เทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย ครั้งที่ 7

“เทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย (The Silent Film Festival in Thailand)” จะกลับมาสร้างความรื่นรมย์ด้วยหนังเงียบคลาสสิกจากหลากหลายชาติ ประกอบการเล่นดนตรีสด หลังจากห่างหายไปนานกว่า 3 ปี โดยเทศกาลจะมีขึ้นใน วันที่ 2 - 4 มิถุนายน 2566 ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 

“เทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย” ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 โดยจะมีหนังเงียบหลากหลายสไตล์และเนื้อหา ทั้งหนังที่เข้มข้นเหมาะกับแฟนหนังเงียบ และหนังสำหรับเด็กและครอบครัว เพื่อเปิดโลกแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เงียบให้คนดูรุ่นใหม่ 

ภาพยนตร์เรื่องพิเศษสำหรับเทศกาลในปีนี้คือ Foolish Wives (1922) หนังเงียบเรื่องสำคัญของผู้กำกับ เอริค ฟอน สตรอไฮม์ (Erich von Stroheim) ที่เพิ่งได้รับการบูรณะใหม่อย่างสมบูรณ์และจะมาขึ้นจอใหญ่ของหอภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้ Foolish Wives เคยจัดฉายในเทศกาลมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2561 แต่เป็นฉบับที่ยังไม่ได้บูรณะและสั้นกว่าเกือบ 50 นาที ซึ่งต่างจากฉบับนี้ที่จะจัดฉายในปีนี้ 

หนังเงียบเรื่องสำคัญอีกเรื่องในงานนี้ได้แก่ เช่น The Kid (1921) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ ชาร์ลี แชปลิน ดาวตลกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและศิลปินเอกด้านการแสดงผู้สามารถผสมผสานความอ่อนไหวเข้ากับความโศกเศร้า นี่จะเป็นครั้งแรกที่เทศกาลหนังเงียบจะนำหนังของแชปลินมาฉาย 

โดย The Kid จะฉายในโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน ส่วนโปรแกรมรอบบ่ายสำหรับผู้ชมวัยเด็กในวันเสาร์ที่ 3 ได้แก่ Peter Pan (1924) หนังดังสุดสนุกสนานที่นำวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกสำหรับเด็กเรื่องแรกมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เต็มไปด้วยการผจญภัยและบทเรียนของการเติบโต 

นอกจากนี้ยังมี Beethoven (1927) ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเนื่องในวาระ 100 ปีการเสียชีวิตของ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน คีตกวีชาวเยอรมัน The Organist at St. Vitus' Cathedral (1929) หนังเงียบจากประเทศเช็ก ว่าด้วยนักออร์แกนวัยชราที่ตกเป็นพยานการฆ่าตัวตายของชายนิรนาม  Fragment of an Empire (1929) หนังโซเวียตหาดูยากเรื่องสำคัญ เรื่องราวของชายหนุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเกณฑ์ไปรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 จนความจำเสื่อม และที่พลาดไม่ได้เช่นกันคือ The Brilliant Biograph: Earliest Moving Images of Europe (1897-1902) ผลงานที่ Eye Filmmuseum เนเธอร์แลนด์ และ British Film Institute ประเทศอังกฤษ นำฟุตเทจภาพจากยุคแรกที่มีการถ่ายภาพยนตร์มาบูรณะและร้อยเรียงกันใหม่เมื่อ พ.ศ. 2563 

สำหรับนักดนตรีประจำเทศกาลปีนี้ เป็นนักเปียโนชาวดัตช์ทั้งสองคน คนแรกคือ Maud Nelissen ผู้ได้รับการยอมรับอย่างสูงในแวดวงนักดนตรีประกอบหนังเงียบโลกและมีผลงานการแสดงในเทศกาลภาพยนตร์สำคัญหลายแห่ง รวมถึงเคยร่วมแสดงในเทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย มาแล้วถึง 2 ครั้ง อีกคนคือ Daan van den Hurk นักดนตรีประกอบหนังเงียบรุ่นใหม่ ผู้มีผลงานแสดงประจำอยู่ที่ Eye Filmmuseum ประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมถึงเคยแสดงในเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีไทยรับเชิญ คือ ธารตะวัน เครืออ่อน ศิลปินอิสระรุ่นใหม่ ผู้เคยร่วมอบรมดนตรีประกอบหนังเงียบของเทศกาลฯ และปัจจุบันเป็นนักดนตรี นักประพันธ์และนักสร้างสรรค์งานสื่อผสม ที่มีผลงานอย่างต่อเนื่อง


กำหนดการ

ศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 / Friday 2 June 2023

17.00  The Organist at St. Vitus' Cathedral (Czechoslovakia / 1929 / 81 min) * 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2016

19.00  The Brilliant Biograph: Earliest Moving Images of Europe (1897-1902) (2020 / 52 min) ** 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2017

เสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 / Saturday 3 June 2023

13.00  Peter Pan  (USA / 1924 / 121 min) ** 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2018

15.30  Beethoven (Austria / 1927 / 70 min) *** 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2019

17.00  Foolish Wives (USA / 1922 / 147 min) * 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2020

อาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2566 / Sunday 4 June 2023

13.00  The Kid (USA / 1921 / 68 min) * 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2021

15.30  Fragment of an Empire (USSR / 1929 / 109 min) ** 
สำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2022

* Accompanied by บรรเลงดนตรีประกอบโดย Maud Nelissen
** Accompanied by บรรเลงดนตรีประกอบโดย Daan van den Hurk
*** Accompanied by บรรเลงดนตรีประกอบโดย ธารตะวัน เครืออ่อน Taratawan Krue-On

เรื่องย่อ


The Kid 

USA / 1921 / 68 min

Director: Charlie Chaplin
Cast: Charlie Chaplin, Edna Purviance, Carl Miller, Jackie Coogan, Tom Wilson, Charles F. Riesner, Lillita MacMurray
Cinematographer: Roland Totheroh
Screenplay: Charlie Chaplin
Production Company: Charlie Chaplin Film Company/First National Exhibitors’ Circuit
Print Source: Roy Export S.A.S.

THE KID Copyright © Roy Export S.A.S.
Music for THE KID Copyright © Roy Export Company Ltd. and Bourne Co.
Composed by Charles Chaplin. Arrangement Maud Nelissen. 




ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของดาวตลกผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ชาร์ลี แชปลิน ที่จับคู่แสดงร่วมกับ แจ็กกี คูแกน ได้อย่างน่าประทับใจ เรื่องราวของชายพเนจรที่บังเอิญพบทารกชายถูกทิ้งไว้ข้างถนน และตัดสินใจเก็บมาเลี้ยงไว้จนโต 

ด้วยวิธีการนำเสนอที่ชาญฉลาดและแปลกใหม่ ผสมผสานระหว่างการเป็นหนังเรียกน้ำตาและหนังตลกชวนหัว เต็มไปด้วยฉากน่าจดจำมากมาย ดังที่ปรากฏในคำบรรยายต้นเรื่องว่า “ผลงานที่จะทำให้ผู้ชมหัวเราะร่า น้ำตาริน” The Kid ประสบความสำเร็จทันทีในปีที่ออกฉาย และปัจจุบันยังคงได้รับการเชิดชูว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ชิ้นเอกของโลก

The Little Tramp rescues an orphan from the streets and raises him as his own. Chaplin and Jackie Coogan make a miraculous pair in this clever and innovative marriage of sentiment and slapstick, a story of pancakes, fistfights, and dodging social services and policemen – as the opening title card says, “a picture with a smile - and perhaps a tear.” An instant success in 1921, The Kid remains a masterwork of cinema.

*******************************

Foolish Wives

USA / 1922 / 147 min

Director: Erich von Stroheim
Cast: Erich von Stroheim, Miss DuPont, Maude George
Cinematographer: William H. Daniels, Ben F. Reynolds
Screenplay: Erich von Stroheim
Production Company: Universal
Print Source: San Francisco Silent Film Festival



ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้ทุนสร้างสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลงานการกำกับและนำแสดงของ เอริค ฟอน สตรอไฮม์ บุคคลสำคัญในตำนานของโลกภาพยนตร์ เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ เมืองมอนติคาร์โล ประเทศโมนาโก เมื่อกลุ่มชายหนุ่มนักต้มตุ๋นปลอมตัวเป็นเชื้อพระวงศ์แห่งรัสเซีย เพื่อล่อลวงบรรดาเศรษฐินีและปอกลอกทรัพย์สมบัติของพวกเธอ ท่ามกลางบรรยากาศของความหรูหราและเสื่อมทรามของยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยการถ่ายทำทั้งหมดใช้ฉากในแคลิฟอร์เนีย

Foolish Wives ฉบับที่จัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย ครั้งนี้ เพิ่งได้รับการบูรณะใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2563 จากความร่วมมือกันของสองหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาคือ Museum of Modern Art (MoMA) และ San Francisco Silent Film Festival  ซึ่งได้นำฟิล์ม 2 ฉบับที่ยังหลงเหลืออยู่มาเป็นต้นธารในการบูรณภาพ ได้แก่ ฟิล์มไนเตรตฉบับย้อมสี ที่มีคำบรรยายเป็นภาษาอิตาเลียน จาก Cineteca Italiana of Milan และฟิล์มขาวดำที่อนุรักษ์ไว้ที่ MoMA ซึ่งเป็นฉบับที่บริษัทยูนิเวอร์แซล นำมาตัดต่อใหม่ ทำไตเติลใหม่ ในปี พ.ศ. 2471 เพื่อเตรียมปรับปรุงเป็นฉบับหนังเสียง แต่ไม่พบว่าได้ออกฉายจริง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเทียบเคียงจากเอกสารต่าง ๆ ที่ค้นพบ ทั้งบทภาพยนตร์ โน้ตเปียโนประกอบภาพยนตร์ (Score) รวมทั้งมีการทำคำบรรยายเรื่อง (Intertitles) และย้อมสีขึ้นใหม่ โดยอ้างอิงจากภาพยนตร์เงียบของบริษัทยูนิเวอร์แซลเรื่องอื่น ๆ ในยุคนั้น

ปี พ.ศ. 2466 เมื่อ ต่วน ยาวะประภาษ บรรณาธิการนิตยสารรายสัปดาห์ “ภาพยนตร์สยาม” นิตยสารภาพยนตร์ฉบับแรกของไทย ได้รับชม Foolish Wives กับหนังเงียบอีกเรื่องชื่อ Human Heart ที่โรงหนังพัฒนากร เขาได้เขียนยกย่องถึงภาพยนตร์สองเรื่องนี้ว่า “ความสำเร็จแห่งการทำภาพสองเรื่องนี้ เปนความสำเร็จอย่างขนานใหญ่ เสมอด้วยไชยที่พระพุทธเจ้าของเราได้มีแก่หมู่มาร”


Rightfully proclaimed the ‘first million-dollar movie’ to come out of Hollywood, this masterpiece was directed by and starred Erich von Stroheim. A trio of Russian con artists take a luxurious villa above Monte Carlo to prey on wealthy vacationers in this European playground of postwar decadence. Stroheim stars as the fraudulent Count Karazmin, who targets moneyed women to blackmail them with the help of “cousins” Mae Busch and Maud George. The opulent sets—with the California coast standing in for Monaco—shine in this glorious restoration by MoMA and SFSFF in 2020.

No single complete copy of the release version of Erich von Stroheim’s film survives. What does survive are a tinted-and-toned 35mm nitrate print with Italian intertitles from Cineteca Italiana of Milan and, from New York’s Museum of Modern Art, a 35mm black-and-white print of an unreleased re-edited and re-titled version created in 1928 by Universal for a never-realized sound release. Available documentation was invaluable in the reconstruction of the film, and it included the script for an eight-reel version and, from the Library of Congress, a copy of Sigmund Romberg’s piano score, whose musical cues helped reconstruct the film’s sequencing and title content. To reproduce the tinting and toning the team relied on the coloring conventions of Universal films of the period. For the spectacular hand-colored effects the team used contemporary reviews and a trade press article written by the original colorist Gustav Brock.

After seeing the double bill of Foolish Wives and Human Heart in 1923, Tuan Yawaprapas, the editor of the first Thai film magazine, Papayon Siam, proclaimed that the success of these two films are “as significant as Buddha’s triumph over evil.”

*******************************

The Brilliant Biograph: Earliest Moving Images of Europe (1897-1902) 

2020 / 52 min

Production Company: EYE Filmmuseum, BFI National Archive
Print Source: EYE Filmmuseum



กรุภาพยนตร์ของบริษัท The Mutoscope and Biograph คือกรุที่เก่าแก่ที่สุดที่อยู่ในการอนุรักษ์ของ EYE Filmmuseum ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยฟิล์มจำนวนรวมกันกว่า 200 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายทำที่ยุโรป ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2440 - 2445 ถือเป็นคลังภาพยนตร์จากบริษัท The Mutoscope and Biograph ที่มีจำนวนมากที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลก

ภาพยนตร์ทุกเรื่องถ่ายทำด้วยกล้องมูโตกราฟ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว คือการใช้ฟิล์มขนาดกว้าง 68 มม. ซึ่งให้ภาพที่มีความละเอียดสูงเป็นพิเศษ อันเปรียบเสมือนแคปซูลกาลเวลาภายในความยาวเรื่องละ 1 นาที ที่บรรจุอดีตเมื่อ 120 ปีก่อนเอาไว้อย่างสมบูรณ์และคมชัดที่สุดเท่าที่สื่อภาพยนตร์จะบันทึกได้ 


หนังแต่ละม้วน สะท้อนให้เห็นถึงสารัตถะของภาพเคลื่อนไหวในห้วงเวลาแรกเริ่ม ทั้งภาพบันทึกเหตุการณ์สำคัญ สถานที่ และบุคคลที่มีชื่อเสียง ตลอดจนช่วงเวลาที่น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเต้นรำ เล่นกีฬา ไปจนถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้และพายุ

โครงการบูรณะภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ European Tribute to Film Heritage ของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งคัดสรรฟิล์มภาพยนตร์จำนวน 50 เรื่อง ที่อยู่ในคลังอนุรักษ์ของ EYE Filmmuseum และ BFI มาสแกนและแปลงสัญญาณเป็นดิจิทัล ด้วยคุณภาพสูงสุดระดับ 8K

The Mutoscope and Biograph Collection is the oldest film collection held at EYE Filmmuseum. It includes over 200 films, most of which were made in Europe between 1897 and 1902. This constitutes the largest existing collection of Mutoscope and Biograph films surviving in the world.

These films are all photographed with the unique large-format 68mm Mutograph camera, which provided extraordinarily high-resolution images. These one-minute time capsules from 120 years ago still convey some of the richest and sharpest images that film can achieve.

The films reflect the essence of early cinema: capturing the first-ever moving images of important events, famous locations and personalities, as well as spectacular moments such as dance and sports performances, or even natural phenomena like fire or storm, that only work when seen in motion.

EYE Filmmuseum appreciates the funding from the European Commission’s “European Tribute to Film Heritage” program, which allowed digitizing 50 selected films from the EYE and BFI collections, in high quality (8K).

*******************************

Beethoven
(Das Leben des Beethoven) 

Austria / 1927 / 70 min

Director: Hans Otto Löwenstein 
Cast: Fritz Kortner, Lilian Gray, Heinz Altringen
Cinematographer: Viktor Gluck
Screenplay: Emil Kolberg
Production Company: Allianz-Film
Print Source: Filmarchiv Austria


ภาพยนตร์เงียบที่สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบหนึ่งร้อยปีการเสียชีวิตของ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน บอกเล่าถึงช่วงเวลาสำคัญของคีตกวีชาวเยอรมัน ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นถึงชีวิต ผ่านการประพันธ์ผลงานชิ้นเอกต่าง ๆ ทั้ง Symphony No. 2, Eroica and 5th Symphonies, Fidelio และ Missa solemnis นำแสดงโดยดาราออสเตรียผู้ยิ่งใหญ่ ฟริตซ์ คอร์ตเนอร์

นี่คือผลงานเรื่องแรก ๆ ที่นำชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ถ่ายทำขึ้นในปี พ.ศ. 2469 ที่่โรงถ่าย Listo Film กรุงเวียนนา ออกฉายรอบปฐมทัศน์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 สื่อร่วมสมัยออสเตรียระบุว่า ความพิเศษของหนังเรื่องนี้ คือถ่ายทำ ณ พระราชวังเชิร์นบรุนน์ ฉากหลังจริงของเหตุการณ์ในเรื่อง

ภาพยนตร์ฉบับนี้บูรณะโดยหอภาพยนตร์ออสเตรีย จากฟิล์มสำเนาสำหรับจัดฉายที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นฉบับที่สั้นกว่าฉบับดั้งเดิมสิบนาที และเป็นฉบับเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ฟิล์มต้นฉบับที่สูญหายซึ่งมีบทบรรยายว่า สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี การจากไปของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลนั้น มีความยาวทั้งสิ้น 80 นาที โดยมีฉากเพิ่มเติม คือช่วงเวลาที่เบโธเฟนประพันธ์ผลงานที่สำคัญในชีวิตอย่าง Symphony No. 5 และ Symphony No. 9

With the great character actor Fritz Kortner (1892-1970) in the title role, the film traces the most important stages in the life of Ludwig van Beethoven and links his life with his great works such as the 2nd Symphony, Eroica, 5th and 9th Symphonies, Fidelio and Missa Solemnis. The film was produced on the occasion of the 100th anniversary of the composer's death (March 23, 1927) and is a fine example of early media exploitation of popular artist biographies. It was made in the summer of 1926 in the Listo Film Studios in Vienna-Schönbrunn and had its cinema premiere on 18 February 1927. The contemporary Austrian press noted as a special quality that the film was made on original locations, which can only mean Schönbrunn Palace.

The restored version comes from the Filmarchiv Austria and is the French export version. This French version, shortened by 10 minutes, is the only surviving version of the film. The lost original version with the subtitle 'In commemoration of the 100th anniversary of the death of the singer of eternity' had a length of 80 minutes and went into more detail about the works of the major creative phase (5th and 9th symphonies).

*******************************

Peter Pan 

USA / 1924 / 121 min

Director: Herbert Brenon
Cast: George Ali, Esther Ralston, Cyril Chadwick, Mary Brian, Jack Murphy, Philippe De Lacey, Virginia Brown Faire, Anna May Wong, Betty Bronson, Ernest Torrence
Cinematographer: James Wong Howe 
Screenplay: Willis Goldbeck
Production Company: Famous Players-Lasky Corporation
Print Source: George Eastman Museum



จากบทละครเวทีและนิยายสุดคลาสสิกของ เจ เอ็ม แบร์รี ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเหนือจินตนาการของช่วงเวลาในวัยเด็กได้อย่างลึกซึ้ง สู่ผลงานภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเรื่องหนึ่งในช่วงทศวรรษ 1920 ว่าด้วยเรื่องราวของ ปีเตอร์ แพน เด็กชายผู้ไม่ยอมโต ที่หว่านล้อมชักชวน เวนดี ดาร์ลิง และน้อง ๆ ของเธอ ให้ออกเดินทางพร้อมกับเขาไปยังดินแดนมหัศจรรย์นามว่าเนเวอร์แลนด์ ระหว่างทางพวกเขาพบกับนางฟ้าทิงเกอร์เบลล์ ต้องช่วยเหลือเหล่าเด็กชายผู้หลงทางจากกัปตันฮุกและสมุนผู้ชั่วร้าย พิชิตจระเข้ยักษ์กินคน และเผชิญหน้ากับชนเผ่าอินเดียนแดง

Ingeniously capturing the mysteries and wonder of childhood, J.M. Barrie’s timeless play became one of the most popular films of the 1920s. Betty Bronson stars as Peter Pan, the boy who never grew up, who charms Wendy (Mary Brian) and her brothers (Philippe De Lacy, Jack Murphy) to fly with him to Never Never land. On this island of dreams and magic, they rescue the Lost Boys from Captain Hook (Ernest Torrence) and his band of pirates, encountering along the way the delightful fairy Tinker Bell (Virginia Browne Faire), a man-eating crocodile, and a band of natives (led by Anna May Wong).

*******************************

The Organist at St. Vitus' Cathedral
(Varhaník u sv. Víta)

Czechoslovakia / 1929 / 81 min

Director: Martin Frič
Cast: Karel Hasler, Oscar Marion, Suzanne Marwille
Cinematographer: Jaroslav Blazek
Screenplay: Vítezslav Nezval
Production Company: Vladimir Stránský
Print Source: Národní filmový archiv (NFA)



หนึ่งในภาพยนตร์เงียบเรื่องสำคัญจากยุโรปตะวันออก ผลงานการกำกับของ มาร์ติน ฟริช คนทำหนังระดับตำนานของเชโกสโลวาเกีย และเขียนบทโดย วิเตซสลาฟ เนซวาล กวีหัวก้าวหน้าชาวเช็กผู้โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เล่าเรื่องราวของ นักออร์แกนวัยชรา ที่จับพลัดจับผลูไปเห็นการฆ่าตัวตายของชายนิรนามคนหนึ่ง ซึ่งก่อนจะเสียชีวิต ได้ยื่นซองกระดาษที่มีเงินจำนวนหนึ่งให้แก่นักออร์แกน โดยเป็นเงินที่เขาตั้งใจจะมอบให้ลูกสาวที่อาศัยอยู่ในคอนแวนต์ แต่นักออร์แกนกลับตัดสินใจไม่แจ้งตำรวจ และนำศพไปซุกซ่อนที่ห้องใต้ดิน โดยไม่ทันสังเกตว่า เขากำลังถูกเพ่งเล็งโดยช่างขัดรองเท้าเพื่อนบ้าน ซึ่งต่อมาขู่จะแจ้งตำรวจว่าสาเหตุการเสียชีวิตของชายนิรนามคนนั้น เกิดจากการฆาตกรรมของนักออร์แกน


An old organist involuntarily becomes a witness to a suicide of an unknown man. Before he dies he gives a packet with money in it for his daughter who is living in a convent. The organist does not report this case to the authorities but, instead, hides the body in the cellar. He does not know, however, that his actions are being observed by his spineless neighbour, a shoe-polisher who later blackmails him threatening to tell the authorities that he had committed a murder.

One of the most important silent films to come out of Eastern Europe in the 1920s, the film was directed by Martin Fric, from the scenario by poet Vitezslav Nezval and Vaclav Wasserman.

*******************************

Fragment of an Empire
(Oblomok imperii)

USSR / 1929 / 109 min
Director: Fridrikh Ermler
Cast: Fiodor Nikitin, Yakov Gudkin, Liudmila Semionova, Valerii Solovtsov
Cinematographer: Gleb Bushtuyev, Yevgeni Shneider
Screenplay: Fridrikh Ermler, Ekaterina Vinogradskaya
Production Company: Sovkino
Print Source: EYE Filmmuseum




ผลงานภาพยนตร์เงียบลำดับสุดท้ายของ ฟรีดริกห์ เอร์มเลอร์ ที่ เดนิส เจ ยังบลัด นักวิชาการด้านภาพยนตร์รัสเซีย ยกย่องว่าเป็น “ภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุดในยุคหนังเงียบของโซเวียต แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างและได้รับการประเมินคุณค่าต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ” เจย์ เลย์ดา นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และคนทำหนังทดลองชาวอเมริกัน ยังกล่าวถึง Fragment of an Empire ว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์แนวสัจนิยมที่ผู้กำกับนำเสนอโดยไม่ประดิดประดอยใด ๆ และเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาราวกับว่านี่คือนิทานด้วยการใช้เทคนิคที่ทำให้นึกถึงผลงานของ เซอร์ไก ไอเซนสไตน์ และ อเล็กซานเดอร์ ดอฟเชนโก

Fragment of an Empire เล่าเรื่องราวของ ฟิลิโมนอฟ ชายหนุ่มผู้ถูกเกณฑ์เป็นทหารประจำกองทัพของพระเจ้าซาร์ เพื่อร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาฟิลิโมนอฟเกิดความจำเสื่อม อันเป็นผลกระทบจากภาวะความรุนแรงของสงคราม ไม่กี่ปีหลังจากนั้น อาการของเขาค่อย ๆ กลับมาดีขึ้น จนทำให้เขาพบความจริงอันน่าปวดร้าว ว่าประเทศของเขาเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าตกใจจากการปฏิวัติบอลเชวิก ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2460

ภาพยนตร์เรื่องนี้บูรณะจากฟิล์มปรินต์ 35 มม. ที่อยู่ในการอนุรักษ์ของ EYE Filmmuseum เป็นหลัก พร้อมด้วยฟิล์มปรินต์ไนเตรต 35 มม. ที่จัดเก็บที่ Swiss Cinémathèque สำหรับคำบรรยายภาษารัสเซียต้นฉบับในองก์ที่ 2 - 6 และบางฉากที่หายไป ในขณะที่คำบรรยายภาษารัสเซียที่ไม่มีในฉบับของ Swiss Cinémathèque ได้จัดทำขึ้นใหม่ โดยอ้างอิงจากบันทึกการทำงานของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ของรัสเซีย พร้อมกับระบุสัญลักษณ์ปีที่ทำสำเนา “2018” ไว้ที่มุมล่างฝั่งขวามือ 

การบูรณะภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ EYE Filmmuseum, Gosfilmofond of Russia และ The San Francisco Silent Film Festival โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ริก แอนเดอร์เซน และ จอห์นกับซูซาน ซินนอตต์ ทั้งนี้ โครงการบูรณะภาพยนตร์จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากความมานะอุตสาหะ ความพิถีพิถัน และความเชี่ยวชาญจากนักอนุรักษ์ภาพยนตร์ ปีเตอร์ แบกรอฟ

Fragment of an Empire, Ermler’s last silent feature, which Denise J. Youngblood considers “the most important film in Soviet silent cinema” is little known and woefully under-appreciated today. That paragon of Soviet film scholarship Jay Leyda called it “a model of realism, presented without any sophistication, almost as if Ermler were telling a parable, though its technique recalls both Eisenstein and Dovzhenko.”

The story concerns a young man, Filimonov, drafted into the tsar’s army during World War I, who becomes a total amnesiac due to shell shock. He begins to regain his memory a few years later and is at pains to understand what happened as his country has been thoroughly transformed by the Bolshevik Revolution of October 1917. 

Based primarily on a 35mm print held at EYE Filmmuseum in Amsterdam, this restoration of Fragment of an Empire is supplemented with a 35mm nitrate print from the Swiss Cinémathèque, which provided the original Russian intertitles for Acts 2–6 as well as a small number of shots missing from the primary source. Titles absent from the Swiss print have been reproduced based on Russian censor records and are identified with the notation “2018” in the lower right corner. A partnership between EYE Filmmuseum, Gosfilmofond of Russia, and the San Francisco Silent Film Festival, the restoration also received funding from Rick Andersen and John and Susan Sinnott. It would not have been possible without the perseverance and meticulous scholarship of archivist Peter Bagrov.

*******************************

ประวัตินักดนตรี

Maud Nelissen



เมาด์ เนลิสเซน เรียนเปียโนกับ เฮอร์มัน อูล์ฮอร์น ที่ Utrecht Superior School of Music โดยสำเร็จการศึกษาระดับเกียรตินิยม ต่อมา เธอได้มีความสนใจและเชี่ยวชาญในการแสดงดนตรีประกอบภาพยนตร์เงียบ ละมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากการแสดงดนตรีเดี่ยว เมาด์ยังประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์เงียบสำหรับวงออร์เคสตรา และวงดนตรีอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

เธอได้ก่อตั้งวงดนตรีประกอบภาพยนตร์เงียบโดยเฉพาะ ชื่อว่า “The Sprockets” ซึ่งมากด้วยด้วยฝีมือและความกระตือรือร้น จนทำให้ประสบความสำเร็จในวงกว้าง ในการร่วมงานกับวง The Sprockets เมาด์ได้บันทึกเพลงประกอบภาพยนตร์ชุดเรื่อง Animators Survival Kit logo ผลงานการสร้างสรรค์ของ ริชาร์ด วิลเลียมส์ แอนิเมเตอร์ผู้ว้ารางวัลออสการ์จำนวนมาก

นอกจากวง The Sprockets เมาด์ยังได้ร่วมงานกับวงดนตรีและวงออร์เคสตราชั้นนำ อาทิ The Vienna Chamber Orchestra ประเทศออสเตรีย Orchestra del Teatro Comunale di Bologna ประเทศอิตาลี และ Cello8ctetAmsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเธอได้แสดงดนตรีประกอบภาพยนตร์เงียบครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ใน Telluride Film Festival เมืองโคโลราโด เมื่อ พ.ศ. 2551 และประเดิมการแสดงดนตรีที่ฮอลลีวูด ใน Turner Classic Movies Film Festival เมื่อ พ.ศ. 2554
ในช่วงที่ผ่านมา เมาด์ได้ร่วมแสดงดนตรีประกอบภาพยนตร์เงียบในงานต่าง ๆ ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ The Concertgebouw Amsterdam, Muziekgebouw aan IJ, Tivoli Vredenburg Utrecht, Rotterdam Film Festival, Nederlands Film Festival, Eye Filminstituut และตระเวนไปแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ Berlin Film Festival, Schauspielhaus Frankfurt และ Komische Oper Berlin ที่เยอรมนี, Theater an der Wien ที่ออสเตรีย, Pordenone Film Festival และ Bologna Film Festival ที่อิตาลี, Filmpodium Zürich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, Musée d’Orsay ที่ฝรั่งเศส, Midnight Sun Film Festival ที่ฟินแลนด์, Telluride Film Festival USA, TCM Film Festival Hollywood ที่สหรัฐอเมริกา, Hong Kong Film Archive ที่ฮ่องกง รวมทั้งเทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย

Maud Nelissen studied piano with Herman Uhlhorn at the Utrecht Superior School of Music, graduating with honours. Since then her speciality and passion has become “live” accompaniment of classic silent films – a field in which her work has earned an international reputation. Apart from performing solo, Maud writes and orchestrates silent film accompaniments for orchestra and various ensembles. 

She has also founded her own ensemble for silent film accompaniment, “The Sprockets”, whose enthusiasm and virtuosity have brought them continued success with the public. With the Sprockets, Maud recorded the soundtrack for the Animators Survival Kit logo, created by the multi-Oscar-winning animator Richard Williams.

Apart from the Sprockets, Maud has collaborated with various other ensembles and orchestras including the Vienna Chamber Orchestra, Orchestra del Teatro Comunale di Bologna and the Cello8ctetAmsterdam. She made her American début in 2008 at the Telluride Film Festival in Colorado and in 2011 she made her Hollywood début at the Turner Classic Movies Film Festival.

In recent years Maud has performed with various silent film events at the Concertgebouw Amsterdam, Muziekgebouw aan IJ, Tivoli Vredenburg Utrecht,Rotterdam Film Festival, Nederlands Film Festival, Eye Filminstituut, Berlin Film Festival, Schauspielhaus Frankfurt , Komische Oper Berlijn, Theater an der Wien, Vienna , Pordenone Film Festival, Bologna Film Festival, Filmpodium Zürich, Musée d’Orsay Parijs, Midnight Sun Film Festival Finland, Telluride Film Festival USA, TCM Film Festival Hollywood USA, Hongkong Filmarchive, including Silent Film Festival in Thailand.

*******************************

Daan van den Hurk



ดาน ฟาน เดน เฮิร์ก (เกิดปี พ.ศ. 2530) จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาดนตรี เขาเป็นนักเปียโนและนักประพันธ์ที่เชี่ยวชาญการบรรเลงดนตรีประกอบภาพยนตร์เงียบ ผู้ศึกษาวิชาเปียโนแจ๊ส เปียโนคลาสสิก และการประพันธ์เพลง โดยได้รับเกรดเฉลี่ย ระดับเกียรตินิยม ณ สถาบันสอนดนตรี HKU Utrecht 

เขาเริ่มต้นเส้นทางการทำงานในแวดวงหนังเงียบ ด้วยการเป็นผู้บรรยายการอบรมที่เทศกาลภาพยนตร์เงียบ Pordenone Silent Film Festival ประเทศอิตาลี และเป็นหนึ่งในนักดนตรีประจำเทศกาลแห่งนี้ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน เขาพร้อมกับเพื่อนนักดนตรีคนอื่น ๆ ยังเคยเดินทางไปแสดงที่เทศกาลต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่งทั่วโลก อาทิ Bristol Slapstick Festival ประเทศอังกฤษ, Il Cinema Retrovato ประเทศอิตาลี, Bonn Silent Film Festival ประเทศเยอรมนี, Istanbul Silent Film Days ประเทศตุรกี และ Locarno Film Festival ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ

นอกเหนือจากนี้ เขายังเป็นผู้แต่งดนตรีออร์เคสตราประกอบภาพยนตร์หลายชิ้น หนึ่งในนั้นคือดนตรีสำหรับภาพยนตร์เงียบเรื่อง The Brilliant Biograph (2565) และผลงานชิ้นล่าสุดของเขาจะจัดแสดงเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ประเทศอิตาลี

ในปี พ.ศ. 2560 เขาเป็นผู้ก่อตั้งเทศกาลภาพยนตร์เงียบ Nederlands Silent Film Festival ประเทศเนเธอร์แลนด์ เทศกาลประจำปีระดับชาติที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและเผยให้เห็นความรุ่มรวยในหลากหลายแง่มุมของหนังเงียบ ปัจจุบัน ดาน ฟาน เดน เฮิร์ก เป็นอาจารย์สอนวิชาทฤษฎีดนตรี วิชาเปียโน วิชาการบรรเลงดนตรีแบบด้นสด วิชาดนตรีประกอบภาพยนตร์และการประพันธ์ ณ สถาบันสอนดนตรี HKU Utrecht

Daan van den Hurk MMUS (1987) is a pianist and composer, specialized in silent film accompaniment. He studied jazz piano, classical piano and composition at the HKU Utrecht Conservatory where he graduated cum laude. His career in silent film accompaniment started off at the masterclasses of the Pordenone Silent Film Festival, where he is now one of the regular musicians. As a film accompanist he travels around the world and has performed among others at Bristol Slapstick Festival, Il Cinema Retrovato, Bonn Silent Film Festival, Istanbul Silent Film Days and Locarno Film Festival. He has also composed several (orchestral) scores, among which the music for THE BRILLIANT BIOGRAPH (2022). His newest orchestral score will premier in Octobre 2023 in Italy. In 2017 he founded the Nederlands Silent Film Festival, an annual national festival celebrating all the aspects that silent film is rich. Daan teaches musical theory, piano, improvisation, film music and composition at the HKU Utrecht Conservatory.

*******************************

ธารตะวัน เครืออ่อน
TARATAWAN KRUE-ON 



ธารตะวัน เครืออ่อน เป็นนักดนตรี นักประพันธ์และนักสร้างสรรค์งานสื่อผสม (Audio-Visual) สัญชาติไทย ที่หลงใหลในความงามของกาลเวลา-สถานที่-และความทรงจำโดยผ่านมุมมองของนักสร้างสรรค์ที่ทำงานผ่านเสียงและภาพ

เธอเป็นผู้สร้างสรรค์งานผ่านสื่อผสม นักทำดนตรีประกอบ และนักดนตรี สัญชาติไทยที่เริ่มต้นเส้นทางการสร้างสรรค์ในวัย 13 ปี ผ่านการเรียบเรียงบทเพลงให้กับหนังสารคดีชนะเลิศรางวัลดุ๊ก จากเทศกาลภาพยนตร์สั้น เรื่อง เงา อดีตจากป่า คนแปลกหน้าที่ขุนยวม และภาพยนตร์ศิลปะเรื่อง มโนราห์กับเพื่อนแท้ของงูเห่า ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในคอลเลคชันของ Singapore Art Museum

ต่อมา ธารตะวันได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปกับนักดนตรีประกอบภาพยนตร์เงียบ มิเอะ ยะนะชิตะ จากประเทศญี่ปุ่น และ นีล แบรนด์ จากสหราชอาณาจักร ที่หอภาพยนตร์จัดขึ้น และได้แสดงดนตรีสดประกอบภาพยนตร์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของหอภาพยนตร์ รวมถึงเทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย 

ในปี 2562 ธารตะวันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ในสาขาดนตรีคลาสสิก เครื่องเอกเปียโน ในปี 2564 ธารตะวันได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านดนตรีที่ Goldsmiths, University of London ในสาขา Creative Practice เพื่อศึกษาเพิ่มเติมในด้านการสร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อเสียงและทัศนศิลป์ 

ปัจจุบันธารตะวันยังคงทำงานสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบ Audio-Visual , Soundpiece, Electro-Acoustic piece, การประพันธ์บทเพลงประกอบภาพยนตร์, และสร้างสรรค์ผลงานดนตรีของตัวเองในฐานะศิลปินอิสระอย่างต่อเนื่อง
Taratawan Krue-On is a Bangkok based Thai Audio-Visual artist/composer and performer who is fascinated by the relation of Time-Space-and Memories through the lens of sound and visual maker.

She is a multimedia artist/composer/performer from Thailand who started her career at the age of 13 by composing and arranging soundtracks for the Duke Award Best Documentary Film winner 'Shadow : Saga from the jungle, stranger at Khun Yuam' from Thai short film and video festival and an art film in the Singapore Art Museum’s Collection by Sakarin Krue-On, 'Manorah and the best friends of the snake’.

She participated in Thai Film Archive’s workshops conducted by silent film accompanists Mie Yanashita from Japan and Neil Brand from the United Kingdom.She became a piano accompanist for film screening events organized by Thai Film Archive including the silent film festival in Thailand.

In 2019, Taratawan graduated from Princess Galyani Vadhana Institute of Music (PGVIM) as a classically-trained pianist. In 2021, She later graduated from MMus Creative Practice in the music department of Goldsmiths, University of London, United Kingdom, where she explored further into music and moving image as her medium. 

Present, Taratawan is based in Bangkok and continues her career and creativity through Audio-Visual, Soundpiece, Electro-Acoustic piece, film composition, and is active with her musical creations as an individual artist.

*******************************

ข่าวสารที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด

ประกาศ รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นผู้ปฏิบัติง...

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาและคัดเลือกเป็นผู้ปฏิบัติงานของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้ตำแหน่ง...

อ่านรายละเอียด

Hommage à Chris Marker

23 ธ.ค. 64 - 23 ธ.ค. 64  กิจกรรม

Hommage à Chris Marker โปรแกรมพิเศษในเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 25 ในวาระ 100 ปี คริส มาร์กเกอร์ คนทำหนังผู้บุกเบิกหนังแนว essay filmคริส มาร์กเกอร์...

อ่านรายละเอียด

วันหนังบ้านครั้งที่ 13 (ฉบับออนไลน์)

16 ต.ค. 64 - 16 ต.ค. 64  กิจกรรม

พบกับความอบอุ่นประทับใจจากหนังบ้านในวันวานของหลากหลายครอบครัว ใน Home Movie Day Thailand 2021 หรือ วันหนังบ้าน (ฉบับออนไลน์) เสาร์ที่ 16 ตุลาคมนี้ เวล...

อ่านรายละเอียด