ความงามอมตะของ เพชรา เชาวราษฎร์ ผ่านภาพถ่ายของ สมชาย จันทวังโส

นอกจากผลงานภาพยนตร์ที่ยังคงเหลือมาถึงปัจจุบันของ เพชรา เชาวราษฎร์ ราชินีแห่งวงการภาพยนตร์ผู้ไม่เคยหายไปจากความทรงจำของแฟนหนังไทย  หอภาพยนตร์ยังได้อนุรักษ์ “สิ่งเกี่ยวเนื่อง” กับนางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้งผู้นี้ไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ภาพยนตร์, โชว์การ์ด, นิตยสาร รวมไปถึงภาพถ่ายอันล้ำค่าและหาชมได้ยาก โดยเฉพาะผลงานที่เกิดจากฝีมือของ สมชาย จันทวังโส

 

สมชาย จันทวังโส คือใคร?



ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นหูของช่างภาพยุคใหม่ แต่หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน ในยุคที่อาชีพช่างถ่ายภาพยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากเหมือนในปัจจุบัน เขาผู้นี้ถือเป็นตากล้องภาพนิ่ง “มือวางอันดับหนึ่ง” ของวงการหนังไทย ที่บรรดาผู้สร้างและดาราทั่วฟ้าเมืองไทยย่อมรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี

 

สมชาย จันทวังโส เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เริ่มศึกษาวิชาการถ่ายภาพ ล้างฟิล์ม อัดและขยายรูป และถ่ายภาพยนตร์ขนาด 16 มม. ที่ห้องภาพสนั่นศิลป์ บริเวณโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นช่างภาพที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคนหนึ่งของวงการสื่อมวลชนและวงการภาพยนตร์ไทย โดยเป็นผู้ถ่ายภาพดาราขึ้นปกนิตยสารชื่อดังจำนวนมาก อาทิ บางกอก ผดุงศิลป์ กุลสตรี ดาราไทย โลกดารา ฯลฯ รวมทั้งเป็นช่างถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ประจำบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และเคยเป็นอุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยอีกด้วย

 

สมชาย จันทวังโส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553  สามปีต่อมา เยาวเรศ นิศากร ดาราภาพยนตร์ไทยชื่อดัง ผู้เป็นคู่ชีวิต จึงได้บริจาคผลงานภาพถ่ายของสมชายจำนวนมากให้หอภาพยนตร์อนุรักษ์  ซึ่งประกอบไปด้วยภาพถ่ายเบื้องหลังของวงการหนังไทยจำนวนมาก และบางส่วนนั้นไม่เคยปรากฏให้ชมที่ไหนมาก่อน 

 

คลังภาพของสมชาย จันทวังโส จึงถือเป็นมรดกความทรงจำสำคัญที่บันทึกเรื่องราวของวงการภาพยนตร์ไทย และมีคุณค่ามหาศาลต่อแฟนภาพยนตร์รุ่นหลัง รวมถึงผู้ที่ต้องการสืบค้นด้านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย

 


 

ในวาระที่ เพชรา เชาวราษฎร์ นางเอกผู้ยิ่งใหญ่ของวงการได้เดินทางมาประทับรอยมือรอยเท้า ณ ลานดารา หอภาพยนตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา หอภาพยนตร์จึงได้นำผลงานการถ่ายภาพ เพชรา เชาวราษฎร์ ของ สมชาย จันทวังโส  มาจัดแสดง โดยคัดสรรเฉพาะภาพถ่ายเดี่ยวหรือ portrait ของเพชรา ให้แฟน ๆ ได้เห็นถึงความงามในอิริยาบถต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่เข้าวงการภาพยนตร์ ซึ่งมีทั้งภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์ ภาพประกอบนิตยสาร,งานสำคัญต่างๆ เช่นงานรับรางวัลตุ๊กตาทองในปี 2507ฯลฯ

 

หลังจบกิจกรรมลานดารา ภาพถ่ายบางส่วนจากนิทรรศการพิเศษนี้ ยังคงจัดแสดงต่อเนื่องที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา ของหอภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีในหอศิลป์ แนม สุวรรณแพทย์ หอศิลป์ที่เล็กที่สุดในโลก บริเวณระเบียงชั้นสองของพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย รวมแล้ว 15 ภาพ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานการถ่ายภาพของ สมชาย จันทวังโส ทั้งสิ้น

 


ภาพถ่ายเหล่านี้จะจัดแสดงไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ควบคู่ไปกับผลงานภาพยนตร์ของ เพชรา เชาวราษฎร์ ที่หอภาพยนตร์นำมาจัดฉายอย่างต่อเนื่อง  เป็นโอกาสพิเศษที่ท่านจะได้มาชื่นชมความงามของสุดยอดนางเอกในตำนานของวงการหนังไทย ผ่านทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวในคราวเดียวกัน

หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด