ความหวังแช่แข็ง Hope Frozen

ปี พ.ศ. 2558 เกิดข่าวที่ทั่วโลกและสังคมไทยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อ ดร.สหธรณ์ และ ดร.นารีรัตน์ เนาวรัตน์พงษ์ คู่สามีภรรยาเจ้าของบริษัทวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์  ทีเอ็นซี เมดดิทรอน จำกัด ได้ตัดสินใจนำสมองและเซลล์บางส่วนของน้องไอนส์ หรือ ด.ญ.เมทรินทร์ เนาวรัตน์พงษ์ ลูกสาวคนเล็กของครอบครัวในขณะนั้น ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสมอง ในวัยเพียงแค่ 2 ขวบ ไปเข้าสู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า ไครออนิกส์ (Cryonics) หรือการจัดเก็บร่างกายและเซลล์ของมนุษย์ โดยการแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิติดลบ 150 องศาเซลเซียส ณ มูลนิธิอัลคอร์ ไลฟ์ เอ็กซ์เทนชัน (Alcor Life Extension Foundation) ที่ตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ด้วยความหวังที่ว่า ในอนาคต หากวิทยาการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างนี้มีความเจริญรุดหน้าขึ้น อาจจะช่วยชุบชีวิตลูกสาวของตนให้กลับขึ้นมามีลมหายใจใหม่ได้อีกครั้ง


ไพลิน วีเด็ล ผู้กำกับสารคดีและนักข่าวอิสระชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน ใช้เวลาเกือบสองปีครึ่ง ในการบันทึกช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ของครอบครัวเนาวรัตน์พงษ์ โดยเฉพาะการติดตามหัวหน้าครอบครัว ดร.สหธรณ์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าชีวิตลูกสาวตัวน้อยจะฟื้นคืนกลับมาด้วยเทคโนโลยีนี้  รวมถึง เมทริกซ์ เนาวรัตน์พงษ์ ลูกชายคนโตของบ้าน ที่เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อปรึกษานักวิทยาศาสตร์ถึงแนวโน้มการค้นพบวิทยาการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำของมนุษย์  ก่อนที่ไพลินจะนำภาพเคลื่อนไหวและการสัมภาษณ์เหล่านี้มาตัดต่อและร้อยเรียงเข้ากับคลิปวิดีโอที่ครอบครัวเนาวรัตน์พงษ์ได้บันทึกเอาไว้ในช่วงเวลาที่น้องไอนส์ยังมีลมหายใจอยู่จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต จนกลายเป็นภาพยนตร์สารคดีความยาว 75 นาที ที่ชื่อ Hope Frozen





Hope Frozen จึงเป็นภาพยนตร์สารคดีที่ทั้งพาผู้ชมไปรู้จักกับวิทยาการทางการแพทย์ที่อาจช่วยคืนชีวิตให้แก่ผู้คนได้ในอนาคต ในขณะเดียวกันยังชวนให้ตั้งคำถามถึงความเชื่อที่ขัดต่อหลักธรรมคำสอนทางศาสนาพุทธอันว่าด้วยความไม่จีรังของสรรพสิ่งและการปล่อยวาง และเดินไต่อยู่บนเส้นแบ่งระหว่างความผิดถูกทางจริยธรรม ทั้งยังโอบคลุมไปด้วยสายใยความผูกพันของครอบครัวที่สะเทือนอารมณ์ ภาพยนตร์ออกฉายในปี พ.ศ. 2562 และสามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ในสายประกวดหลักนานาชาติ จากเทศกาล Hot Docs Canadian International Documentary Festival เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ซึ่งถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์สารคดีที่มีชื่อเสียงและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง โดยการได้รับรางวัลดังกล่าว ส่งผลให้ Hope Frozen มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมในปีหน้า แม้จะยังไม่ได้ลงโรงภาพยนตร์ฉายในอเมริกาก็ตาม

ในช่วงเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ร่วมกับ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ขอเชิญทุกท่านมารับชมภาพยนตร์สารคดีที่เปิดมุมมองใหม่ ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง Hope Frozen ความหวังแช่แข็ง พร้อมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังชมภาพยนตร์กับ ไพลิน วีเด็ล ผู้กำกับ ในรายการภาพยนตร์สโมสร วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562 เวลา 13.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมแต่อย่างใด 

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ คลิก

หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด