฉลิม พันธุ์นิล

ผู้ทำดนตรีประกอบ: ม.ล. ประพันธ์ สนิทวงศ์

ผู้บันทึกเสียง : ทองหล่อ จิตรอรุณ, เกษม มิลินทจินดา

ออกแบบเครื่องแต่งกาย: ถวิล พินธุโยธิน

แต่งหน้า: ปริม บุนนาค

นักแสดง: ไชยา สุริยัน,ส.อาสนจินดา,จินฟง,มาเรีย จาง


ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองประจำปี 2505 เรื่องราวของ เจน แก้ว และริน สามคนเพื่อนรักที่หลงรัก เพ็ญ ผู้หญิง คนเดียวกัน ทั้งหมดอาศัยอยู่ด้วยกันที่เรือนแพริมน้ำต่อมาพวกเขา ต่างต้องแยกย้ายจากกัน โดยเจนซึ่งเรียนจบปริญญาด้วยคะแนน เกียรตินิยมไปสมัครเป็นตำรวจ รินไปเป็นนักร้อง และแก้วไปเป็น นักมวย อันเป็นบทบาทชีวิตที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม เมื่อเพื่อนรัก ทั้งสามต้องโคจรกลับมาพบกัน

----------------------------------------------------------------------------------------

น้ำตาลไม่หวาน Sugar Is Not Sweet

ประเทศไทย / พ.ศ. 2507 / ความยาว 121 นาที

Thailand / 1964 / 121 min




บริษัทสร้าง  Production Company: หนุมานภาพยนตร์ Hanuman Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับ Producer and Director: รัตน์ เปสตันยี R.D. Pestonji

บทภาพยนตร์ Screenplay: รัตน์ เปสตันยี และรอย ฤทธิรณ R.D. Pestonji and Roy Ritthiron

กำกับศิลป์ Art Director: สวัสดิ์ แก่สำราญ Sawat Kaesamran

บันทึกเสียง Sound: ปง อัศวินิกุล Pong Asavinikul

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: สันติ์ เปสตันยี Santi Pestonji

นักแสดง Cast: สมบัติ เมทะนี, เมตตา รุ่งรัตน์, เสน่ห์ โกมารชุน และปรียา รุ่งเรือง Sombat Methanee, Metta Roongratana, Sanae Komarachun, and Preeya Roongruang

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


ลักษณะเฉพาะของหนังที่ รัตน์ เปสตันยี สร้างนั้น จะไม่ค่อยคำนึงถึงตลาดมากนัก มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน แต่สำหรับ น้ำตาลไม่หวาน กลับเป็นงานที่รวบรวมองค์ประกอบของหนังตลาดเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัก ตลก โป๊ และมีเพลงประกอบ แต่ในเวลาเดียวกันภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เสียดสีการเป็นตลาดได้อย่างเจ็บแสบเช่นกัน ผ่านโครงเรื่องฉบับพิมพ์นิยมของหนังไทย เมื่อเจ้าคุณเจริญเกศา เจ้าของร้านขายยาแก้ผมบาง “เกศาเจริญ” ต้องการตอบแทนบุญคุณเพื่อนรักชาวอินเดีย ที่คิดสูตรยาจนทำให้บริษัทเจริญรุ่งเรือง ด้วยการว่าจ้าง มนัส ลูกชายที่ไม่เอาไหน ให้แต่งงานกับ น้ำตาล ลูกสาวของเพื่อนรักด้วยเงิน 2 ล้านบาท โดยเจ้าคุณหวังให้เป็นผู้สืบทอดกิจการของตระกูลต่อไป


Chaokun Jaroenkesa, owner of a hair loss treatment business,  wants to pay back his debt of kindness to his Indian friend, whose formula is responsible for the company’s prosperity. Chakun Jaroenkesa hires Manas, his good-for-nothing son, to marry Namtan (Sugar), the daughter of his dear friend, and what follows is a rich mix of romance, comedy and songs. 


Sugar Is Not Sweet, R.D. Pestonji’s last film is considered a mainstream comedy, but at the same time it acutely ridicules what it is to be a mainstream film.   

-------------------------------------------------------

สมิงบ้านไร่

ประเทศไทย / พ.ศ. 2507 / ความยาว 132 นาที




ผู้ประพันธ์: ป. พิมล

บริษัทสร้าง : บูรพาศิลป์ภาพยนตร์

ผู้จัดจำหน่าย: วัชรภาพยนตร์

ผู้อำนวยการสร้าง: สำเภา ประสงค์ผล

ผู้กำกับ และผู้เขียนบท: พันคำ

ผู้ถ่ายภาพ: ประเทือง ศรีสุพรรณ

ผู้ลำดับภาพ: พร้อมสิน

ผู้กำกับศิลป์ และออกแบบเครื่องแต่งกาย: ประทิน

ผู้บันทึกเสียง: ประเสริฐ จุลเกศ

นักแสดง: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ 


โมกขศักดิ์ เป็นผู้มีอิทธิพลในตำบลบ้านไร่ และผู้จัดการโรงงานน้ำตาลที่กำลังจะทรุดตัวลง เขาจึงบังคับให้ชาวบ้านร่วมมือกันทำไร่อ้อยเพื่อส่งมาให้ยังโรงงานของตน หนึ่งในนั้นมี สมิง บ้านไร่ ชายหนุ่มที่ไม่คิดจะทำตามข้อบังคับ ทั้งยังเป็นคนที่สนิทสนมกับ นกเขียว ลูกสาวคนเดียวของโมกขศักดิ์ จึงเป็นเหตุให้เขาไม่กล้าที่จะเล่นงานสมิง เพราะกลัวว่าจะเป็นการทำร้ายหัวใจลูกสาวของตน 

----------------------------------------------------------------------------------------

เงิน เงิน เงิน Money Money Money

ประเทศไทย / พ.ศ. 2508 / ความยาว 196 นาที

Thailand / 1965 / 196 min




บริษัทสร้าง  Production Company: ละโว้ภาพยนตร์ Lawoe Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง Producer: หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา Ubol Yugala

เนื้อเรื่อง, บทภาพยนตร์, ผู้กำกับ Story, Screenplay, Director: พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ Prince Anusornmongkolgan

ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant Director: จรี อมาตยกุล Jaree Amatayakul

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: โสภณ จงเสถียร Sophon Jongsatian

บันทึกเสียง Sound: อัศวิน ฟื้นศิลป Asawin Fuensilpa และวัฒนา กีชานนท์ Wattana Keechanon 

ออกแบบฉาก Set Design: อุไร ศิริสมบัติ Urai Sirisombat

ลำดับภาพ Editor: จุรัย เกษมสุวรรณ Jurai Kasemsuwan

นักแสดง Cast: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, สุเทพ วงศ์กำแหง และอรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา Mitr Chaibuncha, Petchara Chaowarat, Sombat Methanee and Orasa Issarangkul Na Ayudhya

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


หนังเพลงอมตะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2555 เรื่องราวของ ขุนหิรัญ นายทุนเงินกู้หน้าเลือดที่ต้องผิดหวังหลังมอบหมายให้ อรรคพล หลานชายตัวดีนำสัญญาเงินกู้ไปไล่ที่คนในชุมชน แต่เขากลับเลือกเข้าข้างชาวบ้าน จนขุนหิรัญจึงยื่นข้อเสนอให้หาเงินมา 1 ล้านบาทเพื่อไถ่ที่ชุมชนให้เป็นอิสระจากหนี้เงินกู้ อรรคพลและพรรคพวกจึงเริ่มมหกรรมการหาเงินล้านที่แสนวุ่นวาย


Money Money Money features two of Thailand’s most popular stars, Mitr Chaibancha and Petchara Chaowarach, in a story of romance and class conflict. A landlord sends his young nephew to evict people in a slum, but instead he sides with the poor tenants and leads a fight against capitalist greed. 

----------------------------------------------------------------------------------------

ทรชนคนสวย Operation Revenge 

ประเทศไทย / พ.ศ. 2510 / ความยาว 140 นาที

Thailand / 1967 / 140 min




บริษัทสร้าง  Production Company: ละโว้ภาพยนตร์ Lawoe Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับ Producer and Director: หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา Ubol Yugala

บทภาพยนตร์ Screenplay: นันทวัฒน์ และพิทยา แสงโสภณ Nantawat and Pittaya Sangsophon

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: โสภณ จงเสถียร Sophon Jongsatian

บันทึกเสียง Sound: อัศวิน ฟื้นศิลป Asawin Fuensilpa

ฝ่ายศิลป์ Art: ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ Taweesak Senanarong

นักแสดง Cast: มิตร ชัยบัญชา, แมน ธีระพล และมิสจิ้นหลู Mitr Chaibuncha, Man Teerapol and Jin Lui 

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


ภาพยนตร์บู๊แอ็กชันไทย เล่าเรื่องราวของอดีตนายตำรวจหนุ่มที่ตัดสินใจออกตามล่าแก๊งค้ายาเสพติดเพียงลำพัง จนทำให้เขาได้พบกับ หลิน ลูกสาวอดีตหัวหน้าแก๊งคนก่อน ผู้เข้ามาช่วยทลายแก๊ง เพื่อล้างแค้นคนที่สังหารพ่อเธอแล้วขึ้นครองอำนาจแทน ในขณะเดียวกันยังมีนักสืบไทยจากหน่วยต้านยาเสพติด เข้ามาพัวพันกับการตามล่าล้างแค้นภายในแก๊งครั้งนี้ 


ปี พ.ศ. 2560 หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้นำฟิล์ม 35 มม. ที่เก็บอนุรักษ์ไว้อย่างดี มาทำการแปลงสัญญาณเป็นดิจิทัล โดยได้ทำความสะอาดภาพและแก้สี เพื่อให้สีของหนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเมื่อครั้งออกฉายมากที่สุด


In this classic Thai thriller Operation Revenge, an ex-cop goes rogue and sets out to hunt down a ruthless drug cartel, even though it goes against his professional conduct. Meanwhile, the beautiful daughter of the ringleader who was killed in an internal feud has returned to Thailand from Hong Kong to take revenge on her father. She teamed up with the ex-cop to pursue the crafty villain of the local opium trade, while an anti-narcotic detective sent by the government also joins the fray.


In 2017, the Film Archive digitalized the preserved 35 mm. positive print and did cleaning and color grading referring to the original release.

----------------------------------------------------------------------------------------


อีแตน E-Tan

ประเทศไทย / พ.ศ. 2511 / ความยาว 179 นาที

Thailand / 1968 / 179 min




บริษัทสร้าง  Production Company: ละโว้ภาพยนตร์ Lawoe Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง Producer: หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา Ubol Yugala

เนื้อเรื่อง, บทภาพยนตร์, ลำดับภาพ, ผู้กำกับ Story, Screenplay, Editor, Director: พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ Prince Anusornmongkolgan

บทภาพยนตร์ Screenplay: บุษบง นารถสุดา Bussabong Nartsuda

ออกแบบฉาก Set Design: ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ Taweesak Senanarong

จัดแสง Gaffer: จุรัย เกษมสุวรรณ Jurai Kasemsuwan

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: โสภณ จงเสถียร Sophon Jongsatian

บันทึกเสียง Sound: อัศวิน ฟื้นศิลป Asawin Fuensilpa และไพรัช สุทธิจันทรา Pairach Sutthichandra

นักแสดง Cast: มิตร ชัยบัญชา และอรัญญา นามวงษ์ Mitr Chaibuncha and Arunya Namwong

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


อีแตน เป็นหนังแนวนางซิน หรือซินเดอเรลลาแบบไทย ๆ ว่าด้วยเรื่องราวของ อีแตน สาวน้อยผู้อาศัยอยู่ในสลัม ชะตาชีวิตลิขิตให้เธอได้รับว่าจ้างไปเป็นหลานสาวทายาทท่านเจ้าคุณ ซึ่งเมียของท่านเจ้าคุณสมคบชู้วางแผนหวังจะฮุบมรดก แต่ที่สุดความจริงก็ต้องเปิดเผย โดยความช่วยเหลือของทนายหนุ่มหล่อผู้แสนดี


A story of romance and deception, E-Tan features Aranya Namwong as Tan, a slum girl who is hired to disguise as the nobleman’s granddaughter in a ploy by his wife to steal his money. Confusion and romance ensue when a handsome lawyer steps in to resolve the mess. 


----------------------------------------------------------------------------------------

เกาะสวาทหาดสวรรค์ Paradise Island

ประเทศไทย / พ.ศ. 2512 / ความยาว 153 นาที

Thailand / 1969 / 153 min




บริษัทสร้าง  Production Company: ละโว้ภาพยนตร์ Lawoe Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง Producer: หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา Ubol Yugala

เนื้อเรื่อง, บทภาพยนตร์, ลำดับภาพ, ผู้กำกับ Story, Screenplay, Editor, Director: พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ Prince Anusornmongkolgan

ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant Director: ศิริ ศิริจินดา Siri Sirijinda

ผู้กำกับภาพ Director of Photography: โสภณ จงเสถียร Sophon Jongsatian

บันทึกเสียง Sound: อัศวิน ฟื้นศิลป Asawin Fuensilpa และไพรัช สุทธิจันทรา Pairach Sutthichandra

ออกแบบฉาก Set Design: ลพ เหลาผา Lop Laopha

จัดแสง Gaffer: จุรัย เกษมสุวรรณ Jurai Kasemsuwan

นักแสดง Cast: สมบัติ เมทะนี และอรัญญา นามวงษ์ Sombat Methanee and Arunya Namwong

อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย Print Source: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) Film Archive (Public Organization), Thailand


สวนมะพร้าว หาดทราย และชายทะเลอันสวยงามของเกาะสมุย เมื่อ 50 ปีที่แล้ว คือฉากของการดำเนินเรื่องราวความรักสับสนระหว่างชายหนุ่มหญิงสาวจาก 2 ตระกูลคู่แค้น คลอเพลงไพเราะที่มีท่วงทำนองอ่อนหวานเข้ากับบรรยากาศทะเล สมบัติ เมทะนี และอรัญญา นามวงศ์ รับบทเป็น เผดิมพันธ์ หนุ่มเสเพล และ นภาภรณ์ สาวน้อยนักธุรกิจ 2 ทายาทของ 2 ตระกูลผู้ได้รับมอบหมายให้มาดูแลกิจการสวนมะพร้าวที่เกาะสวาท โดยแข่งพนันกันว่าใครจะทำงานดีกว่ากัน หากฝ่ายชายชนะจะได้แต่งงานกับฝ่ายหญิง หากแพ้จะต้องขายสวนให้กับฝ่ายตรงข้าม ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด เผดิมพันธ์ ก็ตกหลุมรักนภาภรณ์ ในขณะเดียวกันฝ่ายหญิงก็สับสนเพราะเริ่มมีใจให้ชายหนุ่มเสียแล้ว


The scenery of Samui Island 50 years ago is the backdrop of this musical love story between a couple from rival families. Sombat Methanee stars as Padermpan, the playboy son of a businessman from Bangkok sent to Samui to look after the family’s coconut plantation. On that sun-kissed island, he falls in love with Napaporn (Arunya Naamwong) without knowing that she’s the daughter of his father’s business rival.

----------------------------------------------------------------------------------------

ไอ้ทุย Ai Tui

ประเทศไทย / พ.ศ. 2514 / ความยาว 136 นาที

Thailand / 1971 / 136 min




ผู้ประพันธ์: แพร ชมพู Pear Chompoo

บริษัทสร้าง และผู้จัดจำหน่าย: กัญญามาลย์ภาพยนตร์ Kanyamarn Pappayon

ผู้อำนวยการสร้าง: บรรจง กัญญามาลย์ Banjong Kanyamarn

ผู้กำกับ Director: ดอกดิน กัญญามาลย์ Dokdin Kanyamarn

ผู้ถ่ายภาพ: ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล Sanit Rujiratrakul

นักแสดง Cast: สมบัติ เมทะนี,เพชรา เชาวราษฎร์ Sombat Metanee, Petchara Chaowarat

เรื่องย่อ

เรื่องราวความรักระหว่าง ทุย ลูกชายกำนันบ้านนา กับ คุณเพรียว เศรษฐีสาวผู้ให้ชาวบ้านอาศัยที่ดินทำกินโดยไม่เก็บค่าเช่า วันหนึ่งชาวบ้านได้ข่าวว่าคุณเพรียวจะมาเยี่ยมหมู่บ้านจึงจัดงานต้อนรับ แต่ระหว่างงานเลี้ยงกลับมีคนร้ายบุกเข้ามาในหมู่บ้าน ทุยจึงเป็นผู้นำชาวบ้านในการต่อสู้คุ้มครองคุณเพรียว ความรักของทั้งคู่จึงได้ก่อตัวขึ้น แต่เมื่อคุณเพรียวกลับไปยังกรุงเทพฯ เธอกลับต้องเจอกับปัญหาใหญ่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่า

----------------------------------------------------------------------------------------

LUMIÈRE! 

ฝรั่งเศส / พ.ศ. 2438 - 2559 / ความยาว 90 นาที

France / 1895 - 2016 / 90 min




บริษัทสร้าง Production Company:  Sorties d’Usine Productions, Centre National du Cinéma et de L’image Animée, Institut Lumière

ผู้กำกับ Director:  เธียรี เฟรโมซ์ Thierry Frémaux 

เรียบเรียงจากภาพยนตร์ขนาดสั้นที่ถ่ายโดย หลุยส์ ลูมิแอร์, อเล็กซานเดอร์ โพรมิโอ, กาเบรียล แวร์, ฟรานเชสโก เฟลิเคตติ, คอนสแตนต์ กิเรล, เฟลิกซ์ เมสกิช และ ชาร์ลส์ มอริสัน

A series of cinematographic short films by Louis Lumière, Alexandre Promio, Gabriel Veyre, Francesco Felicetti, Constant Girel, Félix Mesguich and Charles Moisson. 

 

ปี ค.ศ. 1895 หลุยส์และออกุสต์ ลูมิแอร์ สร้างประดิษฐกรรมที่ชื่อ “ซีเนมาโตกราฟ” และนำมาถ่ายภาพยนตร์ชุดแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก เช่น  ภาพคนเดินออกจากโรงงานลูมิแอร์, คนรดน้ำเปียกน้ำ ฯลฯ พวกเขาได้ค้นพบการจัดองค์ประกอบภาพ การเคลื่อนกล้อง หรือแม้แต่สเปเชียลเอฟเฟกต์และการรีเมก ซึ่งได้กลายเป็นการสร้างสรรค์ศิลปะภาพยนตร์ขึ้นมาไปในตัว

ท่ามกลางภาพยนตร์ของพี่น้องลูมิแอร์ กว่า 1,400 เรื่อง เธียรี เฟรโมซ์ ผู้อำนวยการเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์และสถาบันลูมิแอร์ ได้คัดสรรผลงานชิ้นเอกที่คุ้นเคยกันดี และงานที่ไม่เป็นที่รู้จักซึ่งเพิ่งได้รับการค้นพบ รวมแล้ว 114 เรื่อง นำมาบูรณะด้วยความคมชัดระดับ 4K  และเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่มรดกทางภาพยนตร์ของพี่น้องลูมิแอร์

การเดินทางเข้าสู่จักรวาลของผู้ให้กำเนิดภาพยนตร์ ผ่านการบรรยายด้วยความหลงใหลและอารมณ์ขันของเฟรโมซ์ ใน LUMIÈRE! จะพาท่านไปพบกับภาพที่ไม่อาจลืมเลือน ทิวทัศน์อันหาชมที่ไหนไม่ได้ในฝรั่งเศสและทั่วทุกมุมโลกในช่วงรุ่งอรุณแห่งยุคสมัยใหม่ นี่คือแก่นแท้ของภาพยนตร์ที่ฉายแสงสว่างให้แก่โลกแห่งการประดิษฐ์ภาพเคลื่อนไหวในยุคสมัยของเราอย่างแท้จริง 


In 1895, Louis and Auguste Lumière invented the Cinématographe and shot some of the very first films in the history of moving pictures. With their discovery of mise-en-scène, tracking shots and even special effects, they also invented the art of cinema itself. In this documentary, Thierry Frémaux, director of the Cannes Film Festival and the Institut Lumière, has selected 114 short clips, universally celebrated or previously unknown golden discoveries, to celebrate the legacy of the Lumières.   

----------------------------------------------------------------------------------------

คำสั่งคำสาป

ประเทศไทย / พ.ศ. 2494 / ความยาว 138 นาที

Thailand / 1951 / 138 min




ผู้ประพันธ์: ขุนลีลาศาสตร์สุนทร

บริษัทสร้าง Production Company: เซานด์ม๊าสเตอร์ Soundmaster

ผู้กำกับ Director: เบอร์เน็ตต์ ลามอนต์ Burnet Lamont

ผู้เขียนบท Screenplay: กุมุท จันทร์เรือง Kumut Janruang

ผู้ถ่ายภาพ Cinematographer: วสันต์ สุนทรปักษิน Wasan Soonthonpaksin

นักแสดง Cast: วสันต์ สุนทรปักษิน, สวลี ผกาพันธุ์, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, อารี โทณะวณิก, อุโฆษ จันทร์เรือง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ประหยัด ศ. นาคะนาท Wasan Soonthonpaksin, Sawalee Pakaphan, Marasri Issarangkul Na Ayuttaya, Aree Tonavanik, Ukod Janrueng, Sukhon khiwliam, Prayad S. Nakanak

เรื่องย่อ: ภาพยนตร์ที่หอภาพยนตร์เพิ่งค้นพบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา สร้างโดยทีมงานจากฮอลลีวูด แต่นำแสดงโดยนักแสดงไทยที่โด่งดังจากละครเวที ซึ่งเฟื่องฟูในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และประพันธ์เรื่องโดย กุมุท จันทร์เรือง นักเขียนบทละครเวทีคนสำคัญ เล่าเรื่องราวของกลุ่มคนหนุ่มที่มีทั้งนักสืบและนักวิชาการ ซึ่งร่วมกันสืบหาเบื้องหลังของเหตุการณ์ลึกลับ เมื่อรูปปั้นของ ดร.ทองคำ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีใจรักในประชาธิปไตยและมีผู้คนศรัทธาเป็นจำนวนมาก กลับเปล่งเสียงเชิญชวนให้ผู้คนเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ ซ้ำยังเกิดเหตุฆาตกรรมปริศนาภายในบ้าน

สันนิษฐานว่าภาพยนตร์สร้างในปี พ.ศ. 2494 แต่ได้รับการตัดต่อใหม่สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ พ.ศ. 2497 ทำให้ภาพยนตร์ที่ค้นพบมีทั้งหมด 2 ฉบับ และมีเครดิตผู้สร้างที่แตกต่างกัน


Synopsis: Recently discovered at the National Archives and Records in Maryland, “Dead Man’s Voice” is one of the oldest Thai anti-communist propaganda films made with the support of USIS. The story, written by Kumut Chanrueng, has elements of suspense, thriller, and detective story as a group of young men try to solve a murder case in a stately house of a pro-democracy scientist. 

There are two versions of the film, with different edits. 

----------------------------------------------------------------------------------------

สาย สีมา นักสู้สามัญชน

ประเทศไทย / พ.ศ. 2524 / ความยาว 99 นาที




ผู้ประพันธ์: เสนีย์ เสาวพงศ์ (จากบทประพันธ์เรื่อง ปีศาจ)

บริษัทสร้าง: พิฆเณศภาพยนตร์

ผู้อำนวยการสร้าง: เจน จำรัสศิลป์

ผู้กำกับ: หนุ่ม '22

ผู้ช่วยผู้กำกับ: ทศพร นาคธน

ผู้เขียนบท: สมาน คำพิมาน, เวทย์ บูรณะ

นักแสดง: โปรยชัย ชโลมเวียง, ศรอนงค์ นวศิลป์


ภาพยนตร์ที่สร้างจากนวนิยายเรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ซึ่งส่งผลสะเทือนอย่างรุนแรงต่อกลุ่มปัญญาชนในยุค 14 ตุลา เรื่องราวของ สาย สีมา ทนายความหนุ่มผู้เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์แห่งการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตระกูลผู้ดีของคนรักที่รังเกียจเหยียดหยามเขา เพียงเพราะเขามีพื้นเพมาจากครอบครัวชาวนา   

ฟิล์มภาพยนตร์ที่หอภาพยนตร์ได้รับมามีชื่อเรื่องในไตเติลว่า สาย สีมา นักสู้สามัญชน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลแวดล้อมบางส่วนที่ระบุว่า ภาพยนตร์ออกฉายในชื่อ ปีศาจ ด้วยเช่นกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2564


ข่าวสารที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด

ประกาศ รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสัมภา...

ตามประกาศหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นผู้ปฏิบัติงาน ของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ บัดนี้หอภาพย...

อ่านรายละเอียด

ประกาศ รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นผู้ปฏิบัติง...

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาและคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติงานของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้ตำแหน่ง...

อ่านรายละเอียด

Hommage à Chris Marker

23 ธ.ค. 64 - 23 ธ.ค. 64  กิจกรรม

Hommage à Chris Marker โปรแกรมพิเศษในเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 25 ในวาระ 100 ปี คริส มาร์กเกอร์ คนทำหนังผู้บุกเบิกหนังแนว essay filmคริส มาร์กเกอร์...

อ่านรายละเอียด