ย้อนกลับไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2525 ขณะที่ โดม สุขวงศ์ ในวัย 31 ปี กำลังต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้เกิดหน่วยงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ขึ้นในประเทศไทย เขาได้รับคำแนะนำจากบาทหลวงแอมบรอส ไอเคนเบอร์เกอร์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ผู้เป็นประธานองค์การคาทอลิกนานาชาติเพื่อภาพยนตร์ ซึ่งได้เคยพบปะกันที่เมืองไทยมาก่อนหน้านั้น ให้เขียนสิ่งที่ต้องการจะทำเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภาพยนตร์ เพื่อที่เขาจะนำไปหาการสนับสนุนจากต่างประเทศมาให้
โดมได้ลงมือเขียนปณิธานอันแรงกล้าของเขาเป็นภาษาไทยสำหรับแปลเป็นภาษาอังกฤษออกมากลายเป็นจดหมาย 3 หน้ากระดาษ และได้ “พ่ออมล” บาทหลวงชาวอินเดียในเมืองไทยที่เขาคุ้นเคยเป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นเพื่อนกับบาทหลวงแอมบรอส ช่วยเหลือในการแปล ก่อนที่บาทหลวงแอมบรอส จะนำไปจดหมายฉบับภษาอังกฤษนี้ส่งต่อให้ คอสเม อัลเวส เนตโต ผู้อำนวยการภาพยนตร์สถานของบราซิล ซึ่งคลุกคลีอยู่ในแวดวงการอนุรักษ์ภาพยนตร์นานาชาติ เมื่อเนตโตได้อ่านและเห็นถึงความมุมานะของ โดม สุขวงศ์ เขาจึงรีบส่งต่อและแนะนำให้ แอนนา เลนา วิบุม ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์สวีเดน ที่กำลังเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมใหญ่ประจำปีของสมาพันธ์หอภาพยนตร์ระหว่างประเทศในปี 2526 ได้รู้จัก และทำให้แอนนาตัดสินใจโทรเลขหา โดม สุขวงศ์ เพื่อเชิญให้มาร่วมสังเกตการณ์และรับการอบรมพื้นฐานการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในงานประชุมดังกล่าว แม้จะยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ สังกัดอยู่เลยก็ตาม
การได้เข้าร่วมงานประชุมใหญ่สมาพันธ์หอภาพยนตร์ระหว่างประเทศอย่างไม่คาดฝันของ โดม สุขวงศ์ ในครั้งนั้น ไม่เพียงแต่เขาจะกลายเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการอบรมการอนุรักษ์ภาพยนตร์อย่างเป็นรูปธรรม และทำให้เขาเองได้เห็นระบบการทำงานของหอภาพยนตร์ระดับมาตรฐานโลกเป็นครั้งแรก หากโดมยังได้มีโอกาสสืบหาฟิล์มภาพยนตร์การเสด็จประพาสสวีเดนของ ร. 5 ที่น่าจะอยู่ในหอภาพยนตร์สวีเดน ก่อนที่แอนนาจะแจ้งข่าวการค้นพบฟิล์มชุดนี้ในปลายปีดังกล่าว และจัดทำสำเนาส่งมอบให้ประเทศไทยในปีต่อมา ซึ่งทำให้กระแสการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในเมืองไทยตื่นตัวเป็นอย่างมาก และส่งผลสำคัญให้หอภาพยนตร์ได้รับการก่อตั้งขึ้นสำเร็จในปี 2527 นี้เอง
จดหมายหน้ากระดาษฉบับนี้ของ โดม สุขวงศ์ จึงเป็นเสมือน ใบเบิกทางให้เขาได้ท่องเข้าไปสู่โลกแห่งการอนุรักษ์ภาพยนตร์ระดับนานาชาติอย่างเต็มตัว และเป็นหมุดหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อการถือกำเนิดขึ้นของหอภาพยนตร์ในเมืองไทย
----------------
ความหวังของงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทยอยู่ที่ไหน ?
โดม สุขวงศ์
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อ 85 ปีมาแล้ว เมื่อ S.G. Marchovsky นําภาพยนตร์บางม้วนของ Lumière เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรก เมื่อ 10 มิถุนายน 1897 ต่อมาอีกสามปีจากนั้น จึงมีการถ่ายทําภาพยนตร์ม้วนแรกขึ้นในประเทศไทย โดยน้องชายของพระเจ้าแผ่นดินรามาที่ 5 และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยได้เริ่มต้นขึ้นในปีที่ 28 ของศตวรรษนี้
สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการผลิตภาพยนตร์ประเภทต่าง ๆ ขึ้นในประเทศไทยมาแล้วเป็นจํานวน ฟิล์มยาวนับเป็นแสนกิโลเมตร เฉพาะภาพยนตร์เรื่อง ได้ผลิตขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 เรื่อง
แต่แทบไม่น่าเชื่อว่า ไม่เคยมีการเก็บรักษาเพื่ออนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์เหล่านี้แม้แต่เพียงเซ็นติเมตรเดียวเพื่อเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมภาพยนตร์แก่ลูกหลานร่วมชาติและมนุษย์ร่วมโลกเลย
เป็นที่เข้าใจได้ว่า กว่าครึ่งหนึ่งของภาพยนตร์ต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้น หรือที่ถูกนําเข้ามาใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ได้สูญไปจากโลกนี้แล้ว และส่วนที่เหลือรอดอยู่เกือบจะทั้งหมด ก็ต้องถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่อยู่ในบัญชีสาบสูญ ไม่มีใครรู้ว่า ฟิล์มเหล่านี้ถูกทอดทิ้งกระจัดกระจายรอความตายอยู่ ณ ที่ใดบ้าง
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยมี film archive เกิดขึ้นเลยในประเทศไทย และแม้ว่าในปี 1952 ได้มีการจัดตั้ง National Archives ซึ่งบทบัญญัติข้อหนึ่งของกฎหมายที่จัดตั้งสถาบันนี้ ได้กําหนดไว้ชัดเจนว่า National Archives มีหน้าที่ในการเก็บรักษาภาพยนตร์ที่มีคุณค่าเป็นเอกสารสําคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ แต่ในทางปฏิบัติ ไม่เคยมีการเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ใด ๆ แม้เพียงม้วนเดียวโดย National Archives เลย
ในปี 1980 ด้วยความสนใจในภาพยนตร์อย่างเป็นชีวิตจิตใจโดยส่วนตัว ผมได้เริ่มอุทิศเวลาทั้งหมดในแต่ละวัน ทํางานค้นคว้าเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์ในประเทศไทย และหลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งปี ผมสามารถจัดทําบัญชีรายชื่อภาพยนตร์ทุกชนิดที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย หรือ ที่ถูกผลิตขึ้นโดยคนไทย ระหว่างปี 1897 - 1945 โดยผมถือว่าบัญชีรายชื่อภาพยนตร์เหล่านี้ เป็นภาพยนตร์ที่สาบสูญซึ่งผมจะต้องค้นหาให้พบในเวลาต่อไป
ปี 1981 ผมเริ่มต้นออกติดตามสืบหาฟิล์มภาพยนตร์ตามบัญชีนั้น และในเดือนกรกฎาคมนั้น ผมได้ค้นพบฟิล์มเนกาติฟต้นฉบับของภาพยนตร์ประเภทข่าวและสารคดี จํานวนราว 50,000 ฟิต ถูกทิ้งเป็นเศษขยะอยู่ในอาคารเก่าแก่หลังหนึ่ง ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ฟิล์มเหล่านี้เป็นผลผลิตของ State Railway Topical Film Service ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นเสมือน ศูนย์ผลิตภาพยนตร์แห่งชาติ ในประเทศไทย ระหว่างปี 1922 - 1945 ผมพบว่าเกือบทั้งหมดของฟิล์มเก่าแก่เหล่านี้ เป็นต้นฉบับเนกาติฟ 35 มม. ดําขาว และที่สําคัญคือเป็น nitrate film และพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของฟิล์มเหล่านี้ได้เสื่อมสภาพจนไม่อาจช่วยชีวิตไว้ได้แล้ว
ด้วยความหวังอย่างเต็มที่ว่า จะต้องช่วยชีวิตฟิล์มที่ยังมีโอกาสรอดชีวิตได้กว่าครึ่งหนึ่งของฟิล์มทั้งหมดที่พบ ผมจึงติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ National Archives และผลักดันให้พวกเขาติดต่อ ขอรับฟิล์มเหล่านั้นทั้งหมดจาก State Railway ไปเก็บรักษาไว้ที่ National Archives เพื่ออนุรักษ์ ฟิล์มเหล่านั้นโดยด่วน
แต่แทนที่ฟิล์มเหล่านั้นจะได้รับการอนุรักษ์ ผมกลับพบว่าเจ้าหน้าที่ของ National Archives ได้ กระทําสิ่งซึ่งเป็นการทําลายล้างผลงานของภาพยนตร์เหล่านี้ลง ด้วยความไม่เข้าใจในงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ เพราะไม่เคยแม้แต่คิดที่จะทํางานด้านนี้มาก่อน และบางทีอาจจะเป็นด้วยความไม่มีจิตใจรักและนับถือในคุณค่าของงานภาพยนตร์อยู่เลย แต่เหนืออื่นใดก็คือ ด้วยความคิดในทางที่จะคอรับชั่นซึ่งดูเหมือนจะจับแน่นอยู่ในระบบราชการไทย
ในที่สุด หลังจากต่อสู้คัดค้านโดยทุกวิถีทาง ผมไม่สามารถยุติมิให้พวกเขา พิมพ์ถ่ายทอดฟิล์มไนเตรท ต้นฉบับเนกาติฟ 35 มม. ดำขาว ที่ผมเป็นผู้ค้นพบ ออกมาด้วยฟิล์มโปสิติฟสี 16 มม. โดยพวกเขาคิดง่าย ๆ ว่าจะเก็บฟิล์มที่ถูกพิมพ์ถ่ายทอดออกมานี้ เอาไว้ใช้งาน และทําลายฟิล์มไนเตรทต้นฉบับทิ้งไป
เหตุการณ์นั้น เป็นบทเรียนที่สอนให้ผมรู้สํานึกว่า สําหรับงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศนี้ ต่อไปนี้ จะต้องกระทําด้วยมือของผู้ที่รักและอุทิศตนโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ นอกจากเพื่อการอนุรักษ์ภาพยนตร์ให้ได้ผลอย่างไว้วางใจได้ นั่นหมายถึงว่า ต่อไปนี้ผมไม่อาจจะไว้วางใจใครได้อีกนอกจากตัวผมเอง
เมื่อต้นปี 1982 ผมจึงจัดตั้ง “The Thai Film Group” โดยรวบรวมมิตรสหายที่สนใจและเข้าใจ ในภาระของงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ได้จํานวนหนึ่ง ช่วยกันทํางานเป็นโครงการที่เรียกชื่อว่า “The Lost Film Search"
เวลานี้ โครงการของเราได้ค้นพบและได้รับมอบฟิล์มภาพยนตร์เก่าอีกจํานวนหนึ่ง ซึ่งมีอายุระหว่าง 1926 - 1935 ส่วนใหญ่เป็นฟิล์ม 16 มม. และเคยเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินรามาที่ 7 มีความยาวของฟิล์มรวมกันถึงราว 100,000 ฟิต
ปัญหาใหญ่ยิ่งในการทํางานของเราก็คือ โครงการของเรายังไม่มีเงินทุนสนับสนุนจากแหล่งใดเลย และประการต่อไปก็คือ ประเทศไทยขาดความรู้ความชํานาญและเครื่องไม้เครื่องมือใด ๆ ในการอนุรักษ์ภาพยนตร์
ผมมีเป้าหมาย ที่จะดําเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง "The Thai Film Foundation” เพื่อทำงานในในบทบาททํานองเดียวกับ BFI หรือ AFI หรือสถาบันทํานองเดียวกันนี้ในประเทศอื่น ๆ อย่างไรก็ดี งานจําเป็นรีบด่วนและเฉพาะหน้าในระยะสองสามปีแรก ๆ นี้ ก็คือการช่วยชีวิตและอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถูกค้นพบ และค่อย ๆ จัดระบบเก็บสะสมเพื่อจัดตั้งเป็น film archive สําหรับบริการสาธารณต่อไป
เราปรารถนาที่จะได้รับการสนับสนุนในทุกด้าน โดยเฉพาะเงินกองทุน เพื่อดําเนินงานในระยะบุกเบิกเริ่มต้น โดยมั่นใจว่า ในระยะยาวต่อไปข้างหน้า ผลงานที่เราบุกเบิกและจัดตั้ง จะเป็นเงื่อนไขให้รัฐบาลยอมรับถึงความจําเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อภารกิจที่รัฐจะต้องเป็นผู้อุปถัมภ์งานอนุรักษ์และเก็บสั่งสมผลงานภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นดอกผลทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ.
----------------
จดหมายฉบับภาษาอังกฤษ ฉบับแปลโดย “พ่ออมล” บาทหลวง Antony Amalanathan
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2525 ที่บ้านเซเวียร์
Is there hope to preserve Thai film heritage for posterity?
By Dome Sukvong
The film history of Thailand started 85 years ago when S.G. Marchovsky brought some reels of 'Lumiere' (France) films and showed them in Bangkok on June 10, 1897. The first film made in Thailand was done in 1900 by the younger brother of King Rama V. The year 1927 marked the start of the feature film industry in Thailand.
From them till now more than 100,000 km of film has been produced in Thailand and 3,000 feature films made.
But what is surprising is, there has never been an attempt to preserve some of these old film-footage - not even a centimetre - as part of Thai heritage, both for Thailand and for the people of the world.
We can almost be sure that more than half the footage of these films made in Thailand or brought into Thailand, are lost forever, while the other half of the footage are scattered in unknown go-downs or in other goods repositories along with termites and rats.
All this time there was no film archives in Thailand. In the year 1952, The National Archives of Thailand was established. One of the bylaws of the National Archives is the mandate to preserve film footage that are of importance to Thai Nation and culture. But in practice the National Archives never even attempted to care for the preservation of films.
In the year 1980, because of the great interest I have in the preservation of Thai film as part of Thai heritage, I started to work full-time, in order to do only this: to gather all the data and available evidence connected with Thai films, and then to look of these old footage. In one year I gathered enough data about most of the films made in Thailand or made by a Thai, between the year 1897 and 1945. Basing on this data, I started to look for the films themselves as far to the past as I can go.
In 1981, when this search started, during the month of July, I came across 50,000 feet of film footage made by the State Railways of Thailand between the year 1922 to 1945, kept in a very old go-down belonging to the railways. The originals were all Black and White negatives made of nitrate film. At least half of the footage may not be in a condition to be salvaged.
Hoping to salvage somehow the other half, I contacted the officials of the National Archives and asked them to approach the State Railways in order to transfer the films to the National Archives so that they can be salvaged and preserved.
But instead of receiving the proper attention and care that they deserve the films were abused by the officials of the Archives. This could have been because the officials concerned did not know at all how to preserve the films, which is not surprising since they have never done this work before, or because they did not care for or give importance to such preservation of old films. Added to it corruption and red-tapism prevalent in Thai officialdom started to finish off the films from where nature left them.
After fighting a losing battle with officialdom, I decided not to give any more of the old footage that I have been discovering after, to the National Archives. What they did was to transfer the 35 mm black and white negative nitrate footage to 16 mm color footage in an ordinary lab that did not have any knowhow or facility to handle old films. The result is the original 35 mm black and white negative has been badly scratched in the process. Moreover the national archives plans to burn the original and preserve only the 16 mm. copy!
This incident was an educative process for me and convinced me that there has to be a group of people who love the value of the old films in a true way to be in charge of such old footage. They not have any other motivation except the preservation of these old films for Thai and world heritage. For some more time to come I have decided to do it myself.
But a start has been made. The year 1982 saw the start of “The Thai film group", a group of people with the above mentioned motivation gathered by me to start the hunt: "The lost film search".
We have found another batch of footage done between 1926 and 1935 mostly in 16 mm black and white and 100,000 ft. long, which had been the property of King Rama VII.
Our biggest problem is money! We do not have any source to support and encourage us. Again Thailand being new to this field, does not have the know-how or equipment or even a proper building in order to preserve these footages.
I have planned to start a foundation called, "The Thai Film Foundation", with similar aims like those of BFI, AFI and similar institutions in other countries. The work is urgent. The first step is to somehow salvage the footage of these films found, and slowly aim toward starting of a Film Archives to be at the service of the public.
We need support and encouragement in every way especially money in order to make a start. We hope that, after seeing the preliminary results and due to pressure from more and more enlightened people the Thai government will be compelled to take an interest and active part in such a venture, since it is the duty of the government to preserve such evidence of Thai history and culture, both for Thailand and World.
----------------