[ ปัตตานีในอดีต ]

ความยาว 21.03 นาที

ฟิล์ม 35 มม. / ขาว-ดำ / เงียบ


ภาพยนตร์ขาวดำนิรนามที่หอภาพยนตร์ ได้รับมอบจากครอบครัวนายเนย วรรณงาม เจ้าของสายหนังและโรงหนังเฉลิมวัฒนา แห่งนครราชสีมา มีลักษณะเป็นภาพยนตร์แนะนำจังหวัดปัตตานี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2479 โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกแสดงสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด น้ำตกทรายขาว ส่วนที่สองถ่ายข้าหลวงในจวน ยังปรากฏให้เห็นบุคคลสำคัญคือ หลวงวิจิตรวาทการ และ พระยาอุดรธานี ศรีโขมสาครเขตต์ ข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี (ผู้ว่าราชการ) ในขณะนั้น และขุนเจริญวรเวชช์ หรือ นายแพทย์เจริญ สืบแสงบุคคลซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นทางการเมืองในจังหวัดปัตตานีและในระดับประเทศ และยังถ่ายภาพงานออกร้านฉลองรัฐธรรมนูญของจังหวัดปัตตานี ทำให้เห็น การละเล่นต่าง ๆ ของจังหวัด เช่น รองเง็ง มะโย่ง กีฬาพื้นเมือง คือวัวชน ภาพนางงามปัตตานี ส่วนสุดท้ายคือการบันทึกการซ้อมและแข่งขันการชกมวยไทยคู่เอกของ “สมานและสมพงษ์” (ซึ่งหอภาพยนตร์สันนิษฐานว่าเป็น สมาน ดิลกวิลาศ (สมญานาม Gentlemanหรือ สุภาพบุรุษสังเวียน) และ สมพงษ์ เวชสิทธิ์ (สมญานาม ซ้ายปรมาณู) สองยอดมวยไทยชื่อก้องในยุคนั้น) [ ปัตตานีในอดีต ] เป็นการบันทึกภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่หาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน และน่าจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้เป็นอย่างดี ยกตวั อย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์กับนายขุนเจริญวรเวชช์ โดยก่อนหน้าที่พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์จะถูกส่งจากส่วนกลางให้มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานีนั้น เขาได้เคยจับกุมคณะเผยแพร่ลัทธิคอมมวิ นิสตใ์ นจงั หวัดอดุ รธานี ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดอุดรธานีมาก่อน ส่วนขุนเจริญวรเวชช์ ซึ่งเป็นบุคคลที่จังหวัดปัตตานียกย่องให้เป็นผู้สร้างคุณงามความดีให้แก่จังหวัด ได้รับการยกย่องนับถือจากประชาชนชาวปัตตานีอย่างมากและเมื่อมีการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นอย่างสภาเทศบาล หรือระดับชาติในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ขุนเจริญวรเวชช์ ก็ได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น จนกระทั่งในปี 2495 ขุนเจริญวรเวชช์ถูกจับกุมในฐานะ “ขบถสันติภาพ” ในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกขังนานถึง 5 ปี และถูกจับในข้อหาเดียวกันนี้อีกครั้งในปี 2501 จากคณะปฏิวัติ