ความยาว 165.17 นาที
สื่อดิจิทัล / สี / เสียง
บริษัทสร้างป๊อป พิคเจอร์
ผู้อำนวยการสร้าง อาทิตย์ อัสสรัตน์
ผู้กำกับ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์
ผู้เขียนบท นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์
ผู้กำกับภาพ ไพรัช คุ้มวัน
ผู้ลำดับภาพ ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
ผู้ออกแบบงานสร้าง ราสิเกติ์ สุขกาล
ผู้กำกับศิลป์ มานพ แจ้งสว่าง
ผู้ทำดนตรีประกอบ โสมสิริ แสงแก้ว
ผู้บันทึกเสียง สราวุธ พันถา, ชูศักดิ์ นาไชยเวศน์
ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ภีม อุมารี
ผู้แสดง พัชชา พูนพิริยะ, ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย, วสุพล เกรียงประภากิจ, อุดมพร หงษ์ลัดดาพร, รสริน อนันต์ชนะชัย, ธนภพ ลีรัตนขจร, อวัช รัตนปิณฑะ, วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย, นริศรา ธนปรีชากุล, กมล สุโกศล แคลปป์, กฤษดา สุโกศล แคลปป์, ปราบดา หยุ่น, ปิยะมาศ หมื่นประเสริฐดี, คงเดช จาตุรันต์รัศมี, อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร, เกณิกา พลนิกร, ศาลวัต บุญศรี, นัดดา ศรีทองดี, ภีม อุมารี, นนทัช พรหมศรี, พิมพกา โตวิระ, บุญส่ง นาคภู่, โสฬส สุขุม, ขจรศักดิ์ มังอนุ, เซบาสเตียน คราทเซอร์, ธัญ เปลวเทียนยิ่งทวี, ศิวโรจน์ คงสกุล, อิทธิศักดิ์ ตรีสง่า, ธนพล พงษ์พรหม, ชลิดา เอื้อบำรุงจิต, ชั้น ทองอร่าม, พิชย จรัสบุญประชา, กริช ลิมวิเศษ, นนทัช พรหมศรี, บดีภัทท์ อัศวมานะศักดิ์
รางวัล รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 23 ประจำปี พ.ศ. 2556 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พัชชา พูนพิริยะ, ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย, ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ไพรัช คุ้มวัน, ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต, รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2556 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พัชชา พูนพิริยะ, ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ราสิเกติ์ สุขกาล, รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2556 ผู้กำกับยอดเยี่ยม นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ราสิเกติ์ สุขกาล, รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2556 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พัชชา พูนพิริยะ, ผู้กำกับยอดเยี่ยม นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, Special Mention award - Buenos Aires International Independent Film Festival 2014, Young Talent award - Filmfest Hamburg 2014
นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ เป็นผู้กำกับหนังอิสระที่เป็นที่กล่าวขวัญในแง่การใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับแฟนหนังของตัวเองตั้งแต่สมัยที่ทำหนังสั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ไวรัลหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นวิธีการที่นวพลใช้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหนังและสร้างกลุ่มแฟนหนังที่ติดตามเขาอย่างต่อเนื่อง
Mary is Happy, Mary is Happy เป็นผลงานเรื่องยาวเรื่องที่สองของนวพล เป็หนังที่ทดลองใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียมาเป็นวัตถุดิบในการเล่าเรื่อง เขาใช้ข้อควาทวีตเตอร์ของแอคเคาท์หนึ่งที่ใช้ชื่อว่า แมรี่ มาโลนี่ @marylony จำนวน 410 ทวีตโดยไม่ข้ามหรือตัดออกไปซักทวีตเดียวมาเป็นเส้นเรื่อง ถือว่าเป็นการท้าทายในการเขียนบทเล่าเรื่องอย่างมาก หนังเรื่องนี้ทำให้คนดูได้เข้าใจถึงวิถีคิด ความคิดแบบกระแสสำนึกของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ใกล้เรียนจบและพยายามจะทำหนังสือรุ่นรวมของชั้นเรียน ให้เป็นความทรงจำแก่เพื่อนทุกคน หนังได้พาเราไปสำรวจห้วงความคิดของตัวละครที่ชื่อ แมรี่ ผ่านบทความที่เธอทวีตขึ้นทีละประโยค เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอันแสนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดาที่ว่านั่น เป็นสิ่งที่วัยรุ่นทุกคนล้วนเคยประสบมาแล้วทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตอย่างตรงไปตรงมาและเล่าออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ หนังไม่ได้เล่าเพียงแค่เอาถ้อยคำผ่านทวิตเตอร์ของเธอมาร้อยเรียงกันเท่านั้น แต่เป็นการจินตนาการถึงเรื่องราวที่ทำให้เกิดถ้อยคำเหล่านั้น มีการใช้วลี ที่เป็นมุกเฉพาะทางและเฉพาะสมัยเป็นอย่างมาก นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้เราเข้าใจวิถีชีวิตของยุคสมัยนี้ และมีความผูกพันของกลุ่มคนที่ใช้ทวิตเตอร์นี้เป็นสื่อเครื่องมือในการสื่อสารเช่นกัน
ภาพยนตร์เรื่อง Mary is Happy, Mary is Happy นั้นเป็นภาพยนตร์ที่ปลุกกระแสหนังนอกกระแสของวัยรุ่น ทำให้เกิดปรากฏการณ์คนชมกันแน่นขนัด โรงหนังนอกกระแสอย่างเฮ้าส์ อาร์ซีเอ หรือลิโด้นั้นมีคนต่อแถวซื้อตั๋วดูหนังกันยาวเหยียด นับได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ของวงการหนังนอกกระแสชาวไทย หรือที่เรียกว่า หนังอินดี้ เป็นอย่างมาก และเป็นบทพิสูจน์ว่า ยุคสมัยที่คนเราติดต่อสื่อสารผ่านข้อความบนโลกไซเบอร์ มากกว่าการพบเจอกันด้วยตัวบุคคลจริงๆ ที่ในบางครั้งการใช้ถ้อยความลอยๆ ก็สามารถสื่อสารอารมณ์และความรู้สึกออกมาได้มากกว่าคำอธิบายนับร้อยนับพัน ซึ่งหนังเรื่องนี้ได้ขยายถ้อยคำที่ว่าผ่านภาษาที่เรียกว่าภาพยนตร์ได้อย่างสวยงาม และที่สำคัญ อานุภาพของสื่อโซเชียลมีเดียสามารถดึงคนดูกลุ่มที่คนคิดว่าจะไม่ดูหนังโรงอีกต่อไปให้ออกมาจากโลกเสมือนสู่โลกแห่งความจริงได้