มวยไทย “ตำรามวยไทย” ในรูปแบบภาพยนตร์

มวยไทย (2506) เป็นหนึ่งในผลงานชุด “มรดกของไทย” ซึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีทางโทรทัศน์ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของบริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด อีสเทอร์น จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ) ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. กำกับและจัดทำบทโดย สมบูรณ์ วิรยศิริ ประสิทธิ์ สิงหนาวิก ถ่ายและลำดับภาพ โดยมีวิสิษฐ์ ตันสัจจา เป็นผู้อำนวยการสร้าง เพื่อออกอากาศทางสถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง ๔ บางขุนพรหม ทุกคืนวันพุธเว้นพุธ ความยาวครั้งละประมาณ 30 นาที ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 มาจนถึงราวปี พ.ศ. 2516 โดยมี มานิตย์ รักษ์สุวรรณ ผู้ประกาศประจำสถานี เป็นผู้บรรยายสดขณะออกอากาศ นับเป็นรายการที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างยาวนานมากที่สุดรายการหนึ่ง 


หอภาพยนตร์ได้รับมอบฟิล์มภาพยนตร์สารคดีเรื่อง มวยไทย จากบริษัท เอสโซ่ เมื่อ พ.ศ. 2547 พร้อมกับสารคดีอีกหลายเรื่องในชุดเดียวกัน จากฉลากข้างกล่องฟิล์มระบุว่า มวยไทย ออกอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2506 แต่ปัจจุบันยังไม่พบบทบรรยายของภาพยนตร์เรื่องนี้


อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสถานะเป็นภาพยนตร์สารคดีเงียบ แต่ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ปรากฏใน มวยไทย ยังามารถสื่อสารแก่ผู้ชมและเห็นถึงเจตนารมณ์ของผู้สร้าง ในการรวบรวมองค์ความรู้และบรรยากาศต่าง ๆ ของวงการกีฬามวยไทยขณะนั้นเอาไว้ ภาพยนตร์เริ่มต้นด้วยการสอนมวยไทยของร้อยโท บัว นิลอาชา หรือ บัว วัดอิ่ม อดีตนักมวยจากนครราชสีมา ที่ตระเวนชกมวยจนโด่งดังตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และเป็นครูฝึกมวยไทยในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ระหว่าง พ.ศ. 2473–2501 รวมทั้งได้เปิดค่ายมวยที่ซอยโซดาในกรุงเทพฯ จนมีลูกศิษย์มากมาย และกลายเป็นครูมวยไทยสายโคราชที่สำคัญที่สุดคนหนึ่ง โดยในภาพยนตร์ซึ่งเข้าใจว่าไปถ่ายทำในค่ายมวยที่ซอยโซดา ครูบัวได้ถ่ายทอดวิชาให้เห็นตั้งแต่การไหว้ครู การสาธิตแม่ไม้มวยไทยกับบรรดาลูกศิษย์ในค่าย ทั้งการออกอาวุธและการแก้ทางมวยแบบต่าง ๆ การฝึกซ้อมกับธรรมชาติ การแต่งตัวสำหรับนักมวยทั้งการใส่กระจับ คาดเชือก และสวมมงคล ไปจนถึงการซ้อมชกของนักมวยรุ่นเยาว์ 


ถัดจากความรู้พื้นฐาน ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดให้เห็นการฝึกซ้อมของนักมวยไทยชื่อดังในขณะนั้น คือ อภิเดช ศิษย์หิรัญ เจ้าของฉายาจอมเตะแห่งบางนกแขวก โดยมี องุ่น เอี่ยมภิญโญ ผู้จัดการหญิงคู่บารมีนั่งคุมอยู่ในค่าย จากนั้นจึงพาผู้ชมไปยังสนามมวยเวทีลุมพินี เพื่อชมบรรยากาศจริงในวันแข่งขัน ตั้งแต่การเตรียมตัวของนักมวยในห้องพัก การก้าวขึ้นสู่เวที ไหว้ครู และเริ่มชกจนพักยก ท่ามกลางบรรดาแฟนมวยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังปรากฏให้เห็นนักพากย์มวยคนสำคัญในเวลานั้น คือ มานิตย์ รักษ์สุวรรณ ผู้บรรยายสารคดีเรื่องนี้ ซึ่งกำลังพากย์ในรายการถ่ายทอดสดของการชกวันนั้นของสถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 และยังได้เห็น ธาดา เต็มบุญเกียรติ โฆษกและนักพากย์มวยประจำสถานีวิทยุ ททท. ของบริษัทไทยโทรทัศน์ 


แม้ก่อนหน้านี้จะมีการบันทึกภาพกีฬามวยไทยเป็นภาพยนตร์มาก่อนแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่พบว่าเคยมีเรื่องใดที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ของศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแขนงนี้ไว้ เพื่อถ่ายทอดให้สาธารณชนได้ศึกษาอย่างในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง มวยไทย โดยเฉพาะภาพการฝึกสอนของครูบัว วัดอิ่ม ที่ได้รับการนำมาตัดต่อแทรกอยู่ในสารคดีเกี่ยวกับมวยไทยเรื่องอื่น ๆ ในเวลาต่อมา เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในฐานะ “ตำรามวยไทย” ที่จัดทำขึ้นในรูปแบบภาพยนตร์เรื่องแรกเท่าที่มีการค้นพบ ในขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ซึ่งเต็มไปด้วยภาพบุคคลสำคัญของวงการมวยไทยในอดีตเรื่องนี้ ยังทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องย้อนเวลากลับไปสู่ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของกีฬาอันเป็นเอกลักษณ์และมรดกของไทย ซึ่งเคยอยู่ในความฝันและลมหายใจของเด็กหนุ่มน้อยใหญ่ทั่วประเทศเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว



ข้อมูลภาพยนตร์

ฟิล์ม 16 มม. / ขาวดำ / พากย์ / 23.54 นาที

ปีสร้าง 2506 

ผู้สร้าง    บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด อีสเทอร์น จำกัด


ข้อมูลจาก สูจิบัตรขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2562


หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด