ต้นกำเนิดปอบหยิบ ในบ้านผีปอบภาค 2

ภาพยนตร์ไทยชุด บ้านผีปอบ กลายเป็นปรากฏการณ์อันสำคัญอย่างหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อภาพยนตร์เกรดรอง ทุนสร้างไม่สูง เนื้อหาไม่ซับซ้อน ออกฉายเน้นที่โรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัดและชานเมือง แต่ปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ จนผู้สร้างสามารถสร้างภาคต่อออกมาอย่างต่อเนื่องได้อีกถึง 13 ภาค ในช่วงเวลา 5 ปี ในขณะที่โรงภาพยนตร์ชั้นนำในกรุงเทพฯ ต้องยอมเปิดรอบฉายให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย


บ้านผีปอบ ทั้ง 13 ภาค ล้วนมีเนื้อหาที่คล้ายกัน คือ มีผีปอบอาละวาดขึ้นในหมู่บ้าน แล้วใช้เวลาทั้งหมดในภาพยนตร์ไปกับการนำเสนอฉากการวิ่งหนีผี ซึ่งทีมผู้สร้างและนักแสดงพยายามคิดค้นวิธีการหนีผีต่าง ๆ นานา เพื่อเรียกเสียงหัวเราะสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ ความสำเร็จของภาพยนตร์ชุด บ้านผีปอบ ย่อมสะท้อนให้เห็นรสนิยมของผู้ชมภาพยนตร์ไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความนิยมในภาพยนตร์ที่ผสมผสานระหว่างหนังผีกับหนังตลกหรือความน่ากลัวกับความน่าขบขันไว้ในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน 




รสนิยมนี้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น หนังเรื่อง พรายตะเคียน ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2483 (ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ปี 2557) ก็มีฉากการวิ่งหนีผีแบบน่าตลกขบขันเป็นอย่างตลกสถานการณ์ ซึ่งน่าจะได้แบบอย่างมาจากมุกตลกสถานการณ์ต่าง ๆ ในหนังตลกจากต่างประเทศที่ฉายกันอยู่ทั่วโลก    เมื่อจำเอามาใช้ต่อ ๆ กัน ก็กลายเป็นขนบการแสดงตลกอย่างที่เรียกว่าจำอวด จำอวดหนีผีในภาพยนตร์ไทย จึงสืบทอดมาเรื่อย ๆ ภาพยนตร์ผี แม่นาคพระโขนง ซึ่งสร้างมาก่อน พรายตะเคียน ไม่มีฟิล์มเหลือให้เราเห็น จึงไม่รู้ว่ามีจำอวดหนีผีหรือไม่ แต่ฉบับต่อ ๆ มาก็มักมีเสมอ จนแม้มาถึงฉบับที่สร้างปรากฏการณ์ในปัจจุบัน คือ พี่มากพระโขนง ก็ยังได้เห็นการวิ่งหนีผีแบบตลกโปกฮาจากเหล่าบรรดานักแสดงตลกในเรื่อง 


ในช่วงที่ภาพยนตร์ชุด บ้านผีปอบ ออกฉาย ได้มีภาพยนตร์ผีหลาย ๆ เรื่องที่พยายามเลียนแบบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่า บ้านผีปอบ ภาค 2 มีความสำคัญมากกว่าภาคอื่น ๆ ตรงที่เป็นภาคแรกที่แนะนำตัวละครปอบหยิบ ซึ่งรับบทแสดงโดย ณัฐนี สิทธิสมาน ซึ่งกลายเป็นตัวละครผีหลักในภาพยนตร์ชุดนี้ไปจนถึงภาคล่าสุด ท่าจีบมือของปอบตัวนี้ เป็นการสร้างเอกลักษณ์สำคัญประจำตัว ซึ่งจะเป็นภาพจำอยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบไปแม้จะมีการสร้างสรรค์ผีปอบตัวอื่น ๆ ขึ้นมาก็ไม่ได้รับความนิยมเท่า ตัวละครปอบหยิบยังได้รับความนิยมนอกเหนือจากในภาพยนตร์ชุดนี้แล้ว ยังไปปรากฏตัวในภาพยนตร์และละครเรื่องอื่น ๆ  รวมไปถึงสื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ ด้วย และกลายเป็นบทประจำตัวของนักแสดง ณัฐนี สิทธิสมาน ที่ยังอยู่ในทรงจำของผู้ชมภาพยนตร์ไทยทุกคน


บ้านผีปอบ 2 จะจัดฉายในโปรแกรมกลับสู่เก้าศูนย์ Back to the 90s 2 รอบ วันพุธที่ 15 มกราคม 2563 เวลา 15.00 น. และวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 เวลา 15.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรับชม


*ข้อมูลจากสูจิบัตรกิจกรรมขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ 5

หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด