รางวัลดุ๊ก สารคดีไทยในฐานะเครื่องมือบันทีกประวัติศาสตร์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นการเมืองวนเวียนเข้ามาให้เห็นในภาพยนตร์สารคดีที่ส่งเข้าร่วมประกวดในเทศกาล Thai Short Film & Video Festival บางครั้งก็ชัดเจน บางครั้งก็เป็นการพูดประเด็นเลียบเคียง แต่เห็นได้ว่าภาพยนตร์สารคดีถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อแสดงออกถึงผลกระทบ และความพยายามเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังคุกรุ่นด้วยคลื่นใต้น้ำของความขัดแย้ง และเชื่อว่านี่จะยังเป็นสิ่งที่คนดูจะได้เห็นต่อไปในอนาคต


ในเทศกาลครั้งที่ 23 นี้ มีหนังสารคดีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 12 เรื่อง ถึงแม้ประเด็นที่คนทำหนังสนใจจะไม่ได้จำเพาะอยู่แค่การเมืองระดับชาติ แต่มีทั้งหนังที่เล่าเรื่องครอบครัว หนังที่จับจ้องมองชีวิตผู้คนธรรมดาๆ หรือหนังที่พูดถึงความสนใจเฉพาะ (เช่นกลุ่มโอตะแฟนไอดอล หรือหนังว่าด้วยชีวิตนักเรียนช่างกล) สุดท้ายแล้วกรรมการตัดสินอันประกอบด้วยอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ดรสะรณ โกวิทวณิชชา และสุดารัตน์ มุสิกพงศ์ เลือกให้รางวัลกับหนังที่ชัดเจนในน้ำเสียงและท่าทีว่าจะทำเรื่องการเมืองที่ตรงและหนัก และเป็นหนังที่ตั้งคำถามอันสั่นสะเทือนสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศตอนนี้


ภาพยนตร์ที่ชนะเลิศในสาขาสารคดี หรือรางวัลดุ๊ก ได้แก่ ไกลบ้าน โดยธีรพันธ์ เงาจีนานันต์ ที่เล่าชีวิตของผู้ลี้ภัยทางการเมือง วัฒน์ วรรลยางกูล หลังจากนักเขียนเรืองนามผู้นี้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทยไปอยู่ที่ประเทศลาวหลังการรัฐประหารปีพ.ศ. 2557 หนังเฝ้ามองชีวิตและรับฟังวัฒน์ ที่พูดคุยอย่างเป็นกันเองและอธิบายว่าทำไมเขาถึงเลือกทางเดินนี้ และผู้กำกับยังเดินทางไปถ่ายทำยังบ้านที่ถูกทิ้งร้างของเขาในจังหวัดกาญจนบุรี


กรรมการให้ความเห็นถึงหนังเรื่อง ไกลบ้าน ว่า “เป็นหนังที่ตัว subject มีความน่าสนใจ เล่าเรื่องได้อย่างกินใจผู้ชม เป็นการนำเสนอคำว่าบ้านในหลายมิติ ซึ่งกระทบใจผู้ชมในสถานการณ์ปัจจุบัน”  


ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศมีสองเรื่อง เรื่องแรกคือ หมายเลขคดีแดง โดย เสฏฐวุฒิ เมืองแก้ว ซึ่งเป็นการยืนยันอีกครั้งว่ากรรมการสนใจประเด็นการเมืองในหนังมากเป็นพิเศษในปีนี้ หนังเล่าเรื่องผ่านการสัมภาษณ์ลูกชายวัยเรียนมหาวิทยาลัยของนักโทษคดีมาตรา 112 โดยแทบทั้งเรื่องเป็นน้ำเสียงของชายหนุ่มคนนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือเขาเล่าเรื่องชีวิตของตัวเอง ด้วยน้ำเสียงที่ติดตลก ใช้ภาษาแบบวัยรุ่น และไม่ฟูมฟายกับชะตากรรม ถึงแม้เราจะเห็นความเศร้าสร้อยและเสียใจที่แฝงอยู่ในท่าทีและแววตา เขากลับแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป และคนที่อยู่ข้างหลังต้องทำใจและเดินหน้าไปให้ได้


กรรมการให้ความเห็นว่า “นี่เป็นหนังที่พาเราไปใกล้ชิดกับตัวละคร เป็นหนังที่เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถานการณ์ ทำให้ผู้ชมร่วมไว้ทุกข์กับบุคคลธรรมดาๆที่ถูกทำลายด้วยกฎหมายที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง” 


ส่วนภาพยนตร์ที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอีกเรื่อง ได้แก่ Only You โดยวสุนันท์ หุตเวช หนังมีความอ่อนโยนและมีบรรยากาศที่ต่างจากสองเรื่องก่อนหน้า เพราะเล่าเรื่องครอบครัวของผู้กำกับและโดยเฉพาะเรื่องแม่ “ผู้สร้างมีความกล้าหาญที่บอกเล่าเรื่องราวที่เป็นส่วนตัวของครอบครัว” กรรมการให้ความเห็น “ทำออกมาได้อย่างมีพลัง ด้วยการใช้ภาพที่สวยงาม สงบ เรียบง่าย เปี่ยมด้วยความทรงจำดีๆที่ผ่านพ้นไป


ยังมีหนังสารคดีที่ได้รางวัลชมเชยอีกสองเรื่อง คือ สะพานปลา โดยสุวพร วรสิทธิ์ และศุภิสรา กิตติคุณารักษ์ หนังง่ายๆที่ใช้กล้องเฝ้ามองเหล่านักตกปลาบนสะพาน และอีกเรื่องคือ หมาล่าเนื้อ สารคดีนักมวยโดยจิรเมธ โง้วศิริ


นอกจากนี้ สารคดีเรื่องอื่นๆในรอบสุดท้ายยังพูดถึงเรื่องราวอันหลากหลาย เช่นสารคดี บุรุษเลือดหมู อันเป็นความในใจของเด็กอาชีวะที่มักถูกมองว่าเป็นพวกชอบความรุนแรง เปย์หัวใจไปสู่ฝัน อันว่าด้วยนักศึกษาผู้อุทิศตนเป็นแฟนของวงไอดอล ก่อนกาล สารคดีเกี่ยวกับห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ เมอรี่คิงส์ 


หนังทุกเรื่องทั้งที่ได้เอ่ยชื่อและที่ได้เข้ารอบ ประกอบแสดงให้เห็นความแข็งแรงพอประมาณของสารคดีไทย ในยามที่การเล่าเรื่องจริงผ่านจอหนังเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการบันทึกประวัติศาสตร์ของเราทุกคน



 

หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด