เนื่องในวาระที่หอภาพยนตร์เดินทางมาถึงหลักหมายแห่งปีที่ 40 ในวันที่ 7 กันยายน 2567 หอภาพยนตร์จึงได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่วันสถาปนาหอภาพยนตร์แห่งชาติ เปลี่ยนผ่านมาเป็น หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จนถึง พ.ศ. ปัจจุบัน เพื่อให้ท่านได้เห็นเส้นทางประวัติศาสตร์ของหอภาพยนตร์ในรอบ 40 ปี
ภาพ: ที่ทำการแรกเริ่มกับเจ้าหน้าที่ชุดบุกเบิกหอภาพยนตร์
2527 — 7 กันยายน กำเนิดหอภาพยนตร์ เมื่อกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้กรมศิลปากรจัดทำโครงการก่อตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ หลังการเรียกร้องอย่างจริงจังและยาวนานกว่า 3 ปีของโดม สุขวงศ์
2528 — เริ่มใช้อาคารที่ปรับปรุงมาจากอาคารพัสดุตีตรา บริเวณพื้นที่รกร้างหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า) เป็นที่ทำการหอภาพยนตร์แห่งชาติ
— เริ่มนำฟิล์มเข้าเก็บในห้องเย็นเป็นครั้งแรก
2529 — เริ่มพิมพ์สำเนาฟิล์มภาพยนตร์เป็นครั้งแรก
ภาพ: นายอมาดู เอมโบ (Amadou M’Bow) ผู้อํานวยการใหญ่ของยูเนสโก ทําพิธีวางเหรียญเงินยูเนสโก (Unesco Silver Medal) ประดับอาคารหอภาพยนตร์แห่งชาติ ณ อาคารหอภาพยนตร์แห่งชาติ
2530 — เปิดใช้โรงหนังอลังการ เพชรา เชาวราษฎร์ มาพิมพ์มือพิมพ์เท้าเป็นดาวดวงแรกบนลานดาราหน้าโรงมีคำสั่งย้ายโครงการจัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติไปสังกัดกองจดหมายเหตุแห่งชาติ ให้มีฐานะเป็นงาน
— หอภาพยนตร์แห่งชาติสมัครเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์หอภาพยนตร์นานาชาติ (FIAF)
— องค์การยูเนสโกมอบเหรียญเงินให้แก่โครงการจัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ
— เริ่มเปิดให้ประชาชนมาใช้บริการค้นคว้า
2531 — เริ่มใช้บัตรระเบียนประจำฟิล์ม
2532 — กระทรวงศึกษาธิการแถลงข่าวว่า ในอนาคตจะขยายส่วนอนุรักษ์ฟิล์มของหอภาพยนตร์แห่งชาติไปอยู่ที่ ต.ศาลายา จ.นครปฐม
2533 — รับมอบฟิล์มต้นฉบับภาพยนตร์ไทยจากแล็บภาพยนตร์ต่างประเทศ ในโครงการ “หนังไทยกลับบ้าน” รุ่นแรก
ภาพ: รับมอบฟิล์มต้นฉบับภาพยนตร์ไทยในโครงการหนังไทยกลับบ้านรุ่นแรก
2534 — รับมอบฟิล์มภาพยนตร์จากหอสมุดแห่งชาติ โดยมีฟิล์มที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงมอบให้หอสมุดฯ เก็บรักษา จากมติการประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2509 ของคณะอนุกรรมการสื่อสารมวลชนฯ ที่พระองค์ ป็นประธาน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ความคิดในการอนุรักษ์ภาพยนตร์ของชาติเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
2535 — เริ่มมีคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในหอภาพยนตร์ จากการบริจาคของบริษัทหับโห้หิ้น
2536 — เริ่มก่อสร้างอาคารเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์แห่งชาติ ต.ศาลายา
2537 — เจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์แห่งชาติไปขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิหนังไทย เพื่อจัดกิจกรรมหารายได้ให้หอภาพยนตร์
ภาพ: พบเศษฟิล์มเนกาทีฟหนังไทยเรื่องแรก “โชคสองชั้น” (2470)
2538 — โดม สุขวงศ์ ค้นพบเศษฟิล์มเนกาทีฟของหนังไทยเรื่องแรก “โชคสองชั้น” ในกรุของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ร่วมกับมูลนิธิหนังไทย จัดงาน “มหกรรมทึ่งหนังไทย”
2539 — นำภาพยนตร์ 7 เรื่องจากโครงการหนังไทยกลับบ้าน มาจัดฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง เพื่อฉลอง 100 ปี กำเนิดภาพยนตร์โลก
-เกิดอุบัติภัยไฟฟ้าลัดวงจร ไหม้สายไฟฟ้าในห้องพิมพ์ฟิล์ม เจ้าหน้าที่พบและระงับเหตุทัน
2540 — ร่วมกับมูลนิธิหนังไทย จัดงานประกวดภาพยนตร์สั้นครั้งแรก ก่อนจะกลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์สั้นในปัจจุบัน
-ทำพิธีเปิดการใช้อาคารเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์แห่งชาติ ต.ศาลายา ในชื่อ “อาคารสรรพสาตรศุภกิจ”
2541 — ขนของชิ้นสุดท้าย ย้ายหอภาพยนตร์แห่งชาติจากหอศิลป์เจ้าฟ้าไปสู่ ต.ศาลายา จ.นครปฐม
2542 — ทำพิธีตั้งศาลพระภูมิโรงหนังของหอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา
ภาพ: การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย
2543 — เริ่มตอกเสาเข็มต้นแรก ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย
2544 — เริ่มเสนอโครงการจัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติเป็นองค์การมหาชน
ภาพ: การเรียกร้องให้หอภาพยนตร์แห่งชาติ ปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร เป็น องค์การมหาชน
2545 — คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้หอภาพยนตร์แห่งชาติเป็นสมาชิกสมาคมอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (SEAPAVAA)
2546 — เปิดโรงหนังอลังการแห่งใหม่ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์แห่งชาติ เริ่มจัดฉายภาพยนตร์ทุกวันเสาร์
2556 — ชลิดา เอื้อบำรุงจิต เป็นเจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์คนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริหารสมาพันธ์หอภาพยนตร์นานาชาติ (FIAF)
ภาพ: ชาวหอภาพยนตร์ในสถานที่ก่อสร้างอาคารบุรฉัตรเมื่อปี 2556
2557 — จัดเทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย ครั้งที่ 1
— จัดทำภาพยนตรานุกรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2470-2499) หนังสือที่รวบรวมข้อมูลภาพยนตร์ไทยเรียงตามลำดับปีเล่มแรก
2558 รถโรงหนังเฉลิมทัศน์ เริ่มเดินทางออกฉายภาพยนตร์ไปตามพื้นที่ที่ห่างไกลโรงภาพยนตร์
— เปิดห้องเย็นวายุภักษ์ ห้องเก็บฟิล์มภาพยนตร์ในอาคารบุรฉัตรไชยากร อาคารคลังแรกรับและอนุรักษ์ภาพยนตร์แห่งใหม่
— จัดงานมายาราตรี ครั้งที่ 1 ให้ประชาชนมาเที่ยวเมืองมายายามค่ำคืน
ภาพ: รถโรงหนังเฉลิมทัศน์ออกเดินทางจัดฉายครั้งแรก
2559 — สันติ-วีณา (2497) ภาพยนตร์เรื่องสำคัญที่หอภาพยนตร์ดำเนินการตามหาและบูรณะจนสำเร็จ เป็นหนังไทย
-เรื่องแรกที่ได้รับคัดเลือกเข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ในสาย Cannes Classics
2560 — จัดกิจกรรม “ทึ่ง! หนังโลก” ครั้งแรก โดยนำหนังคลาสสิกจากทั่วโลกมาฉายทุกเดือนที่โรงภาพยนตร์สกาลา เป็นโปรแกรมต่อยอดจากกิจกรรม “เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรภาพยนตร์” เมื่อปี 2559
2561 — ติดตั้งห้องแล็บปฏิบัติการฟิล์มภาพยนตร์สี 35 มม.
— หอภาพยนตร์เป็นเจ้าภาพจัดพิธีมอบรางวัล FIAF Award ของสมาพันธ์หอภาพยนตร์นานาชาติ ให้แก่ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้
ภาพ: ห้องแล็บปฏิบัติการฟิล์มภาพยนตร์สี 35 มม.
2562 — เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้องทำงานชั่วคราวของหอภาพยนตร์
2563 — เปิดใช้งานอาคารสรรพสาตรศุภกิจ ด้วยกิจกรรมลานดารา เพชรา เชาวราษฎร์
— เผชิญวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ร่วมกับทั่วโลก ทำให้ต้องปิดทำการเป็นระยะนับตั้งแต่เดือนมีนาคม
— แพรดำ ผลงานที่บูรณะด้วยเครื่องมือและบุคลากรของหอ-ภาพยนตร์เองเป็นเรื่องแรก ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์สาย Cannes Classics
— หอภาพยนตร์ร่วมจัดกิจกรรม La Scala อำลาโรงภาพยนตร์
— สกาลา โรงหนังสแตนด์อโลนแห่งสุดท้ายในกรุงเทพฯ
2564 — เปิด “นิทรรศการภาพค้างติดตา” นิทรรศการสำหรับเด็กและเยาวชนได้มาเรียนรู้เรื่องราวการกำเนิดภาพยนตร์
— เน้นดำเนินการเผยแพร่ภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เนื่องจากภาวะโรคระบาดโควิด-19 เช่น นิทรรศการเสมือน Google Arts & Culture หรือ YouTube จนมียอดผู้ชมออนไลน์ในช่องหอภาพยนตร์มากกว่า 7 ล้านครั้ง และเปิดพื้นที่ทำการให้เข้าชมเป็นปกติได้อีกครั้งในเดือนตุลาคม
ภาพ: กิจกรรม Master Class ทิลดา สวินตัน
2565 — ร่วมกับ Kick the Machine Films และ Common Move จัดฉาย Memoria ภาพยนตร์เรื่องแรกของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ถ่ายทำนอกประเทศไทย และจัดกิจกรรม Master Class ของ อภิชาติพงศ์, ทิลดา สวินตัน นักแสดงนำ และ ดิอานา บุสตามานเต โปรดิวเซอร์ชาวโคลอมเบีย
— ร่วมกับสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย จัดกิจกรรม “กรุงเทพ กลางแปลง” ปีแรก
— เปิด หอประวัติ หอภาพยนตร์ ที่จัดทำในอาคารปฏิบัติการล้าง-พิมพ์ฟิล์มชั่วคราว อาคารที่เก่าที่สุดของหอภาพยนตร์บนที่ดินศาลายาที่เหลืออยู่
2566 — ร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และเมืองพัทยา จัดเทศกาล Pattaya Film Festival ครั้งที่ 1
2567 เป็นเจ้าภาพงานประชุมใหญ่สมาพันธ์หอภาพยนตร์นานาชาติ FIAF Congress 2024 เป็นครั้งแรก
— ร่วมจัดงาน The Flaherty Film Seminar ครั้งที่ 69 ของสถาบัน The Flaherty นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย
ภาพ: จัดงาน The Flaherty Film Seminar ครั้งที่ 69 ของสถาบัน The Flaherty ที่หอภาพยนตร์