ความยาว 120 นาที
ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง
บริษัทสร้าง ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
ผู้อำนวยการสร้าง เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
ผู้ประพันธ์ วัฒน์ วรรลยางกูร
ผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง
ผู้แสดง ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, สิริยากร พุกกะเวส, สมเล็ก ศักดิกุล, ประสิทธิ์ วงษ์รักไทย, บวรฤทธิ์ ฉันทศักดา, อำพล รัตน์วงศ์, ฉัตรชัย คำนวณศักดิ์, อรรฆรัตน์ นิติพน
เรื่องราวของ แผน หนุ่มลูกทุ่งที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักร้อง แม้จะแต่งงานกับ สะเดา เป็นเรื่องเป็นราวแล้ว แผนก็ยังไม่ล้มเลิกความฝันมีเสียงวิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องเล็ก ซึ่งเป็นของขวัญวันแต่งงาน เป็นสิ่งเดียวที่สร้างความบันเทิงให้กับคู่แต่งงานข้าวใหม่ปลามัน เสียงเพลงที่ลอยออกมาจากวิทยุทรานซิสเตอร์อดทำใหแผนหลับตาฝัน เห็นตัวเองโด่งดังเป็นนักร้องชื่อดังอย่างคนอื่นเขาไม่ได้ แต่เมื่อสะเดาตั้งท้องเข้าสู่เดือนที่ 5 แผนก็ได้รับหมายเกณฑ์ไปเป็นทหาร และนี่เองชีวิตที่รุ่งโรจน์และร่วงโรยของแผนก็ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากประกวดร้องเพลงได้รางวัลรองอันดับหนึ่ง แผนจึงตัดสินใจหนีทหารเพื่อเป็นนักร้องอย่างจริงจัง แม้จะต้องเป็นเบ๊ประจำวงก็เอาแต่ความอดทนก็มาถึงขีดสุดเมื่อถูกหัวหน้าวงคุกคาม แผนพลั้งมือทำร้ายผู้จัดการจนต้องหนีไปทำงานในไร่อ้อย ดันเกิดความซวยซ้ำ ซวยซ้อนถึงขั้นติดคุกติดตะรางกว่าจะพ้นโทษและสิ่งเดียวที่แผนนึกถึงคือใบหน้าอันบริสุทธิ์ของสะเดาเมียรัก ก่อนจะลากสังขารกลับมายังรังรักอันเป็นที่พักใจสุดท้ายของคนชอกช้ำอย่างแผน มนต์รักทรานซิสเตอร์ สร้างจากนิยายชื่อเดียวกันของวัฒน์ วรรลยางกูร นำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยเป็นเอก รัตนเรืองที่หันมาเล่าเรื่องราวของชีวิตคนชนบท ที่ดูเหมือนเป็นตำนานเรื่องราวของหนุ่มสาวลูกทุ่งที่ทำงานในท้องนา และพกพาวิทยุทรานซิสเตอร์ไปบนหลังควายทุย เฝ้าฟังเพลงลูกทุ่งยอดฮิต แล้วใฝ่ฝันทิ้งนาดินไปเป็นดารานักร้องในวงดนตรีลูกทุ่ง ที่เดินสายไปตามงานวัดท้องถิ่นชนบท โดยหนังยังคงสไตล์ของเป็นเอก ที่สามารถเล่าเรื่องคนชั้นล่างของสังคมได้อย่างแนบเนียน และกลายเป็นภาพฝัน แทนอารมณให้ห้วนหาอดตี สำหรับคนอยู่ในยุค พ.ศ. นั้น ที่ยังมึนงงกับพิษเศรษฐกิจฟองสบู่แตก และหนังก็ยังคงอารมณ์ขันใน แบบตลกร้ายที่เป็นมุมมองเสียดสีสังคมไว้ ขณะเดียวกันก็เป็นอารมณ์ขันที่เข้าถึงง่ายของ คนดูทั่วไป ถึงแม้ในแง่รายได้อาจไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่มนต์รักทรานซิสเตอร์ ก็ยังได้รับรางวัลจากเวทีระดับนานาชาติ เช่นรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยม จากงานเทศกาลภาพยนตร์เอเชียแปซิฟิค ฟิล์ม เฟสติวัลและรางวัล Asain trade winds จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ซีแอตเทิล, Reader Jury of the Standard จากภาพยนตร์นานาชาติเวียนนา สำหรับในประเทศหนังได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และ และรางวัลภาพยนตร์ไทยจากชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงชาย-หญิงยอดเยี่ยม นับเป็นการการันตีคุณภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ได้เป็นอย่างดี