Gustav Deutsch: Film ist. : กรุสมบัติภาพยนตร์

กุสตาฟ ดอยช์ (Gustav Deutsch) เป็นหนึ่งในนักทำหนังที่สร้างงานจากกรุหนัง ขุดค้นเข้าไปในห้องฟิล์มเพื่อรื้อค้นภาพเก่าเก็บจากหอภาพยนตร์ และนำสมบัติภาพเคลื่อนไหวที่ได้มา เรียงร้อยต่อกันเพื่อสร้างงานใหม่ สร้างความหมายใหม่ให้กับภาพ และในระหว่างทาง ร่วมแสวงหาขอบเขตของนิยามคำว่าภาพยนตร์


ช่างภาพ สถาปนิก และคนทำหนังชาวออสเตรีย กุสตาฟ ดอยช์ เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาด้วยวัย 67 ปี ถึงจะเป็นศิลปินที่ทดลองทำงานในหลากหลายสาขา ตั้งแต่ภาพนิ่งถึงละครเวทีและสถาปัตยกรรม ผลงานอมตะของดอยช์คือภาพยนตร์ไตรภาค Film ist. ที่สร้างในปีค.ศ.1996, 2002 และ 2009  


งานเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 23 ที่หอภาพยนตร์จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 ถึง  22 ธันวาคมนี้ จะจัดฉาย Film ist. ทั้งสามภาคของกุสตาฟ ดอยช์ เป็นการรำลึกถึงการจากไปของนักคิดและนักทำหนังท่านนี้


งานของดอยช์เป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการเก็บรักษาและอนุรักษ์ภาพยนตร์เก่า เพราะในแต่ละตอนของ Film ist. ดอยช์ใช้ภาพจากหนังเก่า ทั้งหนังวิทยาศาสตร์ หนังเพื่อการศึกษา รวมทั้งหนังเรื่องและสารคดีธรรมชาติ นำมาตัดต่อใหม่และเล่นกับเทคนิคทางภาพ (เช่นสปีด หรือการหยุดภาพ) และสร้างงานที่น่าฉงน น่าตื่นเต้น น่าตกใจ เป็นทั้ง film essay และหนังทดลอง เป็นทั้งการเฉลิมฉลองกรุสมบัติที่ถูกลืมเลือน และเป็นการปัดฝุ่นประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เพื่อแสวงหาความหมายและความเป็นไปได้ของสื่อภาพเคลื่อนไหว ภาพส่วนใหญ่ในหนังของดอยช์มาจาก Netherlands Fimmuseum และจากหนังโบราณที่แม้แต่นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ก็ไม่ได้สนใจหรือลืมไปแล้วว่ามีอยู่


Film ist เป็นภาษาเยอรมัน แปลเป็นอังกฤษคือ Film is นี่เป็นการเล่นคำ หรืออาจจะเป็นปริศนาทางปรัชญากลายๆ หากเราลองแปลเป็นไทย Film is แปลว่า “ฟิล์มคือ” นี่คือประโยคคำถามที่ให้เราเติมคำตอบข้างหลังหรือไม่ว่า “ฟิล์มคืออะไร?” (อย่างที่อังเดร บาแซงเคยถามว่า What is cinema?) หรืออย่างที่นักวิชาการชื่อทอม กันนิ่ง บอกไว้ว่า จริง ๆ แล้วนี่ไม่ใช่ประโยคคำถาม แต่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ในตัวเองแล้ว ดังนั้น Film is ของดอยช์ต้องแปลว่า “ฟิล์มคือ” หรือ “ฟิล์มเป็น” หมายความถึงการมีอยู่ เป็นอยู่ คงอยู่ของฟิล์มและภาพยนตร์ เป็นการประกาศสถานะของสื่อนี้ ณ ขณะเวลานี้และการคงอยู่ของมันสืบไป


Film ist. แต่ละ “ภาค” แบ่งแยกย่อยออกเป็นบทเล็กๆ ใน Film Ist. (1-6) ที่สร้างในปี 1996 มีหกบทย่อย Film ist. (7-12)ในปี 2002 มีอีกหกบทย่อย และ  FILM IST. a girl & a gun เป็นภาคสุดท้าย 


ในภาคแรก ดอยช์ใช้ภาพจากหนังการทดลองทางวิทยาศาสตร์ นำเสนอในฐานะภาพแบบไม่มีบริบท ทั้งภาพการเคลื่อนไหวร่างกาย แก้วตกแตก นกกำลังออกบิน โรงงานอุตสาหกรรม การทดลองรถยนต์ และอื่น ๆ ผลลัพธ์คือภาพที่หลั่งไหลเป็นกระแสที่ทั้งน่าตลก น่ากลัว เหมือนความฝัน และเหมือนภาพจากโลกที่เราไม่รู้จัก เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมในตัวเอง ลื่นไหลและท้าทายแนวคิดที่หนังสร้างขึ้นในแต่ละองก์ย่อย (เช่น Light and Darkness, Moment and time, An instrument และอื่น ๆ) 

 Film ist ในภาคที่สอง เป็นการใช้ภาพจากช่วงสามทศวรรษแรกหลังจากภาพยนตร์กำเนิดขึ้นในโลก ดอยช์ร้อยเรียงภาพจากหนังเงียบเหล่านี้จนเกิดความน่าตื่นตาในตัวมันเอง ภาพแต่ละภาพที่ต่อเนื่องกัน ทั้งให้ความหมายซึ่งกันและกัน (นั่นคือหลักการของภาพยนตร์อยู่แล้วใช่หรือไม่) แต่ในขณะเดียวกันก็ย้อนแย้งและอาจจะถึงขึ้นรื้อความหมายที่กำลังจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกัน เช่นเดียวกันกับในภาคที่สาม ซึ่งมีชื่อตอนที่ชัดเจน FILM IST. a girl & a gun ดอยช์เลือกใช้ภาพผู้หญิงและภาพอาวุธปืน เพื่อตรวจสอบ ล้อเล่น และค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการกำเนิดภาพยนตร์ในยุคแรกกับการสร้างภาพเพศหญิงในหนัง อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพศหญิงและชายที่มักปรากฏบนจอ แน่นอนว่าหนังภาคนี้เป็นการเล่นกับคำกล่าวอมตะของฌอง-ลุค โกดาร์ด ที่เคยว่าไว้ว่า “แค่มีผู้หญิงกับปืนก็สร้างหนังได้แล้ว” (โกดาร์ดบอกว่าตัวเองไม่ได้พูด แต่ดี ดับบลิว กริฟฟิธเป็นคนพูด แต่คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าโกดาร์ดพูดอยู่นั่นเอง) ทั้งนี้อย่าลืมว่า โกดาร์ด เป็นนักทำหนังร่วมสมัยกับดอยทช์ ที่สร้างงานจากภาพหนังเก่าและทำตัวเป็นนักโบราณคดีขุดค้นภาพเคลื่อนไหวจากกรุเช่นเดียวกัน


การฉาย Film ist. ที่หอภาพยนตร์ จะฉายด้วยฟิล์มจริงๆ (ไม่ใช่ไฟล์ดิจิทัล) ดังนั้นความศักดิ์สิทธิ์ของภาพและวัตถุที่ทำให้เกิดภาพ จึงมาพร้อมกันอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในเมืองไทย โปรแกรมนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสถานทูตเอกอัครราชทูตออสเตรีย กรุงเทพฯ  





กำหนดการฉาย ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 

เสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 

14.30 น.  Film Ist. (1-6) (60 นาที / ฟิล์ม 16 มม.)


ศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 

17.30 น. Film ist. (7-12) (93 นาที / ฟิล์ม 35 มม.)

19.30 น.  FILM IST. a girl & a gun (93 นาที / ฟิล์ม 35 มม.)


เขียนโดย ก้อง ฤทธิ์ดี

หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด