7 หนังฟุตบอล ที่คุณหาดูได้ที่หอภาพยนตร์

มหกรรมฟุตบอลไม่ว่าจะเป็นบอลยูโร 2020 หรือโคปา อเมริกา กำลังได้รับความสนใจอย่างเข้มข้นในเหล่าแฟนฟุตบอล ย้อนมาดู 7 ภาพยนตร์ที่บันทึกเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ของโลกฟุตบอลที่หาชมได้เฉพาะที่หอภาพยนตร์

--------


โดย ฝ่ายอนุรักษ์

*ปรับปรุงจากจดหมายข่าวฉบับที่ 46 กรกฎาคม-สิงหาคม 2561


ฟุตบอลนับเป็นกีฬายอดฮิตอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นในระดับชาติ หรือแม้กระทั่งระดับนักเรียนก็ยังอยู่ในความสนใจได้เสมอ ในประวัติศาสตร์จึงมีการบันทึกภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันฟุตบอลไว้มากโดยหอภาพยนตร์ได้ค้บพบหนังข่าวเกี่ยวกับฟุตบอลมาตั้งแต่ยุคสมัยรัชกาลที่ 7 

เพื่อให้เข้ากับเทศกาลฟุตบอลยูโร 2020 และฟุตบอลโคปาอเมริกาที่กำลังขับเคี่ยวกันอย่างเมามันในขณะนี้ หอภาพยนตร์จึงขอหยิบยก 7 หนังฟุตบอลที่คุณอาจจะหาชมที่ไหนไม่ได้เลย นอกจากที่หอภาพยนตร์!


การแข่งขันฟุตบอล์ระหว่างไทยกับไซง่อน 



ฟิล์ม 16 มม. / ขาวดำ / เงียบ / 3.08 นาที 

16 เมษายน 2473 

ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


การแข่งขันฟุตบอลนอกประเทศครั้งแรกของ ทีมชาติไทยที่ถูกบันทึกเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ เยือนเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2473 ณ เมืองไซ่ง่อน และทรงเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมไทยกับทีมไซ่ง่อนซึ่งเป็นทีมผสมระหว่างคนญวนและคนฝรั่งเศส ณ สปอร์ตคลับ Cercle Sportif ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยทีมไทยเป็นฝ่ายเอาชนะทีมไซง่อนไป 4-0 ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยและเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดที่หอภาพยนตร์ได้ทำการอนุรักษ์


<<คลิกเพื่อรับชม>>


FOOTBALL PELE [เปเล่สอนฟุตบอลที่สนามศุภชลาศัย] 




ฟิล์ม 8 มม. / สี / เงียบ / 27.40 นาที 

2517 

ผู้สร้าง ทวีศักดิ์ วิรยศิริ


หากถามถึงคนที่ทำให้ฟุตบอลโลกกลายเป็นการแข่งขันกีฬาที่ หยุดสายตาของผู้คนทั่วโลกไว้ทุก ๆ 4 ปี ชื่อหนึ่งที่หนีไม่พ้นอย่างแน่นอนก็ คือ ‘เปเล่’ ราชาลูกหนังผู้พาทีมชาติบราซิลคว้าแชมป์โลก 3 สมัยซ้อน อย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้จนถึงทุกวันนี้ จนเขาแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของ ฟุตบอลโลกไปแล้วโดยปริยาย แต่รู้หรือไม่ว่า ในปี 2517 เปเล่ได้เดินทาง มายังเมืองไทย เพื่อเปิดแคมป์ฝึกสอนฟุตบอล ณ สนามศุภชลาศัย ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยนักเตะทีมชาติในยุคนั้นและผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากผู้สนับสนุน โดยเปเล่ได้เผยเคล็ดลับแนะนำเทคนิคในการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายและทักษะ เช่น การยิงฟรีคิกของตนเองให้แก่นักฟุตบอลชาวไทยและนี่คือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงการฝึกสอนของ ‘ไข่มุกดำ’ ตำนานนักฟุตบอล ระดับโลกในครั้งนั้น


<<คลิกเพื่อรับชม>>



ข่าวสังคมและทัศนศึกษา [ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 12] 




ฟิล์ม 16 มม. / สี / เงียบ / 8.15 นาที 

27 ธันวาคม 2495 

ผู้สร้าง ทวีศักดิ์ วิรยศิริ


ภาพยนตร์บันทึกการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หอภาพยนตร์ค้นพบในฉบับสมบูรณ์ที่พาเราย้อนชม บรรยากาศฟุตบอลประเพณีที่สำคัญของเมืองไทยเมื่อ 66 ปีที่แล้วอย่างมี ชีวิตชีวา ทั้งการแต่งกาย การร้องเพลงเชียร์ของนักศึกษา การเดินขบวน พาเหรด การแปรตัวอักษร และการแข่งขันฟุตบอล ณ สนามศุภชลาศัย ทั้งยังได้เห็นภาพของ วิวัฒน์ มิลินทจินดา หัวหน้าทีมชาติไทยชุดประวัติศาสตร์ (โอลิมปิกครั้งแรกของไทย พ.ศ. 2499) และผู้ตัดสินฟีฟ่าคนแรกของไทย สมัยเป็นนักฟุตบอลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการแข่งขันใน ครั้งนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสมอกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปด้วย สกอร์ 0-0



[ฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศระหว่างทีมชาติไทยและทีมชาติเวียดนามใต้ ในกีฬาแหลมทองครั้งแรก พ.ศ. 2502]




ฟิล์ม 8 มม. / ขาวดำ / เงียบ / 16.10 นาที 

ธันวาคม 2502 

เจ้าของ คนธาทิพ วีระประวัติ


หนังบ้านของคุณคนธาทิพ วีระประวัติ ที่บันทึกภาพการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศครั้งแรกในกีฬาแหลมทอง พ.ศ. 2502 หรือกีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการชิงชัยกันระหว่างไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพ และ เวียดนามใต้ ณ สนามศุภชลาศัย โดยการแข่งขันในครั้งนั้นมีชาติที่ส่งเข้าแข่งขันทั้งหมด 3 ประเทศ คือ ไทย เวียดนามใต้ และมาลายา (มาเลเซีย) แข่งขันแบบพบกันหมดเอาทีมที่ได้อันดับหนึ่งและสองมาชิงชนะเลิศกัน ซึ่งก็คือทีมชาติเวียดนามใต้และทีมชาติไทย โดยทีมชาติเวียดนามใต้เป็นฝ่ายที่ทำได้ดีกว่า เอาชนะทีมชาติไทยไป 3–1 นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยงามเท่าไรนักสำหรับทีมชาติไทย แต่ใครเลยจะรู้ว่าทีมชาติไทยจะครองบัลลังก์เจ้าอาเซียนด้วยสถิติ เหรียญทองสูงสุด 16 สมัยในเวลาต่อมา

[ส่งคณะนักฟุตบอลทีมชาติไทยไปโอลิมปิก เม็กซิโก พ.ศ. 2511 ณ ท่าอากาศยาน กรุงเทพฯ]





ฟิล์ม 16 มม. / ขาวดำ / เงียบ / 1.46 นาที 

กันยายน 2511 

ผู้สร้าง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด


ภาพยนตร์ข่าวบันทึกเหตุการณ์ พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ ยมนาค นายกสมาคมฟุตบอลฯ เดินทางไปส่งคณะนักฟุตบอล ทีมชาติไทยชุดประวัติศาสตร์ โอลิมปิก เม็กซิโก พ.ศ. 2511 (โอลิมปิกครั้งที่ 2 ของทีมชาติไทยต่อจากโอลิมปิกที่ประเทศออสเตรเลียปี พ.ศ. 2499) อัน ประกอบไปด้วยสราวุธ ประทีปากรชัย, เชาว์ อ่อนเอี่ยม, ไพศาล บุพพศิริ, ยงยุทธ สังขโกวิท, ประโยค สุทธิสง่า, จีระวัฒน์ พิมพะวาทิน, ณรงค์ ทองเปลว, ไพบูลย์ อัญญโพธิ์, สนอง ไชยยงค์, สุพจน์ พานิช, ชัชชัย พหลแพทย์, วิชัย แสงธรรมกิจกุล, นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์, ประเดิม ม่วงเกษม, เกรียงศักดิ์ นุกูลสมปรารถนา, เกรียงศักดิ์ วิมลเศรษฐ์, บุญเลิศ นิลภิรมย์, ณรงค์ สังขสุวรรณ (หัวหน้าทีม) และอุดมศิลป์ สอนบุญนาค นักฟุตบอลไทยเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ทำประตูได้ในรายการฟุตบอลระดับโลกรายการนี้รายการที่ทีมชาติไทยยังไม่เคยเอื้อมถึงอีกเลยหลังจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึง เหมือนเป็นการบันทึกภาพของบุคคลสำคัญภาพของนักฟุตบอลทีมชาติชุด ประวัติศาสตร์ที่ทั้งประสบความสำเร็จในระดับโลกและมีดาวดังมากที่สุดชุดหนึ่งเท่าที่เคยมีมา


<<คลิกเพื่อรับชม>>



[การแข่งขันฟุตบอลนักเรียน 3 คู่ ณ สนามหลวง] 





ฟิล์ม 16 มม. / สี / เงียบ / 8.34 นาที 

สิงหาคม 2513 

ผู้สร้าง บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด


สนามหลวงเคยถูกใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มามากมายในอดีต เช่น พระราชพิธี งานแข่งว่าว ตลาดนัดวันหยุด กิจกรรมทางการเมือง ฯลฯ แต่หนึ่งในนั้นคือการแข่งขันฟุตบอลที่ใครหลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกเลย หากไม่ได้ชมภาพยนตร์ข่าวช่อง 3 เรื่องนี้ ซึ่งบันทึกการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนที่จัดโดยสมาคมฟุตบอลฯ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 คู่แรกเป็นการแข่งขันระหว่าง รร. เทศบาลวัดบางนางใน กับ รร. ประถมทวีธาภิเศก คู่ที่สองคือ รร. วัดรางบัว กับ รร. ประเทืองทิพย์วิทยา และคู่สุดท้ายคือ รร. เทศบาล วัดบางไผ่ กับ รร. วัดปากน้ำ การแข่งขันฟุตบอลที่เราอาจหาชมไม่ได้อีกแล้ว ในปัจจุบันภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนบันทึกความทรงจำถึงสนามหลวงในอดีต


<<คลิกเพื่อรับชม>>



[ฟุตบอลดารา พ.ศ. 2516] 



ฟิล์ม 16 มม. / สี / เงียบ / 8.15 นาที

12 สิงหาคม 2516 

ผู้สร้าง ทวีศักดิ์ วิรยศิริ


ก่อนหน้าที่ฟุตบอลดาราทางโทรทัศน์จะได้รับความนิยมในปัจจุบัน ในอดีตฟุตบอลดาราก็เคยมีปรากฏในสังคมไทย ดังเช่นที่เราได้เห็นจากภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ฟุตบอลการกุศลที่จัดขึ้นโดยผู้สร้างภาพยนตร์ ดาราและนักร้อง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีดารานักร้องจากทั่วฟ้าเมืองไทย เช่น สมบัติ เมทะนี (ต้องนั่งรถเข็นเข้ามาในสนาม คาดว่าบาดเจ็บจากการแสดง) เพชรา เชาวราษฎร์ สวลี ผกาพันธุ์ ชรินทร์ นันทนาคร และดารานักร้องท่านอื่น ๆ อีกมากมายตบเท้าเข้าร่วมเพื่อชมการแข่งขันระหว่างทีมดารานักแสดงหญิงและทีมดารานักร้องหญิงอย่างสนุกสนานไม่แพ้ฟุตบอลดาราในยุคนี้


ภาพยนตร์ทั้งหมดสามารถมารับชมได้ที่ ห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี (ซึ่งต้องรอเปิดให้บริการอีกครั้ง) และบางส่วนในช่อง YouTube หอภาพยนตร์ playlist ฟุตบอล <<คลิกเพื่อรับชม>>



ขอบคุณสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทยและคุณจิรัฏฐ์ จันทะเสน เลขาธิการสมาคม สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิง


หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด