ภาพการเดินทางโดยเรือข้ามสมุทรของคณะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางเข้ามาสยามในปี 2481 เพื่อถ่ายทำงานคล้องช้างในประเทศไทย ซึ่งจัดโดยหน่วยทหารราบ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี มีการถ่ายทำภาพยนตร์บนเรือกันในระหว่างการเดินทาง เพื่อให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่โดยสารมากับเรือ โดยเส้นทางการเดินเรือนั้นจะเดินทางเข้ามาทางอ่าวไทยและเข้าสู่ไทยตรงบริเวณปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเดินเรือขึ้นมาตามเส้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา กระทั่งเรือเดินทางมาถึงยังสองฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คณะถ่ายทำจึงแวะเยี่ยมชมพระราชวังและวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รวมถึงการถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำของชาวบางกอก ภาพวิถีชีวิตและค่านิยมของหญิงไทยในสมัยนั้น ภาพพ่อค้าแม่ค้าในตลาดและร้านรวงต่าง ๆ ตามถนนหนทางในบางกอก ภาพสะพานพระพุทธยอดฟ้าและอนุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ภาพพระบรมมหาราชวังเริ่มตั้งแต่บริเวณประตูพิมานไชยศรีไล่ไปจนถึงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และบริเวณโดยทั่วไปของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อด้วยการเดินทางไปถ่ายบริเวณเสาชิงช้า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และการถ่ายทำภาพการเดินขบวนของกองทหารสยามไปตามถนนราชดำเนิน มองเห็นพระที่นั่งอนันตสมาคมและพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 จากนั้นจึงเป็นภาพของศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งมีใบปิดภาพยนตร์เรื่องหวานใจนายเรือติดอยู่ ก่อนที่หนังจะแทรกภาพเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งบริเวณโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ในฉากที่ จำรัส สุวคนธ์ แสดงร่วมกับ จุรี รัตนหัตถ์ รวมถึงภาพเบื้องหลังการพูดคุยกันหลังถ่ายหนังเสร็จระหว่าง จำรัส สุวคนธ์ จุรี รัตนหัตถ์ มานี สุมนนัฏและเล็ก ช. ต่อด้วยภาพของวงดนตรีไทยขณะบรรเลงเพลงโดยมีนางรำมารำฟ้อนประกอบเพลง รวมถึงการแสดงรำเมขลา – รามสูร ตรงบริเวณด้านหน้าวงดนตรี ณ วัดไทยแห่งหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมไทย จากนั้นคณะถ่ายทำจึงเดินทางไปยัง สวนงู สถานเสาวภา เพื่อพาไปชมการรีดพิษงู เสร็จจากการเยี่ยมชมที่บางกอกคณะถ่ายทำจึงเดินทางต่อไปยังจังหวัดลพบุรีเพื่อรวมงานคล้องช้าง และถ่ายภาพวิถีชีวิตของผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำ รวมถึงโบราณสถานต่าง ๆ ในจังหวัด และวิถีชีวิตของช้างรวมถึงธรรมชาติในจังหวัด จากนั้นเป็นการถ่ายทำการพาช้างจำนวนมากเข้าสู่เพนียดคล้องช้าง ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมถึงภาพงานรื่นเริงที่ถูกจัดขึ้นภายในเพนียด จนมาถึงการแสดงคล้องช้างซึ่งถือเป็นการแสดงสำคัญภายในงาน ที่คณะถ่ายทำได้ถ่ายทำภาพยนตร์ให้ออกมาในลักษณะกึ่งภาพยนตร์สารคดีกึ่งภาพยนตร์เรื่อง
คล้องช้าง
มรดกภาพยนตร์ล่าสุด
กระเบนราหู
2562
14
Birth of Seanéma
2547
14
คนกราบหมา
2540
14
บ๊าย..บาย ไทยแลนด์
2530
14
น้อยไจยา
2509
14
สามพราน
2503
14