อบรมครูวิชาภาพยนตร์ กิจกรรมระหว่างหอภาพยนตร์และครู เพื่อส่งผ่านองค์ความรู้สู่นักเรียนด้วย "วิชาภาพยนตร์"

การนำภาพยนตร์กลับสู่โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่หอภาพยนตร์ได้พยายามผลักดันเพื่อส่งเสริมให้ภาพยนตร์ เครื่องมือในการเรียนรู้ที่ดียิ่งของมนุษย์ได้กลับเข้าไปมีบทบาทในโรงเรียนอันเป็นแหล่งการเรียนรู้หลักของสังคมมากขึ้น หอภาพยนตร์จึงได้เปิดอบรมให้ความรู้แก่ครูที่ต้องการนำวิชาภาพยนตร์ไปปรับใช้สอนในโรงเรียนของตนเอง โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมให้เหมาะสมกับช่วงภัยโควิด-19 ด้วยการอบรมในรูปแบบออนไลน์ 

--------- 



โดย นิศานาถ ไทรทองคำ

*ตีพิมพ์ครั้งแรกในจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ ฉบับที่ 58 กรกฎาคม-สิงหาคม 2563 


นอกจากภารกิจด้านการอนุรักษ์และขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์แล้ว อีกหนึ่งภารกิจที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ดำเนินการก็คือ การผลักดันส่งเสริมให้ภาพยนตร์ เครื่องมือในการเรียนรู้ที่ดียิ่งของมนุษย์ได้กลับเข้าไปมีบทบาทในโรงเรียนอันเป็นแหล่งการเรียนรู้หลักของสังคมมากขึ้น ด้วยการผลักดันให้มีการเปิดสอนวิชาภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งหวังให้เป็นวิชาที่ช่วยให้นักเรียนที่คุ้นเคยกับการชมสื่อภาพเคลื่อนไหวหรือภาพยนตร์ดีอยู่แล้ว ได้เรียนรู้ที่จะรู้จักภาพยนตร์ในแบบที่ถูกต้อง เข้าใจภาษาภาพยนตร์ เช่นเดียวกับเข้าใจภาษาในการพูด อ่าน เขียน เพราะภาพยนตร์มีศิลปะที่ผู้ชมอาจมองไม่เห็น หรือไม่สามารถเข้าใจได้ลึกซึ้งหากไม่เคยฝึกฝน เรียนรู้ 


เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดสอนวิชาภาพยนตร์ ปีการศึกษา 2563 นี้ หอภาพยนตร์ฯ ได้จัดอบรมครูวิชาภาพยนตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 22-24 เมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังในการสร้างความเข้าใจและให้การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านภาพยนตร์แก่ครูที่ต้องการนำวิชาภาพยนตร์ไปใช้สอนในโรงเรียนของตนเอง ซึ่งได้รับความสนใจจากครูมากมายทั่วประเทศ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้การพบปะพูดคุยกันต้องงดชั่วคราว จึงได้ปรับรูปแบบการอบรม ณ หอภาพยนตร์ฯ สู่การอบรมออนไลน์ด้วยวิธีการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (Video Conference) โดยได้รับเกียรติจาก อ.ประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ผู้เขียนตำราวิชาภาพยนตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อ.กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน อาจารย์สอนภาพยนตร์และนักวิจารณ์ชั้นครู และโดม สุขวงศ์ นักอนุรักษ์ภาพยนตร์เกียรติคุณ ผู้ริเริ่มแนวคิดวิชาภาพยนตร์และการนำภาพยนตร์กลับสู่โรงเรียน มาเป็นวิทยากรพูดคุยให้คำแนะนำกับครูวิชาภาพยนตร์ทั้งสิ้น 27 คนจาก 19 จังหวัด คณะผู้จัดกิจกรรมได้รวบรวมความคิดเห็นเพียงบางส่วนต่อการจัดงานและแนวทางการนำความรู้ไปใช้ในโรงเรียนมาไว้ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจ ความใฝ่ฝัน ที่จะมาร่วมมือกันสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณค่าผ่านการชมภาพยนตร์



“รู้สึกดีใจครับที่ได้รับโอกาสมานั่งฟังสิ่งที่อาจารย์/ผู้เขียนแต่ละท่านเขียนลงในหนังสือ มันได้เติมบางอย่างที่เราเคยสงสัย หรือได้ฟัง ได้ดูหนังที่เป็นตัวอย่างในหนังสือก็ทำให้เราได้เข้าใจโลกของภาพยนตร์มากยิ่งขึ้นครับ " 





“ขอขอบพระคุณทีมงานวิทยากรที่ให้ความรู้อบรมวิชาภาพยนตร์ จะนำความรู้ที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการจัดสอนวิชาภาพยนตร์สอดแทรกในรายวิชาแนะแนว กิจกรรมยุวบรรณารักษ์ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ต่อไปค่ะ”



“รู้สึกดีใจและประทับใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมอบรม สำหรับการอบรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการนำความรู้ทางภาพยนตร์เข้าสู่รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมได้เป็นอย่างดีค่ะ”





“รู้สึกดีใจและยินดีที่ได้เข้าร่วมอบรมกับคณะวิทยากรเป็นอย่างมาก ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ มาใช้ในโรงเรียน ช่วยให้สอดแทรกกิจกรรมในชุมนุมหนังสั้นได้เยอะเลย”




“เป็นการจัดการอบรมที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับองค์ความรู้ของภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี ทีมงานถ่ายทอดความรู้เข้าใจง่ายและมีประโยชน์ต่อการนำไปสร้างเป็นบทเรียนให้นักเรียนได้ศึกษาในรายวิชาเพิ่มเติมได้ ซึ่งลึก ๆ แล้ว รายวิชานี้เป็นการรวมศาสตร์แทบทุกแขนงเข้าไว้ด้วยกันเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ ภาษา การฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จนถึงขั้นวิพากษ์องค์ความรู้ที่ได้จากการดูภาพยนตร์”




 “เป็นการอบรมที่ใช้ระบบออนไลน์ที่ถือว่าเป็นช่วงแรก ๆ เลย ตั้งแต่เกิดโรคระบาดโคโรนาไวรัส COVID-19 เป็นการอบรมที่ครบกระบวนการ แม้ว่าไม่ได้เจอกันแบบ face to face แต่ก็ได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย และได้ชมหอภาพยนตร์โดยมีวิทยากรแนะนำสถานที่ต่าง ๆ ได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ด้านภาพยนตร์โดยตรง การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นจากทุกคน ขอบคุณอาจารย์และวิทยากรทุกท่านในการอบรมครั้งนี้ แนวทางที่จะนำไปปรับใช้ คือ ใช้สอนนักเรียนในวิชาชุมนุมที่เปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมให้กับนักเรียน ม.4-6 จัดอบรมให้กับกลุ่มนักเรียนที่สนใจด้านวิชาภาพยนตร์ทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลาย จัดอบรมให้ความรู้กับครูกลุ่มสาระอื่น ๆ เป็นการบูรณาการความรู้ในเนื้อหารายวิชากับวิชาภาพยนตร์ครับ”





“เรียกได้ว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ทางด้านภาพยนตร์ให้กว้างและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้มุมมองที่มีต่อภาพยนตร์เปลี่ยนไป และอยากนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น โดยในปีการศึกษา 1/2563 นี้ ผมได้ทำการเปิดรายวิชาภาพยนตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นวิชาเพิ่มเติม โดยจะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ครับ”





“ขอขอบคุณทีมงานและผู้ติดต่อประสานงานที่ได้ติดต่อกลับมาว่าจะมีการอบรมผ่านออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 จึงทำให้ความอยากเข้าอบรมยังมีหวังอยู่ ตอนแรกก็คิดว่าคงงดไปเลย ประเด็นต่อมาคือ วิทยากรถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ได้ละเอียดลึกซึ้ง ชัดเจน และเป็นกันเองมากครับ เหมือนผมกลับเข้าไปนั่งในคลาสเรียนสมัย ป.ตรี เลย ส่วนเนื้อหาและความรู้ที่ถ่ายทอดมานั้นผมจะนำไปปรับและประยุกต์ใช้สอนเด็กให้ได้รู้จักภาพยนตร์ให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมไปถึงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทยด้วยครับ”




“เป็นการจัดการอบรมที่มีประโยชน์มาก ๆ ครับ ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในวิชาภาพยนตร์ได้จริง การอบรมมีบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเองวิทยากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้อย่างลึกซึ้ง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของหอภาพยนตร์ได้ให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ขอบคุณหอภาพยนตร์อีกครั้งครับที่จัดการอบรมที่ดีเช่นนี้ และขอความอนุเคราะห์จัดการอบรมลักษณะเช่นนี้ในโอกาสต่อไป ขอบคุณครับ" 



“เรายังคงเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ยังขับเคลื่อนชีวิตด้วยความหลงใหลในเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์เสมอมาไม่เคยเปลี่ยน การอบรมครั้งนี้ทำให้เราได้เติมไฟในชีวิต ได้เรียนรู้โลกที่กว้างขึ้น เนื้อหาที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เห็นแนวคิดของผู้ที่อยู่ในวงการจริง ๆ และจะเอาสิ่งที่ได้ไปใช้แลกเปลี่ยนกับเด็ก ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสานฝันของพวกเขาค่ะ”




ตอนแรกคิดว่าจะไม่ได้อบรมเนื่องจากโรคโควิด-19 ทางทีมงานก็หาวิธีอบรมในรูปแบบออนไลน์ ตลอดเวลาที่อบรมทำให้ได้รู้ว่าภาพยนตร์ไม่ใช่แต่สื่อบันเทิง ยังมีศิลปะของภาพให้สื่อสารระหว่างผู้กำกับและผู้ชม ผมต้องขอขอบพระคุณทีมงานวิทยากรที่ให้ความรู้กันอย่างเต็มที่ และจะนำความรู้ที่ได้ไปสู่บทเรียนวิชาภาพยนตร์ต่อไปครับ”


ครู–อาจารย์ที่สนใจสอนวิชาภาพยนตร์ หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวิชาภาพยนตร์เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายเผยแพร่ 02-482-2014 ต่อ 110 หรือ faschoolcinema@fapot.org  



หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด