โรงหนังช้างแดง

โรงภาพยนตร์ความจุ 100 ที่นั่ง กินบริเวณชั้นหนึ่งและชั้นสองของอาคารสรรพสาตรศุภกิจ มีทางเข้าหลักอยู่ที่โถงชั้น 2 และทางเข้าสำหรับผู้ใช้รถเข็น (wheel chair) ที่ชั้น 1 เพื่อความสะดวกต่อการเข้าชม 


แนวคิดในการออกแบบโรงภาพยนตร์แห่งนี้ คือ “หนังกระโปรง” หนึ่งในประดิษฐกรรมการฉายหนังเร่แบบถ้ำมองที่เคยมีคนหัวใสคิดทำขึ้นเพื่อเป็นอาชีพเลี้ยงตัวในประเทศไทยแพร่หลายในไทย มีลักษณะเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้าวางแนวยาว ใส่จอหนังเล็ก ๆ ไว้ภายใน เจาะช่องรอบ ๆ กล่องให้ลูกค้าซึ่งมักเป็นเด็กสอดตาแอบดูหนัง ซึ่งเจ้าของจะตั้งเครื่องฉาย ฉายผ่านช่องหลังกล่องเข้าไป 



โรงภาพยนตร์ 100 ที่นั่งของหอภาพยนตร์นี้ เมื่อมองจากภายนอก จึงดูคล้ายเป็น “หนังกระโปรงขนาดยักษ์” ที่มีช่องถ้ำมองให้คนดูแอบมองเข้าไปจากผนังนอกโรงได้ ในขณะที่ภายในโรงนั้น ผนังฝั่งที่เชื่อมกับช่องถ้ามอง ตกแต่งด้วยไม้เปลือยแบบเดียวกับด้านนอก แตกต่างจากอีกฝั่งที่เป็นพื้นสีดำ ฉลุลวดลายล้อฟิล์มประดับประดาทั่วทั้งผนัง ตรงกลางเป็นเก้าอี้สีครีมที่ขับให้โรงนี้ดูสว่างสดใสแตกต่างจากโรงภาพยนตร์อื่น ๆ ของอาคาร


ชื่อ “โรงหนังช้างแดง” มีจุดเริ่มต้นจากเมื่อปี พ.ศ. 2540 หอภาพยนตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิหนังไทย จัดนิทรรศการ 100 ปีภาพยนตร์ในประเทศไทย ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า ภายในนิทรรศการ ได้มีการกั้นห้องจำลองโรงหนังชุมชนในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้เห็นถึงรากเหง้าของภาพยนตร์ในฐานะแหล่งบันเทิงของชาวบ้าน โดยนำหัวช้างมาครอบช่องฉายหนังเพื่อให้ลำแสงลอดออกมา ตามอย่างโรงหนังชุมชนในภาพยนตร์อิตาเลียนเรื่อง Cinema Paradiso ที่ประดับเป็นหัวสิงโต  และทาสีแดงที่หัวช้างให้ดูสนุกสนาน ตั้งชื่อว่า “โรงหนังช้างแดง” ต่อมาเมื่อหอภาพยนตร์มีโรงหนังใหม่ และจะให้เป็นโรงหนังสำหรับให้ความสุขสนุกสนานแก่ผู้ชม  จึงนำชื่อดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อโรงภาพยนตร์แห่งนี้ว่า “โรงหนังช้างแดง”  ซึ่งจะเป็นสถานที่โรงหลักในการจัดฉายภาพยนตร์ตามโปรแกรมประจำวันของหอภาพยนตร์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งมหรสพความบันเทิงของภาพยนตร์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกชนชั้น






โรงหนังช้างแดง สามารถฉายได้ทุกระบบตั้งแต่วีดิทัศน์, ไฟล์ดิจิทัล, DCP ไปจนถึงฟิล์ม 35 มม. พร้อมด้วยระบบเสียงมาตรฐานทัดเทียมกับโรงภาพยนตร์สมัยใหม่ทั่วโลก โดยจะเริ่มเปิดบริการแก่สาธารณะ ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป สำหรับในระยะแรกนี้จะเปิดให้บริการทุกวันอังคาร-ศุกร์ รอบ 13.00 น. และ 15.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ยังคงฉายที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายาเหมือนเช่นเคย 

หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด