คามิชิไบ ประดิษฐกรรมการเล่าเรื่องฉบับญี่ปุ่น

คามิชิไบ คำภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ละครกระดาษ เป็นชื่อเรียกประดิษฐกรรมการเล่าเรื่องประกอบแผ่นรูปวาดบนกระดาษสี่เหลี่ยม  ที่เรียงลำดับกันตามการเดินเรื่อง และรูปนั้นบรรจุอยู่ในตู้ไม้ขนาดเล็ก กว้างและยาวราวฟุตเศษ มีบานปิดเปิดได้ที่ทำขึ้นให้ดูคล้ายกรอบเวทีละคร เมื่อเปิดบานตู้คนดูจะเห็นรูปอยู่ในกรอบ เวลาเล่า ผู้เล่าหรือนักคามิชิไบ ซึ่งอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ จะดึงรูปที่เรียงซ้อนกันอยู่ออกทีละรูป ตู้นี้จะติดตั้งอยู่บนท้ายรถจักรยาน ผู้เล่าเรื่องจะถีบรถเร่ไปจอดในมุมถนนหรือแยกถนนที่มีผู้คนสัญจรพลุกพล่าน และเรียกความสนใจให้ผู้คนโดยเฉพาะเด็ก ๆ ล้อมวงเข้ามา โดยใช้ท่อนไม้เล็ก ๆ สองอัน หรือ กรับ เคาะหรือขยับให้เกิดเสียงเรียกความสนใจ แต่ก่อนจะเล่าเรื่องประกอบภาพแก่ผู้ชม นักคามิชิไบจะขายขนมหวานซึ่งเด็ก ๆ ชอบก่อนสักพักหนึ่ง ซึ่งนั่นเป็นรายได้เลี้ยงชีพของพวกเขา 


คามิชิไบ มีประวัติรกรากความเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 หรือแปดร้อยปีมาแล้ว เล่ากันว่าเกิดขึ้นในวัดพุทธแห่งหนึ่ง ซึ่งพระคิดทำรูปเขียนเป็นม้วนยาว ๆ ใช้เล่าเรื่องตำนานหรือประวัติของวัดและศาสนา เรื่องธรรมะ ซึ่งมีการแต่งเป็นวรรณกรรมอยู่แล้ว แต่นำมาเล่าประกอบภาพเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจง่ายขึ้นและเพลิดเพลินขึ้น วิธีการนี้ค่อย ๆ พัฒนา เช่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 19  เกิดเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพม้วนที่ติดอยู่บนเสาปักไว้ในที่ชุมชน


แต่คามิชิไบที่เป็นการเล่าเรื่องประกอปรูปเขียนเป็นแผ่นกระดาษสี่เหลี่ยมและสอดให้ดูในตู้ที่ทำรูปร่างคล้ายกรอบเวทีละครและติดตั้งไว้บนท้ายรถจักรยานนี้ เพิ่งมีผู้ประดิษฐ์ขึ้นในยุคคริสต์ศักราช 1930 นี้เอง แล้วกลายเป็นความนิยมอย่างมาก มีนักคามิชิไบเป็นอาชีพเกิดขึ้นเฉพาะในโตเกียวราว 2,500 คน กล่าวกันว่าเป็นเพราะเวลานั้นเกิดเศรษฐภัยใหญ่ทั่วโลก ที่เรียกว่า Great Depression เฉพาะในโตเกียวมีผู้คนตกงานมากถึงประมาณ 1.5 ล้านคน อาชีพนักคามิชิไบจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของคนจำนวนไม่น้อย ในภาวะที่การดำเนินชีวิตอัตคัตฝืดเคืองและลำบากยากแค้นเช่นนี้เอง คามิชิไบได้ทำหน้าที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้คนในชุมชน โดยเฉพาะเด็ก ๆ  นักคามิชิไบคนหนึ่งจะเล่นวันหนึ่งราว 10 รอบ แต่ละรอบมีเด็ก ๆ ชมราว 30 คน ดังนั้นวันหนึ่ง ๆ ในสมัยนั้นมีเด็ก ๆ ชมคามิชิไบราว ๆ หนึ่งล้านคน



คามิชิไบกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง ในสภาวะสังคมที่กำลังประสบปัญหาทำนองเดียวกับเศรษฐภัย นั่นคือในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา คนญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะสับสนว้าวุ่นใจ ทุกข์และขมขื่นใจ แต่กระนั้นคนญี่ปุ่นก็มุ่งมั่นที่จะสร้างชีวิตใหม่ ในขณะที่ประเทศก็กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การ์ตูนขำขันหรือชวนหัวซึ่งล้อเลียนจากเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้คนกลายเป็นคอลัมน์ยอดฮิตในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันและวารสาร ส่งผลให้อุตสาหกรรมการพิมพ์เติบโตขึ้นจากความต้องการการ์ตูนตลกขบขันอย่างใหญ่โตเช่นนี้เอง และในสภาวะเช่นนี้ คามิชิไบซึ่งอยู่นอกวงการอุตสาหกรรม ก็ได้โอกาสกลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง ด้วยการเล่าเรื่องล้อเลียนขบขันกับเขาเช่นกัน ว่ากันว่าช่วงเวลานั้นในแต่ละวันมีเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ราว ๕ ล้านคนทั่วญี่ปุ่นได้รับความบันเทิงเริงใจจากคามิชิไบ



นักคามิชิไบ จะเลือกจอดรถจักรยานของเขาในมุมถนนที่คนพลุกพล่าน แล้วเคาะหรือขยับกรับในมือ  เพื่อเรียกให้ผู้คนล้อมวงเข้ามา จากนั้นเขาจะขายขนมสำหรับเด็ก ๆ ซึ่งเป็นรายได้ของเขาพอสมควรแล้ว จึงเปิดบานตู้ไม้คามิชิไบ เผยให้เห็นรูปของเรื่องราวที่เขาจะเล่าต่อไป


นักคามิชิไบที่เป็นศิลปิน จะแสดงฝีมือวาดรูปประกอบเรื่องเล่าของเขาเองอย่างงดงาม แต่เมื่อคามิชิไบรุ่งเรืองขึ้น จึงเกิดมีพ่อค้าคนกลาง จัดทำรูปชุดต่าง ๆ ผลิตด้วยการพิมพ์เป็นจำนวนมาก ๆ ออกมาให้พวกคามิชิไบเช่าไปแสดงในราคาไม่แพงนัก 


เมื่อวันเวลาผ่านไป จนเกิดโทรทัศน์ขึ้นในญี่ปุ่นปี 1953 ซึ่งเริ่มแรกคนญี่ปุ่นได้รู้จักกันในชื่อ เดนกิ คามิชิไบ ซึ่งแปลว่า คามิชิไบไฟฟ้า คามิชิไบโบราณบนท้ายจักรยานที่รุ่งเรืองในยุคหลังสงครามก็ถึงสมัยซบเซา หมดความจำเป็นไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงใหม่ของโลก


อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้คามิชิไบกันอยู่ โดยเฉพาะในวงการการศึกษา และไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่น แต่ได้แพร่หลายอยู่ในหลายแห่งในโลก


ในประเทศไทย น่าจะมีผู้นำคามิชิไบมาเผยแพร่อยู่บ้าง แต่คงไม่แพร่หลายนัก อาจจะใช้กันในโรงเรียนของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทยบ้าง  ปี พ.ศ. 2562 หอภาพยนตร์ได้นำคามิชิไบมาใช้ในการเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์ในหัวข้อต่าง ๆ ในเมืองมายา พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของหอภาพยนตร์ หากประสบความสำเร็จ อาจเป็นตัวอย่างให้มีผู้นำไปใช้ประโยชน์บ้าง



หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด